Economics

‘ศักดิ์สยาม’ เร่งเดินหน้าสร้างรถไฟไทย-จีน เฟส 2 -สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่

“ศักดิ์สยาม” เร่งเดินหน้าสร้างรถไฟไทย-จีน เฟส 2 พร้อมสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ลั่น เปิดให้บริการแน่ปี 2570

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ว่า มีการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง

ส่วน ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356.10 กม. บริษัทปรึกษา อยู่ระหว่างการสำรวจออกแบบ โดยจะเร่งรัดการดำเนินการ ซึ่งคาดว่าในปี 2565 จะสามารถสรุปรายละเอียด และเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อเริ่มดำเนินการ

ศักดิ์สยามสัม

นอกจากนี้ ยังมีโครงการรถไฟทางคู่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปัจจุบันเส้นทางถึงขอนแก่นแล้ว ส่วนระยะที่ 2 จากขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 169 กม. เตรียมจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา คาดว่าไม่เกินไตรมาส 2 ปี 2565 จะดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างได้

โดยทั้งโครงการรถไฟทางคู่ จากขอนแก่น-หนองคาย และรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 จากนครราชสีมา-หนองคาย จะสามารถแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ในปี 2570

ส่วนการพัฒนารถไฟของประเทศไทย เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงของ ลาว-จีนนั้น รัฐบาลได้มอบหมายนโยบายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาไว้แล้ว ซึ่งขณะนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของคมนาคม ทั้งกรมการขนส่งทางราง (ขร.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ และที่ปรึกษาไปที่ลาว เพื่อดูข้อมูล ข้อเท็จจริงในการเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง ลาว-จีน ทั้งปริมาณผู้โดยสาร และสินค้าต่อวัน เป็นอย่างไร

ทั้งนี้ ระบบรถไฟความเร็วสูงของลาว-จีนนั้น เป็นระบบทางเดี่ยว และมีเส้นทาง บ่อเต็น-เวียงจันทน์ ซึ่งยังไม่ถึงชายแดนกับประเทศไทย โดยในการเดินรถระยะแรก ยังมีขบวนรถวิ่งไม่มากนัก ดังนั้น คาดการณ์ว่า ปริมาณสินค้าและผู้โดยสารจะยังคงไม่มาก

นายศักดิ์สยาม ยังได้กล่าวต่อว่า ส่วนการเชื่อมต่อกับลาว นั้น จะต้องสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ เพื่อให้รถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่ สามารถวิ่งเชื่อมกันได้ เนื่องจากสะพานเดิม ซึ่งปัจจุบันใช้ร่วมทั้งการเดินทางของรถยนต์ และรถไฟ มีโครงสร้างที่ความสามารถรองรับน้ำหนักรถไฟได้ประมาณ 15 ตันต่อตู้เท่านั้น ซึ่งสะพานใหม่ ออกแบบให้รับน้ำหนัก ได้ประมาณ 30 ตันต่อตู้ จึงจะบูรณาการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารได้อย้างมีประสิทธิภาพสูงสุด

messageImage 1638521850424

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน เพื่อรองรับการเปิดเดินรถของลาว-จีน และปริมาณสินค้าที่อาจเพิ่มขึ้น กระทรวงคมนาคมได้วางแผนในการเปลี่ยนขนถ่ายสินค้าทางบกไว้ก่อน และได้สั่งการให้กรมทางหลวง (ทล.) ลงเร่งดูพื้นที่ในการทำสถานีขนถ่ายสินค้าชั่วคราวก่อน จึงไม่น่ามีปัญหาอุปสรรคใด ๆ

นายศักดิ์สยาม ระบุว่า เรื่องนี้ต้องพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียด เพราะเบื้องต้น รถไฟทางฝั่งลาวยังเป็นทางเดี่ยว หากเป็นทางคู่ เชื่อว่าจะปริมาณสินค้าจะมาก ซึ่งคาดว่าจะต้องเวลาอีกระยะหนึ่งในการทำระบบขนส่งทางรางที่สมบูรณ์ และนายกรัฐมนตรีของไทย ให้นโยบาย การพิจารณาทำให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชขน์ระหว่างประทศให้เหมาะสม สามารถดำเนินการโดยยึดประโยชน์สูงสุดของไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo