Economics

ผู้ว่าธปท.แนะรัฐบาลกู้อย่างน้อย 1 ล้านล้าน ฟื้นเศรษฐกิจ อย่ากังวลหนี้สาธารณะ

ผู้ว่าธปท.หนุนรัฐบาลกู้เพิ่มไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้าน เพื่อพยุงเศรษฐกิจ อย่ากังวลหนี้สาธารณะ คาดพุ่งไปแตะ 70% ในปี 2567 แต่จะลดลงเร็วเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวใน “Meet the Press”ว่าสนับสนุนให้รัฐบาลกู้เงินอย่างน้อย 1 ล้านล้าน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ เนื่องจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบนี้รุนแรง

สถานการณ์โควิด 19 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยหดตัวรุนแรง ธุรกิจและประชาชนต้องปรับตัวอย่างมาก ธุรกิจจำนวนมากต้องปิดกิจการ และประชาชนถูกเลิกจ้าง ปัญหาที่ชัดเจน คือ รายได้ที่หายไป และจะหายไปเป็นเวลานาน โดยที่ผ่านมา เราเห็น 4 อาการของเศรษฐกิจไทย 

กู้เงิน

อาการแรก คือ โควิด 19 สร้าง “หลุมรายได้” ขนาดใหญ่ในระบบเศรษฐกิจไทย โดยในช่วงปี 2563-2564 คาดว่ารายได้จากการจ้างงานจะหายไปถึง 1.8 ล้านล้านบาท จากนายจ้างและอาชีพอิสระ 1.1 ล้านล้านบาท และ ลูกจ้าง 7.0 แสนล้านบาท มองไปข้างหน้า การจ้างงานคงฟื้นตัวไม่เร็วและรายได้จากการจ้างงานในปี 2565 คาดว่า จะหายไปอีกราว 8.0 แสนล้านบาท ซึ่งหมายถึงในปี2563-2565“หลุมรายได้” อาจมีขนาดถึง 2.6 ล้านล้านบาท 

อาการที่สอง การจ้างงานถูกกระทบรุนแรง โดยเฉพาะกิจการในภาคบริการและกิจการที่มีสายป่านสั้น โดย ข้อมูลการจ้างงานในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ สะท้อนความเปราะบางสูง ได้แก่ (1) ผู้ว่างงาน/เสมือนว่างงาน (ผู้มีงานทำไม่ถึง 4 ชม ต่อวัน) อยู่ที่ 3.0 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3.4 ล้านคน ณ สิ้นปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าช่วงก่อนโควิดกว่า 1 ล้านคน (2) ผู้ว่างงานระยะยาว (เกิน 1 ปี) 1.7 แสนคน เพิ่มขึ้นกว่าช่วงก่อนโควิดถึงกว่า 3 เท่าตัว (3) ตัวเลขผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนอยู่ที่ 2.9 แสนคน เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนโควิดถึง 8.5 หมื่น คน และ (4) แรงงานย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาที่เพิ่มขึ้นจากภาคบริการ/อุตสาหกรรมในเมืองกลับไปยังภาคเกษตรที่มีผลิตภาพต่ำกว่า ล่าสุดอยู่ที่ 1.6 ล้านคน สูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อปีในช่วงก่อนโควิดที่ 5 แสนคนมาก 

อาการที่สาม การฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ไม่เท่าเทียม (K-shaped) แม้จะมีภาคการผลิตเพื่อส่งออกที่ฟื้นตัวเกินระดับก่อนโควิดแล้วถึงเกือบร้อยละ 20 จากเศรษฐกิจคู่ค้าที่สถานการณ์เบากว่าไทย แต่ภาคการ ผลิตเพื่อการส่งออกนี้จ้างงานเพียงร้อยละ 8 ทำให้ผู้ได้ประโยชน์มีน้อย เทียบกับแรงงานในภาคบริการที่มีสูงถึงร้อยละ 52 ที่ส่วนใหญ่ยังเดือดร้อน โดยรวมจึงยังทำให้ความเป็นอยู่ของครัวเรือนยังเปราะบาง 

อาการที่สี่ ไทยถูกกระทบจากโควิด 19 หนักกว่าและจะฟื้นช้ากว่าประเทศในภูมิภาค เนี่องจากไทยพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงสุดในเอเชีย คือ ร้อยละ 11.5 ของ GDP ทำให้ทั้งปี 2563 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยหดตัวถึงร้อยละ 6.1 เทียบกับร้อยละ 4.9 ที่เป็นค่าเฉลี่ยของประเทศในเอเชีย ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทย จะใช้เวลา 3 ปี จากช่วงเริ่มระบาดในการกลับสู่ระดับก่อนโควิด ขณะที่เอเชียโดยรวมใช้เวลาไม่ถึง 2 ปี โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ GDP ของไทยยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนโควิดร้อยละ 4.6 ขณะที่เอเชียโดยรวมฟื้นเหนือ ระดับก่อนโควิดแล้ว 

ที่ผ่านมา การใช้จ่ายภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการพยุงเศรษฐกิจ โดยในปี 2563 เศรษฐกิจไทยหดตัวในทุก ด้านจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 เว้นแต่การใช้จ่ายภาครัฐด้านเดียวที่ยังขยายตัวได้ และช่วยพยุงการบริโภคของภาคเอกชนได้อย่างมากโดยหากไม่มีมาตรการเงินโอนช่วยเหลือจากภาครัฐผลกระทบจากโควิดต่อการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะรุนแรงขึ้นมาก จากที่หดตัวร้อยละ 1.0 อาจสูงขึ้นเป็นร้อยละ 6.3 ได้ นอกจากน้ี การช่วยเยียวยารายได้ ทำให้ความจำเป็นในการก่อหนี้ของประชาชนและภาคธุรกิจลดลงได้บ้าง

การใช้จ่ายของภาครัฐที่จะเพิ่มขึ้นควรมีลักษณะหรือรูปแบบการดำเนินการอย่างไร เพื่อช่วยพยุงรายได้ ของประชาชนให้ได้เต็มที่ เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจจาก “หลุมรายได้” ที่ทั้งใหญ่และลึก รวมทั้งสถานการณ์ที่จะยาวนาน การใช้จ่ายของภาครัฐจำเป็นต้องเพิ่มอีกมากและ front-load ให้ได้มากที่สุด เพื่อเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะมาตรการท่ีช่วยพยุงการจ้างงานและเพิ่มรายได้รวมถึงการใช้วงเงินตามพ.ร.ก.5 แสน ล้าน ที่อาจเร่งนำมาใช้เยียวยากลุ่มเปราะบางให้ตรงจุดและทันการณ์ และออกมาตรการเพื่อรักษาการจ้างงาน และสร้างรายได้โดยเร็ว 

นอกจากนี้ จะต้องให้ความสำคัญเร่งด่วนกับมาตรการการคลังที่ส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจหรือมี “ตัวคูณ” หรือ multiplier สูง เช่น มาตรการที่รัฐช่วยออกค่าใช้จ่าย (co-pay) อาทิ มาตรการคนละครึ่ง (multiplier 1.5) และมาตรการค้าประกันสินเชื่อ (multiplier 2-2.6) โดยมาตรการที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้มาก มักเป็นการดึงเม็ดเงินจากภาคเอกชนเข้ามาร่วมด้วย ซึ่งจะมีผลเพิ่มเติมจากการเพิ่มสภาพคล่องของ ธุรกิจและการจ้างงาน ขณะที่มาตรการให้เงินเยียวยาเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจะมีความจำเป็นในระยะสั้น แต่เนื่องจากมี multiplier ต่ำ (0.8-1) จึงควรใช้แบบตรงจุด หรือ “ตามอาการ” ให้ได้มากที่สุด 

การวางนโยบายการพยุงการจ้างงานและสร้างรายได้อย่างเพียงพอ ต้องทำให้ได้ในวงกว้าง และต้องให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมผลักดันมากขึ้น โดยเน้น (1) การพยุงการจ้างงาน (job retention) โดยสร้างแรงจูงใจให้เอกชนรักษาระดับการจ้างงาน (2) กระตุ้นอุปสงค์ (demand creation) เพื่อเพิ่มการบริโภคและ ลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะการจ้างงานในท้องถิ่นที่มีแรงงานเคลื่อนย้ายกลับถิ่นจำนวนมาก (3) ส่งเสริมการ เพิ่มหรือปรับทักษะ (upskill-reskill) ของแรงงาน เช่น โครงการ Co-payment ที่รัฐบาลควรขยายให้ ครอบคลุมแรงงานที่ตกงานและแรงงานคืนถิ่น นอกเหนือไปจากแรงงานจบใหม่ รวมทั้งขยายเวลาการจ้างงาน ภาครัฐที่จะสิ้นสุดเดือนกันยายนนี้ออกไป เป็นต้น

ทั้งนี้ ภาครัฐควรมีบทบาทเป็น facilitator โดยไม่ควรสร้างเงื่อนไขมากจนเป็นข้อจำกัดในการช่วยเหลือ และมีกระบวนสร้างความโปร่งใสในการพิจารณาและ ดำเนินมาตรการต่าง ๆ รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการตอบโจทย์ และ สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับสถานการณ์ที่อาจจะเปลี่ยนไปในอนาคต 

การใช้จ่ายภาครัฐควรต้องเพิ่มขึ้นแค่ไหนจึงจะเพียงพอ ทำไมต้องรีบทำและควรต้องกังวลเรื่องหนี้ สาธารณะหรือไม่ 

ด้วยขนาดของรายได้ที่จะหายไป (ประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท ระหว่างปี 2563-2565) เม็ดเงินของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบันคงไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเพิ่มแรงกระตุ้นทางการคลังเพื่อช่วยให้รายได้และ ฐานะทางการเงินของประชาชนและ SMEs กลับมาฟื้นตัวได้โดยเร็วที่สุด และลดแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่จะกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจหลังโควิด ซึ่งในเบื้องต้น เม็ดเงินจากภาครัฐที่เติมเข้าไปในระบบควรมีอย่างน้อย 1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 7 ของ GDP 

การกู้เงินเพิ่มเติมของภาครัฐจะช่วยให้ GDP กลับมาโตใกล้ศักยภาพเร็วขึ้น และจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในระยะยาวปรับลดลงได้เร็วกว่ากรณีที่รัฐบาลไม่ได้กู้เงินเพิ่ม โดยในกรณีที่รัฐบาลกู้เงินเพิ่ม 1 ล้านล้านบาท หนี้สาธารณะคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปสูงสุดท่ีประมาณร้อยละ 70 ของ GDP ในปี 2567 และจะลดลงได้ค่อนข้างเร็วตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและความสามารถในการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่จะกลับมาฟื้นตัวเร็ว เนื่องจากฐานภาษีจะไม่ได้ลดลงจากแผลเป็นของเศรษฐกิจมากนัก เมื่อเทียบกับกรณีที่รัฐบาลกู้เงินเพิ่ม พบว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในอีก 10 ปีข้างหน้า (ปี 2574) จะต่ำกว่ากรณีที่รัฐบาล ไม่ได้กู้เงินเพิ่มเติมถึงกว่าร้อยละ 54

ดังนั้น หากรัฐบาลไม่เร่งพยุงเศรษฐกิจเพิ่มเติมในภาวะที่ความไม่แน่นอนสูง เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตยืดเยื้อ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP แม้จะเพิ่มขึ้นช้า แต่จากการประมาณการ คาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงและปรับลดลงได้ไม่มากนักในระยะยาว 

การใช้จ่ายภาครัฐท่ีเพิ่มข้ึน จะส่งผลต่อเสถียรภาพทางการคลังหรือความเสี่ยงในการถูกปรับลดอันดับ ความน่าเชื่อถือหรือไม่ 

ปัจจุบัน เสถียรภาพทางการคลังของไทยยังแข็งแกร่ง ภาครัฐยังมีศักยภาพในการก่อหนี้เพิ่มเติมเพื่อช่วย พยุงเศรษฐกิจได้ เนื่องจาก (1) หนี้สาธารณะของไทยยังอยู่ในระดับต่ำก่อนโควิด โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะ ต่อ GDP อยู่ท่ีร้อยละ 42 ณ ธันวาคม 2562 และเพิ่มข้ึนในช่วงโควิดประมาณร้อยละ 14 (ร้อยละ 56 ณ มิถุนายน 2564) ซึ่งยังน้อยกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 19) และกลุ่มประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวสูง เช่น กรีซ (ร้อยละ 25.2)

หนี้สาธารณะของไทยเกือบท้ังหมดเป็นหนี้ในประเทศ โดยสัดส่วนหนี้ในประเทศ ณ มิถุนายน 2564 อยู่ที่ร้อยละ 98.2 ของหน้ีสาธารณะท้ังหมด (3) ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลไทยอยู่ในระดับต่ำ ไม่เป็นข้อจำกัดต่อภาระทางการคลัง สะท้อนจากอัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลระยะ 10 ปีของไทยที่ ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2564 อยู่ที่ไม่ถึงร้อยละ 1.6 ซึ่งต่ำที่สุดในกลุ่ม ประเทศกำลังพัฒนาของอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย (ร้อยละ 3.2) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 6.3) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 4.1) และเวียดนาม (ร้อยละ 2.1) 

นอกจากนี้ ความเสี่ยงในการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยจากการเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำ เพราะการประเมินของบริษัทจัดอันดับฯ จะพิจารณาจากประสิทธิผลของมาตรการคลังในการพยุงและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และความสามารถในการบริหารจัดการหนี้ในระยะข้างหน้าเป็นสำคัญ

ที่ผ่านมา outlook ของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยเป็น stable โดยมีฐานะการคลังและพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเป็นจุดแข็ง ขณะที่ความกังวลของบริษัทจัดอันดับส่วนใหญ่จะอยู่ในประเด็นการฟื้นตัว ทางเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางของไทยเพราะยังพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง และประเด็นเสถียรภาพทางการเมือง เป็นหลัก 

ทั้งนี้ เพื่อรักษาความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ และเพิ่ม room ของการทำนโยบายไว้รองรับภาระ ทางการคลังและความเสี่ยงในอนาคต รัฐบาลต้องมีมาตรการรัดเข็มขัดในระยะปานกลาง เพื่อให้สัดส่วนหนี้ต่อ GDP กลับลงมาในระยะข้างหน้า อาทิ การปฏิรูปการจัดเก็บภาษีผ่านการขยายฐานภาษี และการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ พร้อมทั้งปรับอัตราภาษีบางประเภทให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศหลังการแพร่ระบาดของโควิด

สำหรับการใช้จ่าย มาตรการเงินโอนควรต้อง “ตรงจุด” และควรกำหนดเงื่อนไขของการได้รับเงินโอน (Conditional transfer) พร้อมทั้งควบคุมรายจ่ายประจาและเพิ่ม สัดส่วนของรายจ่ายลงทุน นอกจากนี้ หากภาครัฐทำให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวตามศักยภาพได้เร็ว จะช่วย เร่งการเข้าสู่ความยั่งยืนทางการคลังได้อีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากฐานภาษีและความสามารถในการจัดเก็บภาษีจะเพิ่มขึ้น เช่น กรณีเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว 

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

 

Avatar photo