Economics

เป็นหนี้ จ่ายไม่ไหว ทำยังไงดี เช็ค 6 ขั้นตอนเคลียร์หนี้แบบเห็นผลที่นี่เลย!!

เป็นหนี้ จ่ายไม่ไหว ทำยังไงดี?? เมื่อวิกฤติทางการเงินกระหน่ำ หนี้สินพันรอบตัว ผ่อนบัตรเครดิต บัตรกดเงินสดไม่ไหวเช็ค 6 ขั้นตอนเคลียร์หนี้แบบเห็นผลที่นี่เลย!!

โควิดระลอก 3 ซัดหนัก!! หลังระบาดยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2563 ส่งผลให้ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 151 ล้านคน เฉพาะในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 6 หมื่นคน และเสียชีวิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่มาตรการเยียวยาหลายมาตรการเริ่มทยอยหมดลง และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดล้วนส่งผลกระทบต่อเงินในกระเป๋า

เมื่อวิกฤติกระหน่ำหนัก เป็นหนี้ บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ผ่อนไม่ไหว ทำอย่างไรดี?

เป็นหนี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า บัตรเครดิตเป็นเครื่องมือการชำระเงินที่ให้ประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ที่ใช้เป็น ซึ่งต้องมีวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด ด้วยการจ่ายคืนให้เต็มยอดเรียกเก็บทุกรอบ เพราะถ้าทำได้ตามนี้ นอกจากเราจะได้ซื้อสินค้ามาใช้ก่อนค่อยจ่ายคืนทีหลังโดยไม่มีดอกเบี้ยแล้ว ในบางครั้งยังมีส่วนลด เงินคืน ของแถม และคะแนนสะสมเพื่อแลกของรางวัลได้ฟรีอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ในยุคโควิดเช่นนี้ ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้บัตรเครดิตของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า คนกรุงเทพและปริมณฑลเกือบ 80% ใช้บัตรเครดิตโดยไม่จ่ายคืนเต็มจำนวนที่เรียกเก็บตามใบแจ้งยอดในแต่ละรอบบัญชี แต่ใช้วิธีการผ่อนจ่ายอย่างน้อย ในอัตราขั้นต่ำตามเงื่อนไของผู้ให้บริการ ซึ่งไม่ผิดกติกาใด ๆ และไม่กระทบประวัติทางการเงิน รวมทั้งยังอาจมีส่วนลด เงินคืน ของแถม และคะแนนสะสมไว้แลกของรางวัล เหมือนผู้จ่ายเต็มจำนวน

แต่สิ่งที่ควรรู้จาก “การผ่อนจ่ายบางส่วน” คือ

หนึ่ง ผู้ให้บริการบัตรจะเรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตรา 16% ต่อปีของวงเงินบัตรที่ใช้ไป โดยคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่รูดบัตรจนถึงวันที่ชำระหนี้ ซึ่งยอดเงินที่ชำระหนี้ในแต่ละงวดจะถูกนำ​ไปหักอัตราดอกเบี้ยก่อน ส่วนที่เหลือจึงนำไปตัดเงินต้นที่ค้างชำระ ตัวอย่างหนี้บัตรที่ผ่อนจ่ายขั้นต่ำ 5% ของยอดเรียกเก็บ ต้องใช้เวลาประมาณ 7 ปี จึงจะสามารถจ่ายหนี้ที่เกิดขึ้นในรอบบัญชีแรกได้หมด ซึ่งถ้ารอบบัญชีที่ 2,3,4,… ยังคงพฤติกรรมการจ่ายหนี้เช่นเดิม โอกาสการคืนหนี้ได้หมดจะยิ่งเลือนลางจากการทบทวีของเงินต้นและดอกเบี้ย

สอง หากยังเป็นลูกหนี้ดีแต่เริ่มขาดสภาพคล่อง (แต่ยังเป็นหนี้ปกติ ไม่เป็นเอ็นพีแอล หรือค้างชำระเกิน 3 เดือน ณ วันที่ขอเข้าโครงการ) สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินเพื่อเข้ามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย โดยเปลี่ยนหนี้บัตรเป็นสินเชื่อเงินก้อน ผ่อนชำระ 4 ปี อัตราดอกเบี้ย 12% ได้ โดยไม่เสียประวัติเครดิตบูโร

สาม เมื่อโควิดทำให้การผ่อนจ่ายแม้กระทั่งขั้นต่ำ…กลายเป็นเรื่องยาก ลองเข้ามหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งปัจจุบันขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 โดยโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือของทั้งแบงก์ชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม และกรมบังคับคดี ร่วมกับสถาบันการเงิน 23 แห่ง เพื่อปรับโครงสร้างหนี้จากสถาบันการเงิน

ซึ่งจะดูจากสถานะหนี้ และความสามารถในการผ่อนรายเดือนในปัจจุบัน โดยหากเป็นเอ็นพีแอลแล้ว (ก่อนวันที่ 1 ก.พ. 64) ทั้งก่อนถูกฟ้องและอยู่ระหว่างการฟ้องร้องของสถาบันการเงิน ขอผ่อนจ่ายเฉพาะส่วนเงินต้นได้นานถึง 10 ปี ด้วยดอกเบี้ยเพียง 4 – 7% โดยดอกเบี้ยค้างยกให้เมื่อจบสัญญา ขณะที่หากเป็นคดีแดงที่ศาลตัดสินและมีคำพิพากษาบังคับคดีแล้ว ขอจ่ายเฉพาะเงินต้นโดยเลือกได้ 3 เดือน 3 ปี และ 5 ปี โดยดอกเบี้ยค้างยกให้เมื่อจบสัญญา

เป็นหนี้

ด้าน Krungsri Guru เปิด 6 ขั้นตอนจัดการหนี้บัตรเครดิตแบบเห็นผล ดังนี้

ขั้นตอนกำจัดหนี้บัตรเครดิตขั้นแรก “หยุดจ่ายขั้นต่ำ”

เมื่อเราได้เริ่มต้นด้วยการหยุดจ่ายขั้นต่ำแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ เราต้องทยอยชำระหนี้สินคงค้างให้หมดครับ ด้วยการพยายามลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และนำเงินที่เราไม่ได้ใช้จ่ายกับสิ่งที่เกินจำเป็นมาชำระหนี้ ทยอยชำระให้หมดโดยเร็ว และต้องอดทนอย่าก่อหนี้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาอีก

ขั้นตอนที่สอง “ทยอยชำระหนี้”

เมื่อเราได้เริ่มต้นด้วยการหยุดจ่ายขั้นต่ำแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ เราต้องทยอยชำระหนี้สินคงค้างให้หมด ด้วยการพยายามลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และนำเงินที่เราไม่ได้ใช้จ่ายกับสิ่งที่เกินจำเป็นมาชำระหนี้ ทยอยชำระให้หมดโดยเร็ว และต้องอดทนอย่าก่อหนี้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาอีก

ขั้นตอนที่สาม “ซื้อด้วยเงินสด”

หลายคนอาจจะติดใจการซื้อของ ซื้อสินค้า บริการ จ่ายค่าอาหารตามร้านอาหารด้วยบัตรเครดิต หากเราสามารถบริหารจัดการเงินที่ต้องจ่ายตอนบิลเรียกเก็บเงินมาด้วยเงินสด แบบนี้ก็ไม่มีปัญหาครับ แต่หากเราเริ่มมีปัญหาติดขัด ต้องจ่ายขั้นต่ำแล้ว แบบนี้ครั้งต่อ ๆ ไปในการซื้อสินค้าบริการควรจ่ายด้วยเงินสดครับ เวลาที่เราจ่ายด้วยเงินสด ๆ เงินในกระเป๋าของเราจะลดไปทันที ทำให้เราสะดุดใจ และไม่กล้าจับจ่ายมากเกินจำนวนเงินที่เราหามาได้ เมื่อเราเริ่มซื้อของด้วยเงินสด เราจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง บิลที่ต้องจ่ายปลายเดือนจะน้อยลง วิธีการนี้ถือเป็นยาสมานแผลชั้นดีที่จะไม่ทำให้เราเพลิดเพลินกับการจ่ายด้วยเครดิตมากจนเกินไป

ขั้นตอนที่สี่ “ทำบัญชีจับจ่ายส่วนบุคคล”

การทำบัญชีจับจ่ายบุคคลจะช่วยให้เรา “มองเห็นปัญหา” ก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น วิธีการทำบัญชีจับจ่ายส่วนบุคคลแบบง่าย ๆ ก็คือการบันทึกรายรับ รายจ่าย แบบง่าย ๆ ด้วยการเก็บบิลค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนเอาไว้ และมาบันทึกเมื่อสิ้นสุดเดือน หากเรามีรายรับทางเดียวก็คือเงินจากงานประจำเราก็สามารถบันทึกเอาไว้ในส่วนของ “รายรับ” และเราควรแยกส่วนของรายจ่ายหลัก ๆ จะเป็น ค่ากิน ค่าที่พัก (ค่าบ้าน) ค่าเดินทาง และค่าท่องเที่ยว ทำแบบนี้เราจะมองเห็นชัดเจนว่าเราหมดค่าใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง และสามารถวางแผนตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้

ขั้นตอนที่ห้า “วางแผนทางการเงินส่วนบุคคล”

หลังจากที่เราเริ่มปิดปากแผลทางการเงิน หยุดจ่ายขั้นต่ำ ทยอยชำระหนี้ หยุดเลือดที่กำลังไหลได้สำเร็จ และเริ่มทำบัญชีส่วนบุคคล การป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลทางการเงินก็เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามนะครับ การป้องกันไม่ให้เกิดแผลอีกเราต้อง “วางแผนทางการเงินส่วนบุคคล” การวางแผนการเงินส่วนบุคคลนั้นไม่ยากครับ เราควรแบ่งเงินที่เป็นรายได้ของเราออกเป็นส่วน ๆ ได้แก่ เงินใช้จ่าย กับ เงินเก็บออม และแบ่งเงินเก็บออมเป็นเงินสำรองที่ต้องฝากธนาคารเอาไว้ห้ามนำออกมาใช้ กับเงินอีกส่วนที่เก็บออมเพื่อไปลงทุนต่อยอดให้งอกเงย ทำได้แบบนี้ “หนี้สินกวนใจ” ก็จะหายไปไม่กลับมาหาเราอีกเลย

ขั้นตอนสุดท้าย “รักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด”

เมื่อเราทำทุกขั้นตอนมาจนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ชีวิตทางการเงินของเราจะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ บาดแผลเริ่มสมานกัน เลือดหยุดไหลแล้ว แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำมาจะหมดความหมายทันทีหากเรากลับไปก่อหนี้สินใหม่ ๆ อีก ปากแผลจะถูกเปิดออก เลือดจะกลับมาไหลอีกครั้ง ดังนั้นเราต้องรักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด ในขั้นตอนสุดท้ายนี้ถือว่า “สำคัญที่สุด” หากเราไม่อยากกลับไปเป็นหนี้อีกอย่าลืม “รักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด”

ขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะดูยากในตอนแรก แต่หากเราทำสำเร็จ โอกาสที่เราจะเริ่มต้นใหม่กับชีวิตทางการเงินที่ปราศจากหนี้ก็เป็นเรื่องที่ไม่ยาก การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ เป็นกำลังใจให้ทุกท่าน

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย และ Krungsri Guru

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo