Economics

แฉกลโกงสุดแสบ ‘โครงการคนละครึ่ง’ จ่อเชือดอีก 700 ราย

โกงคนละครึ่ง ตำรวจ แถลงกลโกงสุดแสบ “โครงการคนละครึ่ง” เตือนโทษหนักจำคุกสูงสุด 5 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ระทึก!! จ่อเชือดอีก 700 ราย

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) , พล.ต.ต.ปัญญา ปิ่นสุข รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (รอง ผบช.ก.) , พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ผบก.ปอศ.) , นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมายธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ร่วมกันแถลงผลการตรวจสอบและดำเนินคดีกรณี โกงคนละครึ่ง

ทั้งนี้ โครงการคนละครึ่ง เป็นโครงการที่รัฐบาลจัดขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจจนถึงระดับฐานราก ผ่านผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อให้ประชาชน ใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” และรัฐบาลจะออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน และไม่เกิน 3,000 บาท ในเฟสแรก (3,500 บาท ในเฟส 2) ตลอดระยะเวลาโครงการ

โกงคนละครึ่ง

ต่อมา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคารกรุงไทย ได้สอบเบื้องต้น พบความผิดปกติ ในการใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโครงการ มีรูปแบบการกระทำความผิดอยู่ 2 แบบ คือ

  • ร้านแลกหรือรับเงินเป็นผู้ดำเนินการ
  • แบบมีเจ้ามือเป็นผู้ดำเนินการจำนวนหลายราย

ดังนั้น จึงได้มีการระงับการใช้แอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” และระงับการจ่ายเงินให้แก่ร้านค้าดังกล่าว และได้จัดส่งข้อมูลร้านค้าและผู้เกี่ยวข้องที่กระทำผิดเงื่อนไข ให้แก่ตำรวจดำเนินการ

ทั้งนี้ พล.ต.อ. สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้มอบหมาย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ควบคุมกำกับดูแลการตรวจสอบและดำเนินคดี โดยมี พล.ต.ท.สุทิน ทรัพย์พ่วง ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นผู้ช่วย และมอบหมายให้ บช.ก. เร่งรัดดำเนินการ โดย มี พล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช รอง ผบช.ก. เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ร่วมดำเนินการกับ บก.ปอศ. มีผลการดำเนินคดี 1 ราย ผู้ต้องหา 4 คน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า เป็นบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์เป็นแบบเจ้ามือ ใช้เฟซบุ๊คชื่อ “สาวิตา รักชีพชอบ” โฆษณาชักชวนให้ประชาชนที่ร่วมโครงการฯ มาแลกรับเงินจากเจ้ามือโดยไม่ต้องมีการซื้อ

จากการตรวจสอบพบธุรกรรมต้องสงสัย มีการสแกนใช้สิทธิ์กับร้านขายของชำแห่งหนึ่งในเขต จ.สมุทรสาคร โดยประชาชนหลายรายมีภูมิลำเนา และที่อยู่ปัจจุบันห่างไกลจากร้านค้าดังกล่าวมาก บางรายอยู่ จ.เชียงใหม่, จ.สงขลา เป็นต้น แต่กลับมีการใช้จ่ายผ่านแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง กับแอพพลิเคชั่นถุงเงินของร้านค้าดังกล่าว ซึ่งตั้งอยู่ใน จ.สมุทรสาคร ประชาชนได้รับโอนเงินส่วนต่างจากเจ้ามือ จำนวน 80 – 100 บาท ต่อการทำธุรกรรมใช้จ่ายผ่านร้านดังกล่าว

โกงคนละครึ่ง

แฉกล โกงคนละครึ่ง

ต่อมาวันที่ 9 ธันวาคม 2563 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และผู้แทนจากธนาคารกรุงไทย ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านค้าขายของชำที่ ต.คอกระบือ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร พบ น.ส.สมปอง (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 62 ปี แสดงตนเป็นเจ้าของร้านขายของชำดังกล่าว และพบ นายสรัล (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี บุตรชายเจ้าของร้านดังกล่าว จากการตรวจสอบพบ

1. โทรศัพท์มือถือที่ใช้ในระบบ G Wallet จำนวน 5 เครื่อง
2. แท็บเล็ต iPad จำนวน 1 เครื่อง
3. คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค จำนวน 1 เครื่อง
4. บัญชีเงินฝากธนาคาร 6 เล่ม จึงได้ตรวจยึดไว้เป็นของกลางในคดี

จากการสอบสวนปากคำ น.ส.สมปอง เจ้าของร้าน การดำเนินการทั้งหมดนายสรัล บุตรชายเป็นผู้ดำเนินการ โดยนายสรัล ให้การยอมรับว่าได้ตกลงร่วมมือกับผู้ใช้เฟซบุ๊คชื่อ “สาวิตา รักชีพชอบ” และใช้ไลน์ชื่อ Jeerapot ในการติดต่อ และเมื่อได้รับเงินจากรัฐบาล ได้โอนเงินคืนให้กับเจ้ามือ ผ่านบัญชีธนาคาร ชื่อ นายจีรพจน์ (ขอสงวนนามสกุล) โดยทางร้านค้าจะได้ผลประโยชน์ 30 บาทต่อราย ส่วนผู้ใช้ไลน์ชื่อ Jeerapot ได้ 30 บาทต่อราย คนที่มาขายสิทธิจะได้เงิน รายละ 90 บาท

อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ลงพื้นที่สอบสวนปากคำประชาชน ที่ใช้สิทธิ์ผ่านร้านค้าดังกล่าวจำนวน 14 จุด ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ อาทิเช่น จ.ลพบุรี ,ชลบุรี ,ชัยภูมิ ,บุรีรัมย์ ,สุรินทร์ ,เชียงใหม่ ,สงขลา เป็นต้น และจากการสืบสวนสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน ตลอดจนการวิเคราะห์เส้นทางการเงินในคดี ทำให้ทราบว่า เจ้ามือ หรือ ผู้ใช้งานเฟซบุ๊คชื่อ “สาวิตา รักชีพชอบ” คือ นายจีรพจน์ (ขอสงวนนามสกุล) และ นางกนกภณณ์ (ขอสงวนนามสกุล)เป็นสามีภรรยากัน อยู่ใน จ.ลพบุรี

โกงคนละครึ่ง

ต่อมาในวันที่ 17 ธันวาคม 2563 จึงได้แจ้งข้อกล่าวหากับ น.ส.สมปอง (ขอสงวนนามสกุล) ,นายสรัล (ขอสงวนนามสกุล) , นายจีรพจน์ (ขอสงวนนามสกุล) และ นางกนกภรณ์ (ขอสงวนนามสกุล) ในความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342(1) อัตราโทษ จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ น.ส.สมปอง ให้การปฏิเสธ ส่วน นายสรัล ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา นายจีรพจน์ ให้การปฏิเสธ โดยให้การว่า ไม่รู้เรื่องมาก่อน

ส่วนนางกนกภรณ์ ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา โดยรับว่าร่วมกับนายสรัล ซึ่งนางกนกภรณ์ จะเป็นคนหาลูกค้าประชาชนผ่านเฟซบุ๊ค “สาวิตา รักชีพชอบ” จากนั้นจะนำข้อมูลมาล็อคอินผ่านแอพฯ เป๋าตังค์ สแกนใช้สิทธิ์ผ่านแอพฯ ถุงเงิน ร้านค้าของนายสรัล โดยไม่มีการซื้อขายจริง

จ่อฟันอีก 700 ราย

จากการตรวจสอบพบว่า ยังมีกลุ่มที่อาจจะเข้าข่ายกระทำความผิดในลักษณะนี้อีกกว่า 700 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจสอบและรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม ขณะนี้ ทางตำรวจ โดย “ผบ.ตร.” อยู่ระหว่างมีคำสั่งแต่งตั้งชุดปฏิบัติการสืบสวน เพื่อสนับสนุน ในการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ของบุคคล กลุ่มบุคคล ที่เกี่ยวข้องในภาพรวมก่อนว่ามีผู้ใด หรือมีเครือข่ายใดเกี่ยวข้องบ้าง

ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อาจจะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานฯ ซึ่งมีอยู่ในแต่ละจังหวัดไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน โดยจะให้นำแนวทางการสืบสวนสวนในภาพรวมของ บช.ก. และ ตร. ดังกล่าวไปใช้ เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ขอฝากประชาสัมพันธ์เตือนถึงพี่น้องประชาชนว่า แม้คดีฉ้อโกง จะมีอัตราโทษไม่มาก จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ 5 ปี /ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ 100,000 บาท ก็ตาม แต่การกระทำความผิดในแต่ละครั้ง จะถือว่าเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ หากมีการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวซ้ำๆ หลายครั้ง ก็จะได้รับโทษในแต่ละครั้งในทุกๆครั้ง เมื่อรวมแล้วอาจจะได้รับโทษจำคุก ถึง 10 – 20 ปี หรือมากกว่านั้น

โกงคนละครึ่ง

จึงขออย่าได้เข้าร่วมในการกระทำการทุจริตในโครงการฯ ดังกล่าว เพราะจะมีการตรวจสอบที่เข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายร้านค้าผู้ประกอบการหรือประชาชน เพื่อไม่ให้เป็นการเสียโอกาสของผู้อื่น จึงขอความร่วมมือประชาชนไม่ให้หลงเชื่อการชักชวนให้กระทำผิดเงื่อนไขโครงการ เพราะทั้งร้านค้าและประชาชนจะถูกตัดสิทธิ์ และจะถูกดำเนินคดีทุกรายซึ่งมีอายุความในการดำเนินคดีถึง 10 ปี

หากท่านพบพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโครงการ หรือพบพฤติกรรม โกงคนละครึ่ง สามารถแจ้งเบาะแสมาที่ [email protected] หรือส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยระบุ รายละเอียดของการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข และข้อมูลสำหรับการติดต่อกลับพร้อมหลักฐาน (หากมี) หรือที่ ตร. ที่เว็บไซต์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) http://pct.police.go.th/form.php

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า คดีนี้ตำรวจกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ ปอศ. เป็นผู้รับผิดชอบสอบสวนและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด โดยมีการจับกุมดำเนินคดีไปแล้ว 2 คดี ซึ่งพฤติกรรมกระทำผิดจะแถลงในช่วงบ่าย รวมถึงความคืบหน้า การดำเนินคดี กรณี ททท. ร้องเอาผิดผู้ประกอบการทุจริตโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ซึ่งเป็นการฉ้อโกงเป็นขบวนการ แต่อย่างไรก็ตามต้องดูในรายละเอียดด้วยว่าพฤติกรรมการกระทำความผิดของผู้ที่เข้าข่ายทุจริตแต่ละรายเป็นอย่างไร มีเจตนามากน้อยเพียงใด

ขณะที่ พล.ต.ต.ไมตรี ฉิมเฉิด ผบก.ปอศ. ระบุว่า คดีนี้กระทรวงการคลังในฐานะผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้เมื่อเดือนที่แล้ว หลังพบผู้กระทำความผิดจำนวนมาก โดยขณะนี้ฝ่ายสืบสวนมีการจับกุมผู้กระทำได้แล้ว ซึ่งเป็นร้านค้าในพื้นที่ย่านมหาชัย จังหวัดสุมรสาคร หลังพบว่ามีการทำเป็นขบวนการในการทุจริต มีผู้ที่เกี่ยวข้องแบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ ร้านค้า , คนชักชวน และประชาชนที่ร่วมการกระทำความผิด ส่วนความเสียหายยอมรับว่าไม่มาก เพราะธนาคารตรวจพบความผิดปกติได้ก่อน จึงสั่งอายัดเงินไว้ได้ทัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo