Economics

‘GGC’ ชู 3 ยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนกลยุทธ์ ดันธุรกิจโตยั่งยืน

GGC เดินหน้าขับเคลื่อนกลยุทธ์สร้างรากฐานที่เข้มแข็ง สร้างความสามารถในการแข่งขัน เติบโตในธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

นายไพโรจน์ สมุทรธนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในปี 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2563 คิดเป็น 15% โดยบริษัทมีรายได้จากการขายรวมทั้งหมด 20,923 ล้านบาท มี Adjusted EBITDA จำนวน 1,121 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3%

ggc

ส่งผลให้ปี 2564 บริษัทมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ 774 ล้านบาท โดย GGC ยังคงยึดมั่นในพันธกิจหลักคือ การเป็นบริษัทแกนนำในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Flagship Company) ของกลุ่ม GC ภายใต้วิสัยทัศน์ “To be a Leading Green Chemicals Company by Creating Sustainable Value” หรือ “เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืน”

สำหรับทิศทางการดำเนินงานในปี 2565 บริษัท ยังคงมุ่งมั่นในการสร้างรากฐานที่เข้มแข็ง สร้างความสามารถในการแข่งขันในอนาคต เพื่อก้าวสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในระดับสากล ผ่าน 3 ยุทธศาสตร์สำคัญ คือ

กลยุทธ์ของบริษัทฯ 1

  • ยุทธศาสตร์การยกระดับความสามารถในการแข่งขัน (Strengthen Business as Usual – BAU)

เพื่อให้ธุรกิจของบริษัทฯ มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการแข่งขันในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความท้าทายบริษัทฯ ต้องเร่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและมีความยืดหยุ่น (Resilience) และสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง โดยมุ่งเน้นการสร้างฐานตลาดและการขายให้เข้มแข็ง

การบริหารจัดการด้าน Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพโดยบริหารจัดการต้นทุนได้ดีที่สุด และมุ่งเน้นการรักษาความมั่นคงด้านการผลิต (Plant Reliability) รวมถึงความเป็นเลิศด้านปฏิบัติการ (Operational Excellence)

  • ยุทธศาสตร์การเติบโตในธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Growth Portfolio)

ภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีความผันผวนและอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีการแข่งขันสูง บริษัทฯ พิจารณาการต่อยอดทางธุรกิจไปสู่ด้านเคมีภัณฑ์และพลาสติกชีวภาพมากขึ้น เพื่อลดแรงกดดันทางธุรกิจ และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ปัจจุบันมากขึ้น

รวมถึง การตอบรับกับโอกาสทางธุรกิจจากแนวทางและมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ชีวภาพ (Biochemicals) และพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ยังเป็นหนึ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์ ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของ GC Group

กลยุทธ์ของบริษัทฯ 2

  • ยุทธศาสตร์การสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ (Sustainability Development)

บริษัทเล็งเห็นถึงโอกาสที่จะยกระดับการดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างจริงจัง เชื่อมโยงโอกาส และต่อยอดทางธุรกิจมากขึ้น โดยการเป็นต้นแบบในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ทั้ง 3 มิติ (BCG Role Model) ผ่านการลงทุนในนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ การใช้พลังงานที่ไม่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization Pathway)

การปรับรูปแบบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท (CSR) สู่รูปแบบการสร้างสมดุลทางธุรกิจขององค์กรด้วยการพัฒนากิจกรรม/โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน (CSV & SE Model) โดยใช้ Governance, Risk Management and Compliance (GRC) มาพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการจัดการภายใน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร

ปี 2565 GGC มุ่งพัฒนาสร้างรากฐานที่เข้มแข็ง-เพิ่มความสามารถในอนาคต 

  • ความเป็นเลิศด้านปฏิบัติการ (Operational Excellence)

Plant reliability ให้อยู่ในระดับ 1st quartile, การใช้ Digitalization สนับสนุนการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)

การรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด การต่อยอดผลิตภัณฑ์ไปสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ผ่านกลุ่มสินค้า Home and personal care

กลยุทธ์ของบริษัทฯ 3

  • การเติบโตในธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Growth Portfolio)

การเพิ่มมูลค่าและเพิ่มตลาดปลายทางให้กับเชื้อเพลิงชีวภาพ, การขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics)ที่ใช้วัตถุดิบจากผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ (Biochemicals), นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ระยะที่ 2 และการขยายธุรกิจ fatty alcohol ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

  • การสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ (Sustainability)

การพัฒนา RSPO (RSPO development) บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม ในการสนับสนุนมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Round Table for Sustainable Palm Oil : RSPO)

บริษัทวางแผนในการทำงานร่วมกันกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (RSPO)

ความคืบหน้าคดีความ

กรณีปัญหาเรื่องวัตถุดิบคงคลังของ GGC ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2561 นั้น บริษัทได้ดำเนินการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างโปร่งใส ดำเนินการตามกฎหมายโดยยึดหลักธรรมาภิบาล โดยความคืบหน้า และสถานการณ์ของคดีความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปัญหาวัตถุดิบดังกล่าว สรุปดังนี้

  • คดีอาญา

GGC ได้เร่งรัดติดตามให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อทำการสอบสวนและนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามขั้นตอนกระบวนการ นอกจากนี้ บริษัทฯ ก็ยังได้ให้ความร่วมมือกับ ก.ล.ต. ในการให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ ก.ล.ต. สามารถพิจารณาความผิดของผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ

เนื่องจาก GGC เป็นบริษัทจดทะเบียนจนทำให้ ก.ล.ต. สามารถร้องทุกข์กล่าวโทษ อดีตผู้บริหาร 2 ราย คู่ค้า 5 ราย และผู้บริหารของคู่ค้าอีก 4 ราย รวมทั้งสิ้น 11 ราย ในเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา

ลำดับเหตุการณ์คดีความ

  • คดีแพ่ง

มีทั้งที่ GGC เป็นโจทก์ เป็นผู้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย และกรณีที่ GGC ถูกบริษัทคู่ค้าฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย กรณีที่ GGC เป็นโจทก์ เป็นกรณีที่ GGC ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทคู่ค้า และ ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากอดีตผู้บริหารที่ถูก ก.ล.ต. กล่าวโทษ กรณีที่ GGC เป็นจำเลย ถูกคู่ค้าฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม คือคดีที่ GGC ถูกบริษัท Asia Capital หรือ ACAP ฟ้องร้องและคดีที่คู่ค้าที่ถูกดำเนินคดีอาญามาฟ้องร้อง

นายไพโรจน์ ยืนยันว่า GGC ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น ได้ดำเนินคดีทั้งในด้านอาญาร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนทำให้เรื่องเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับคู่ค้ าและอดีตผู้บริหาร เพื่อให้ชดใช้ความเสียหายให้กับบริษัท และยังสามารถชนะคดีได้

นอกจากนี้ บริษัทยังยืนยันที่จะต่อสู้คดีแพ่งที่ถูกฟ้องร้องให้ถึงที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัท และผู้ถือหุ้นต้องได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากเหตุการณ์ปัญหาวัตถุดิบดังกล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo