Economics

‘นายกฯ’ เปิดท่าเรืออัจฉริยะ ‘ท่าช้าง-สาทร’ ยกระดับมาตรฐานขนส่งทางน้ำ เชื่อมต่อล้อ-ราง-เรือ

นายกฯ เปิดท่าเรืออัจฉริยะ ท่าช้าง-สาทร “SMART PIER SMART CONNECTION” เชื่อมการเดินทางแบบไร้รอยต่อ ล้อ ราง เรือ  “กรมเจ้าท่า” วางงบ 1,000 ล้านบาท ยกระดับครบ 29 แห่ง

วันนี้ (8 มิ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิด ท่าเรือท่าช้าง – สาทร “SMART PIER SMART CONNECTION” โดยมีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงคมนาคมร่วมให้การต้อนรับ

1010545

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ ทั้งทางถนน ทางน้ำ ทางราง และทางอากาศ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระดับนานาชาติ ตลอดจนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้มีความสะดวก ปลอดภัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามที่กระทรวงคมนาคมได้มีแผนพัฒนายกระดับท่าเรือโดยสาร (Smart Pier) ในแม่น้ำเจ้าพระยา

กรมเจ้าท่าได้ก่อสร้าง ปรับปรุงท่าเรือท่าช้าง และท่าเรือสาทรแล้วเสร็จ โดยมีระบบการให้บริการที่ทันสมัย รูปลักษณ์สวยงามเป็นอารยสถาปัตย์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางทางน้ำ เป็นทางเลือกที่ดีของการเดินทางในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลอีกทางหนึ่ง เนื่องจากราคาถูก สามารถกำหนดระยะเวลาเดินทางได้แน่นอน บรรยากาศในการเดินทางมีความผ่อนคลาย ทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำมีความสวยงาม

รวมทั้งการนำเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้ามาใช้งานตามนโยบายของรัฐบาล ช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ลดปริมาณการใช้น้ำมัน ลดมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว และให้การสนับสนุนแผนพัฒนายกระดับท่าเรือโดยสาร (Smart Pier) ในแม่น้ำเจ้าพระยาให้บรรลุเป้าหมายสำเร็จลุล่วงเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนและส่วนรวมต่อไป

810831

ทางด้านนายศักดิ์สยาม กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (2561-2580) พร้อมทั้งกระทรวงคมนาคมมีนโยบายในการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมทั้งทางบก น้ำ ราง อากาศ ให้มีความเชื่อมโยง สะดวก ปลอดภัย สร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ

กรมเจ้าท่ามีภารกิจในการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ ได้กำหนดแผนพัฒนายกระดับท่าเรือโดยสาร (Smart Pier) ในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ปี 2562-2567 ที่จะพัฒนาท่าเรือ จำนวน 29 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลให้มีรูปลักษณ์ที่สวยงามตามหลักอารยสถาปัตย์ มีระบบการให้บริการที่ทันสมัย

นอกจากนั้น ยังได้ส่งเสริมให้มีเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า ลดมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน อีกทั้งมีส่วนในการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ สร้างรายได้ให้กับประเทศ และเมื่อพัฒนาท่าเรือแล้วเสร็จตามแผน จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 53,000 คนต่อวัน ในปี 2570

สำหรับท่าเรือที่ก่อสร้างปรับปรุงแล้วเสร็จ ได้แก่ ท่าเรือช้าง และท่าเรือสาทร ถือเป็นท่าเรือที่มีความสำคัญต่อการเดินทางและการท่องเที่ยว เนื่องจากท่าเรือ ท่าช้าง มีผู้โดยสารจำนวนมาก ทั้งผู้สัญจร และนักท่องเที่ยวชาวไทยชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ อาทิ พระบรมมหาราชวัง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร และวัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร

1.3

สำหรับสถานีเรือสาทร เป็นสถานีเรือที่เชื่อมต่อระบบ ล้อ ราง เรือ และสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม สะพานตากสิน บริการทั้ง เรือด่วนเจ้าพระยา เรือไฟฟ้า Mine Smart Ferry เรือท่องเที่ยว เรือภัตตาคาร และเรือข้ามฟาก ไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำอื่น ๆ อีกทั้งเป็นหนึ่งใน 29 ท่าเรือที่ถูกพัฒนายกระดับมาตรฐานและความปลอดภัย

โดยกรมเจ้าท่า พัฒนาให้เป็น Smart Pier ที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ ออกแบบอ้างอิงตามอัตลักษณ์สถาปัตยกรรม ตามสมัย รองรับการใช้ชีวิตแบบวิถีชีวิตใหม่ หรือ New Normal กับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยหคือ AI มาใช้ในการควบคุมและบริการจัดการเรือ  ระบบการควบคุมการจราจรทางน้ำ ระบบการบริหารจัดการข้อมูล ระบบเชื่อมโยงโครงข่ายของอุปกรณ์และระบบ ควบคุม ระบบตั๋วและเครื่องตรวจสัมภาระ เครื่องวัดอุณหภูมิ บริการเครื่องชาร์ตแบตเตอรี่มือถือ และระบบวงจร ปิด CCTV

อีกทั้งกรมเจ้าท่ายังมีแผนพัฒนาท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดนนทบุรี ยกระดับให้เป็น SMART PIER ทั้ง 29 ท่า ใช้งบประมาณรวม 1,000 ล้านบาท ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จรวม 6 ท่า ได้แก่ ท่ากรมเจ้าท่า, ท่าสะพานพุทธ, ท่าน้ำนนทบุรี, ท่าช้าง, ท่าสาทร, ท่าราชวงศ์ และอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงอีก 6 ท่า ได้แก่ ท่าเตียน, ท่าราชินี, ท่าพระราม7, ท่าพายัพ, ท่าเกียกกาย และท่าบางโพ ซึ่งทั้งหมดนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2565

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้จัดตั้งศูนย์บริการร่วมคมนาคม เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2549 เพื่อเป็นศูนย์รวมการให้บริการด้านคมนาคมแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป  โดยมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมาให้บริการประชาชน ณ จุดเดียวกัน อาทิ บริการข้อมูลข่าวสาร แนะนำเส้นทางการให้บริการรถโดยสารสาธารณะ รถไฟ รถไฟฟ้า เรือโดยสาร สายการบิน

1.4

ตรวจสอบสภาพจราจร บริการเปลี่ยนใบขับขี่กรณีชำรุดเสียหาย บริการตู้รับชำระภาษีรถประจำปี และตู้เติมบัตรทางด่วน Easy Pass รับชำระค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า บริการตู้อเนกประสงค์ภาครัฐ อาทิ ตรวจสอบข้อมูลใบสั่ง สิทธิการรักษา ประกันสังคม รวมทั้งบริการให้ข้อมูลด้านกฎหมาย ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปใช้บริการที่หน่วยงานต่าง ๆ

โดยเปิดให้บริการในวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ปัจจุบันอยู่ระหว่างทดสอบการให้บริการ และสำรวจงานบริการเพิ่มเติมเพื่อให้ครบถ้วนตามภารกิจของกระทรวง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo