Economics

เปิดหนังสือด่วนที่สุด!! คมนาคม ส่งถึงเลขาฯครม. ก่อนเมินเข้าร่วมประชุมวันนี้!!

รถไฟฟ้าสายสีเขียว เปิดหนังสือด่วนที่สุด คมนาคม ส่งถึงเลขาครม. เกี่ยวกับความเห็นให้ครม.พิจารณา ผลการเจรจาร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว  ก่อนที่ทั้ง 7 รัฐมนตรีของภูมิใจไทย ส่งหนังสือขอไม่เข้าร่วมวงประชุมครม.วันนี้ 

ก่อนที่ 7 รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย จะลงความเห็นร่วมกัน  พร้อมยื่นหนังสือขอลาการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (8 ก.พ.) อย่างพร้อมเพรียงกัน ด้วยเหตุผลติดภาระกิจ แต่ข้อเท็จจริงแล้ว ต้องการแสดงออกถึงความเห็นที่ไม่เห็นด้วย กับกรณีที่กระทรวงมหาดไทย เสนอวาระเพื่อพิจารณา “ขอความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อขยายสัญญาสัมปทานให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC” บริษัทในเครือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ออกไปอีก 30 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 ออกไปเป็นปี 2602 แลกกับเก็บค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย ให้ ครม. พิจารณาอนุมัติ ประกอบกับมองว่า กระทรวงมหาดไทยไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย และ หลักธรรมาภิบาล หากมีการอนุมัติวาระดังกล่าวจะส่งผลทางด้านกฎหมายในอนาคตได้

ครมภูมิใจไทย.jpg2222222222

รถไฟฟ้าสายสีเขียว เปิดหนังสือด่วนที่สุด คมนาคม

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ทางกระทรวงคมนาคม โดย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ถึงความเห็นประกอบการพิจารณาของครม. เรื่องขอความเห็นชอบผลการเจรจาและเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

โดยอ้างอิงตามหนังสือ ที่ส่งไปถึง 7 ฉบับเพื่อประกอบการพิจารณา โดยระบุว่า ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือถึงกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมได้เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เรื่อง ขอความเห็นชอบผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว กรุงเทพมหานครได้จัดส่งข้อมูล และชี้แจงการดำเนินการ ตามความเห็นของกระทรวงคมนาคม เพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม หากกระทรวงคมนาคมมีความเห็น เพิ่มเติมประการใด ขอให้แจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบโดยด่วน ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น

กระทรวงคมนาคม ได้พิจารณาข้อมูลเพิ่มเติมของกรุงเทพมหานคร (กทม.) แล้ว ขอยืนยัน ตามความเห็นเดิมว่า ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการของ กทม. เนื่องจากข้อมูลที่ กทม. จัดทำเพิ่มเติมนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในข้อเท็จจริงที่ทำให้การวิเคราะห์ของกระทรวงคมนาคมแตกต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะในประเด็นของการคำนวณอัตราค่าโดยสาร การรองรับระบบตั๋วร่วม และความชัดเจนของประเด็นข้อกฎหมาย

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

นอกจากนี้ ปัจจุบันการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ยังคงเป็นหน่วยงานเจ้าของกรรมสิทธิ์ ในสิ่งก่อสร้างและที่ดินตลอดแนวโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 ช่วง อันเป็นสาระสำคัญที่ไม่อาจเห็นด้วยต่อแนวทาง การดำเนินการตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทย นอกเหนือจากประเด็นอื่นๆ ที่กระทรวงคมนาคมได้เคย นำเสนอและแจ้งยืนยันในครั้งนี้

กระทรวงคมนาคม ขอให้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม กรณีที่กทม. รายงานว่าการโอนกรรมสิทธิ์ ยังไม่สมบูรณ์เนื่องจาก รฟม. ยังไม่สรุปรายละเอียดด้านการเงินช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ทำให้ไม่สามารถรับโอนโครงการได้

กระทรวงคมนาคม ขอรายงานข้อเท็จจริงว่า กทม. รฟม. สำนักงบประมาณ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมเพื่อหารือสรุปรายละเอียดค่าใช้จ่ายโครงการ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ร่วมกันเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563  แต่ยังมีประเด็นเกี่ยวกับแนวทาง การดำเนินการตามเงื่อนไขการอนุญาตให้เข้าพื้นที่ กรณีการติดตั้งสะพานเหล็ก แยกหทัยราษฎร์ และแยกพุทธมณฑลสาย 2 ซึ่งรอคำยืนยันจากกทม.

เนื่องจากการพิจารณากรอบวงเงินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วง หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะได้ข้อสรุปมีความจำเป็นต้องทราบความชัดเจน ของแนวทางการติดตั้งสะพานเหล็กทั้ง 2 แห่ง เพื่อประกอบการจัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายของโครงการ ซึ่งกระทรวงคมนาคม ได้มีหนังสือเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 และวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 รายละเอียดตามที่ส่งมาด้วย 6 -7 ของทราบผลการพิจารณาของกทม. และปัจจุบันกทม. ยังไม่ได้แจ้งผลการพิจารณาให้กระทรวงคมนาคมทราบ

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight