Economics

6 ข้อควรรู้ ก่อนถอย ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ มาขับสักคัน

6 ข้อควรรู้ ก่อนตัดสินใจถอย ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ มาขับสักคัน เพื่อความมั่นใจไร้กังวล

ประเทศในแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ฝั่งเอเชียอย่างจีนและญี่ปุ่น ต่างได้หันมาสนับสนุน ให้ประชาชนใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือ Electric Vehicle (EV) เพื่อลดมลภาวะ ลดการปล่อยคาร์บอนเข้าสู่บรรยากาศ เพราะรถยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันในปัจจุบัน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิด PM 2.5 รัฐบาลจึงได้ออกมามาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้sถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้า

อย่างเช่น ประเทศนอร์เวย์ ยกเว้นภาษีจดทะเบียนและภาษีมูลค่าเพิ่ม มีที่ชาร์จไฟสาธารณะฟรี ไม่เก็บค่าผ่านทาง อนุญาตให้รถ EV วิ่งในเลนของรถสาธารณะได้ รวมทั้งให้จอดรถฟรีในพื้นที่สาธารณะ

ขณะที่ผู้ประกอบการที่ติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า รัฐบาลก็จะให้เงินอุดหนุน  และในปี 2022 ตั้งเป้าให้มียอดจำหน่ายsถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 80% ของยอดขายรถทั้งหมดในประเทศ และยังมีเป้าหมายยกเลิกการจำหน่ายรถยนต์สันดาป ภายในปี 2025 อีกด้วย

ประเทศเยอรมนีตั้งเป้าเป็นผู้นำการผลิตและใช้รถยนต์ EV ของโลก โดยมีนโยบาย เช่น งดเก็บภาษีรถ EV 5-10 ปี ให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ที่ซื้อรถ EV สูงสุด 5,000 ยูโร  ไม่เสียค่าที่จอดรถ มีที่จอดรถให้เฉพาะ แถมให้สิทธิใช้เลนพิเศษในการขับรถและการเข้าพื้นที่ที่จำกัดอีกด้วย เรียกได้ว่าภาครัฐเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง

สำหรับประเทศไทย ถือเป็นช่วงเริ่มต้น โดยเฉพาะในปีนี้ ค่ายรถยนต์ต่างๆ พาเหรดรถยนต์ไฟฟ้า เข้ามาโชว์และเปิดตัวในงาน มอเตอร์ไชว์ปีนี้ หลากหลายรุ่น ขณะที่ประชาชนก็หันมาสนใจรถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น

รถยนต์ไฟฟ้า

6 ปัจจัยที่ต้องพิจารณา ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า

ใครที่กำลังคิดจะซื้อsถยนต์ไฟฟ้ามาใช้สักคัน อยากจะซื้อรถยนต์ใหม่เป็นรถไฟฟ้า EV มาใช้ จะต้องพิจารณาปัจจัยอะไรและเตรียมความพร้อมในเรื่องใดบ้าง ดังนี้

  1. ความจุของแบตเตอรี่กับระยะทางที่วิ่งได้ไกลที่สุด

เช่น  sถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า 100% หรือที่เรียกว่าแบบ BEV (Battery Electric Vehicle) ถ้าใช้แบตเตอรี่ความจุ 60-90 kW จะสามารถวิ่งได้ไกลถึง 338-473 กม.ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เป็นต้น ซึ่งถ้าหากอยากได้รถที่วิ่งระยะทางไกลมากขึ้น ก็ต้องเลือกรุ่นที่แบตมีความจุสูงมากขึ้น และแน่นอนว่าราคาของรถ ก็จะสูงตามขนาดความจุของแบตเตอรี่

  1. ดูระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่

รถ EV แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ มีระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอร์รี่เต็มไม่เท่ากัน ตามขนาดความจุของแบตเตอรี่ เช่น  ชาร์จแบบธรรมดาที่ใช้ไฟบ้านเป็นกระแสสลับ (AC) บางคันใช้เวลาในการชาร์จ 10-12 ชม. บางคันใช้เวลา ประมาณ 12-16 ชม. ชาร์จแบบรวดเร็วจากตู้ไฟฟ้า EV Charger บางคันใช้เวลา 1-2 ชม. บางคันใช้เวลาประมาณ 3 – 4 ชม. หากชาร์จแบบด่วนตามสถานีชาร์จนอกบ้านที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) ใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที

  1. หากใช้รถ EV ต้องเตรียมที่ชาร์จไฟฟ้าที่บ้าน

เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของไทยในเรื่องสถานีชาร์จยังไม่ครอบคลุม หรือหากมีสถานีชาร์จอยู่ใกล้ แต่อาจไม่มีหัวชาร์จที่ใช้ได้กับรถ EV ที่เราใช้ เพราะมาตรฐานหัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แต่ละยี่ห้อแตกต่างกัน

แนวทางแก้ปัญหาคือ การติดตั้งที่ชาร์จไฟที่บ้าน แต่จะต้องเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้มีขนาดใหญ่ขึ้นไม่น้อยกว่า 30 แอมป์ (A) พร้อมเปลี่ยนสายเมนไฟฟ้าเข้าบ้านเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต (MCB) ให้มีขนาด 100 แอมป์(A) เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น และต้องเพิ่ม Circuit Breaker อีก 1 ช่องในตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) เพื่อแยกการใช้งานระหว่างเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ในบ้าน รวมถึงต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว เพื่อช่วยตัดไฟฟ้าอัตโนมัติ กรณีหากเกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟฟ้าดูด

นอกจากนี้ต้องเตรียมเต้ารับ (EV Socket) เพื่อเสียบชาร์จรถให้สอดคล้องกับปลั๊กของรถยนต์ในแต่ละรุ่น ทั้งนี้จุดชาร์จไฟรถ EV ในบ้าน ต้องเดินวงจรสายไฟแยกออกมาต่างหากเพื่อความปลอดภัย และต้องได้รับการติดตั้งจากช่างไฟฟ้าที่ชำนาญการเท่านั้น  ดูรายละเอียดเพิ่มเติม :  https://www.mea.or.th/profile/3361/3440

รถยนต์ไฟฟ้า

  1. ดูค่าเชื้อเพลิงที่ต้องจ่าย

ค่าชาร์จไฟฟ้าของรถ EV ประหยัดกว่าค่าเติมน้ำมัน  โดยค่าเติมน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 1.50 – 3 บาท/ กิโลเมตร ขณะที่ค่าชาร์จไฟรถ EV อยู่เฉลี่ยอยู่ที่ 0.26-0.50 บาท / กิโลเมตร จะเห็นได้ว่ารถ EV ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่ารถน้ำมันหลายเท่าตัว

  1. ดูเรื่องการซ่อมบำรุง

เปรียบเทียบค่าซ่อมบำรุง ระหว่างรถที่ใช้น้ำมันกับรถ EV พบว่ารถ EV ที่ใช้ไฟฟ้า 100% ไม่มีเครื่องยนต์ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ไม่ค่อยมีปัญหาจุกจิก ทำให้ค่าซ่อมบำรุงและค่าดูแลรักษาต่ำกว่ารถที่ใช้น้ำมัน เฉลี่ยแล้วต่ำกว่า 50% ขณะที่รถน้ำมันต้องการการบำรุงรักษาที่มากกว่า เพราะเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันประกอบด้วยชิ้นส่วนมากมาย เมื่อเสื่อมสภาพต้องไล่เปลี่ยน และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุก ๆ 6 เดือน หรือวิ่งครบ 5,000-10,000 กิโลเมตร

แต่รถไฟฟ้าหากเกิดเสียจะมีค่าอะไหล่ที่แพงกว่า เช่น ค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่รถ Tesla จะอยู่ที่ 162,000 – 220,000 บาท  จะเห็นได้ว่าผู้ใช้รถ EV จะสบายเรื่องการซ่อมบำรุงที่ไม่ค่อยจุกจิก ไม่ต้องคอยเอารถเข้าศูนย์บ่อย ๆ  แต่ถ้าหากเกิดต้องซ่อมขึ้นมา อาจต้องเสียเงินต่ออครั้งมากกว่า

นอกจากนี้ รถน้ำมันสามารถเข้าศูนย์หรือเข้าอู่ซ่อมรถทั่วไปได้ แต่ถ้าเป็นรถ EV จะต้องเข้าศูนย์อย่างเดียว เพราะในประเทศไทยยังใหม่ต่อเทคโนโลยีรถไฟฟ้า

  1. ดูแบรนด์ที่น่าเชื่อถือและมีบริการหลังการขาย

เนื่องจากsถยนต์ไฟฟ้าเพิ่งเข้ามาในไทยไม่นาน การพิจารณาเลือกแบรนด์sถยนต์ไฟฟ้าที่น่าเชื่อถือและได้มาตรฐาน การผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งต้องมีศูนย์บริการหลังจากขายที่ได้มาตรฐาน สามารถช่วยเหลือเวลารถเกิดมีปัญหา เพราะไม่สามารถซ่อมรถ EV นอกศูนย์บริการได้

ทั้งนี้ ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้sถยนต์ไฟฟ้า ควรศึกษาข้อมูลของรถให้ถี่ถ้วน ตามที่กล่าวมา จะทำให้เราเกิดความมั่นใจ ตัดสินใจซื้อรถยนต์ EV ได้อย่างไร้กังวล

ที่มา : คอลัมน์ STORIES & TIPS จากเว็ปไซต์ scb ไทยพาณิชย์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo