Economics

‘ปตท.-ซีพี-ไอทีดี-CRCC’ แห่ชิงท่าเรือแหลมฉบัง 8.4 หมื่นล้าน

เอกชน 32 รายซื้อซองประมูลท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 มูลค่า 8.4 หมื่นล้านบาท ด้าน “ปตท.-ซีพี-ไอทีดี-ซีอาร์ซีซี” โดดแจมวงประมูลด้วย

รายงานข่าวจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า ตามที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.)ได้ประกาศเชิญชวนและขายเอกสารการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟสที่ 3 ท่าเทียบเรือ F วงเงิน 84,361 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 5-19 พฤศจิกายน 2561 ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างชาติที่มาซื้อเอกสารในครั้งนี้จำนวน 32 ราย

ท่าเรือ1

สำหรับขั้นตอนหลังจากนี้ กทท. มีกำหนดเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอจำนวน 5 ซองในวันที่ 14 มกราคม 2562 และคาดว่าจะตัดสินผู้ชนะได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยการลงทุนครั้งนี้จะเป็นแบบ PPP Net Cost แบ่งเป็น กทท. จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ 53,490 ล้านบาท ส่วนเอกชนจะลงทุนมูลค่า 30,871 ล้านบาท เพื่อพัฒนาท่าเรือและรับสัมปทานการบริหารเป็นเวลา 35 ปี

อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า ในการประมูลครั้งนี้มีผู้ประกอบการรายใหญ่ร่วมซื้อซองประมูลด้วยได้แก่ เครือ ปตท., เครือซีพี, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD และเครือ CRCC จากประเทศจีน โดย 3 รายหลังได้จับมือร่วมยื่นซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา วงเงิน 2.2 ล้านบาทไปแล้วเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านด้วย

ท่าเรือ2

สำหรับรายชื่อเอกชนที่ซื้อซองประมูลเอกสารประกวดราคาท่าเรือแหลมฉบังเฟสที่ 3 ท่าเทียบเรือ F มีรายละเอียดดังนี้

1. บริษัท ที ไอ พี เอส จำกัด (ประเทศไทย)
2. Itochu Corporation (ประเทศญี่ปุ่น)
3. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนคอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ (ประเทศไทย)
4. บริษัท แหลมฉบัง อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด (ประเทศไทย)
5. บริษัท เจดับเบิลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD (ประเทศไทย)
6. บริษัท ซีเอชอีซี (ไทย) จำกัด (ประเทศไทย)
7. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD (ประเทศไทย)
8. เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ประเทศไทย)
9. China Harbor Engineering Co.,ltd (ประเทศจีน) (บริษัทแม่ของข้อ 6)
10. Fujita corporation (ประเทศญี่ปุ่น)
11. Mitsui (ประเทศญี่ปุ่น)
12. China Merchants Port (ประเทศฮ่องกง)
13.International Container Terminal (ประเทศฟิลิปินส์)
14.Sumitomo Coporation Thailand (ประเทศไทย)
15 บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (ประเทศไทย) ซึ่งอยู่ภายใต้เครือ ปตท.

ท่าเรือ4

16. บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (ประเทศไทย)
17. PSA Internatina PTE Ltd. (ประเทศสิงค์โปร์)
18. บริษัท บางกอก โมเดริน เทอร์มินอล จำกัด (ประเทศไทย)
19. บริษัท พีเอชเอส ออแกนิค ฮีลลิ่งจำกัด (ประเทศไทย)
20. บริษัท แอสโซซิเอท อินฟินิตี้ จำกัด (ประเทศไทย)
21. China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd (ประเทศจีน) ในเครือ CRCC
22. Shekou Container Terminals Ltd. (ประเทศจีน)
23. APM Terminal B.V. (ประเทศเนเธอร์แลนด์)
24. Adani Port & Special Economic Zone Ltd. (ประเทศอินเดีย)
25. บริษัท บีเอ็มที แปซิฟิค จำกัด ประเทศ
26. บริษัท เมดิเตอร์เรเนียน ชิปปิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (ประเทศไทย)
27. Terminal Investment Limited Sarl (ประเทศสวิสเซอร์แลนด์)
28. Dredging International nv. (ประเทศเบลเยี่ยม)
29. Boskails International B.V. (ประเทศเนเธอร์แลนด์)
30. บริษัท ซี.อาร์.ซี. การท่าเรือ จำกัด (ประเทศไทย)
31. China Communication Construction Company LTD. (ประเทศจีน)
32. บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน )หรือ PLE (ประเทศไทย)

Avatar photo