Economics

คนกรุงเตรียมตัว! ‘รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน’ จ่อขึ้นค่าโดยสาร 1 ม.ค. 64

คนกรุงเตรียมตัว! “รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน” หมดโปรฯ จ่อ ขึ้นค่าโดยสาร 4 สถานีในอัตรา 1 บาท เริ่มปีใหม่ 1 ม.ค. นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน จะปรับ ขึ้นค่าโดยสาร ตามสัญญาสัมปทานในอัตรา 1 บาท ในวันที่ 1 มกราคม 2564 โดยการคำนวณอัตราค่าโดยสารใหม่อยู่บนพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภค

รถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ขึ้นค่าโดยสาร

การปรับขึ้นราคาครั้งนี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 – 2 กรกฎาคม 2565 ส่งผลให้อัตราค่าโดยสารเริ่มต้นเพิ่มขึ้น 1 บาทต่อเที่ยว จากปัจจุบันอยู่ที่ 16 บาทต่อเที่ยว เป็น 17 บาทต่อเที่ยว อย่างไรก็ตาม เพดานค่าโดยสารสูงสุด 42 บาทต่อเที่ยว ในการเดินทางตั้งแต่สถานีที่ 12 ขึ้นไปไม่ได้เพิ่มขึ้น ยังคงใช้อัตราเดิม

นอกจากนี้ จะมีการปรับเพิ่มค่าโดยสาร รถไฟฟ้า ระหว่างการเดินทางจำนวน 4 สถานี ในอัตรา 1 บาท ดังนี้

  • สถานีที่ 1 อัตรา 17 บาท จากเดิม 16 บาท
  • สถานีที่ 4 อัตรา 24 บาท จากเดิม 23 บาท
  • สถานีที่ 7 อัตรา 31 บาท จากเดิม 30 บาท
  • สถานีที่ 10 อัตรา 38 บาท จากเดิม 37 บาท

MOT 2562 12 23 รวค.เปิดเดินรถสายสีน้ำเงิน ณ สถานีท่

สำหรับการปรับขึ้นค่าโดยสารครั้งนี้ เป็นการปรับขึ้นตามสัญญาสัมปทานทุกๆ 24 เดือน หรือ 2 ปี ซึ่งตามปกติจะต้องปรับขึ้นตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา

แต่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทาน ได้มีหนังสือ BEM/M/TKB/0026/63 ลงวันที่ 21 เมษายน 2563 แจ้งว่าจะตรึงค่าโดยสาร เพื่อเป็นการเยียวยาและแบ่งเบาภาระประชาชนในช่วงสถานการณ์วิกฤตจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีความยินดีที่จะสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมด้วยการคงอัตราค่าโดยสาร รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินไว้เท่ากับอัตราเดิม จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และจะใช้ค่าโดยสารใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

ในการคงอัตราค่าโดยสารตลอดระยะเวลาดังกล่าว เป็นการสนับสนุน BEM ในรูปแบบโปรโมชั่นแก่ผู้โดยสาร โดยไม่ต้องให้รัฐบาลชดเชยแต่ประการใด

S 83410946

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เส้นทาง ท่าพระ-บางซื่อ-หัวลำโพง-หลักสอง หรือ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ดำเนินการโดย BEM ซึ่งได้รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เริ่มก่อสร้างในปี 2542 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม 2547

ต่อมา รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ได้ก่อสร้างส่วนต่อขยายรอบกรุงเทพฯ จนเป็นตัว Q ครบลูป และเปิดบริการเต็มรูปแบบครบทุกสถานีเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยมีปัจจุบันทั้งหมด 38 สถานี ระยะทางรวม 48 กิโลเมตร โดยในอนาคตยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเพิ่มเติมอีก 4 สถานีช่วง บางแค-พุทธมณฑลสาย 4  ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo