Economics

สานพลังความร่วมมือ สร้าง ‘สกายวอล์ค’ เชื่อมขนส่งมวลชน สร้างประโยชน์มวลชน

เรื่องรถติด เป็นปัญหาที่อยู่กับ “กรุงเทพมหานคร” มาเป็นเวลายาวนาน และยิ่งหนักหนาสาหัสมากขึ้น เมื่อเมืองหลวงของไทย มีความหนาแน่นของผู้อยู่อาศัยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น ทำให้ภาครัฐ หรือแม้กระทั่งประชาชนคนทั่วไป ต่างพยายามหาทางที่จะช่วยทำให้การเดินทางในเมืองหลวงของประเทศ เป็นไปได้อย่างรวดเร็วขึ้น เพื่อช่วยลดเวลาที่ต้องเสียเปล่าไปบนท้องถนน และหนึ่งในทางเลือกที่ทุกฝ่ายมองว่าเป็นทางออกสำหรับเรื่องนี้ คือ “ระบบขนส่งมวลชน” โดยเฉพะาอย่างยิ่ง รถไฟลอยฟ้า (บีทีเอส) และรถไฟใต้ดิน (เอ็มอาร์ที) ที่กลายมาเป็นการเดินทางที่ได้รับความนิยมอย่างมากของคนเมืองกรุงในทุกวันนี้

S 44367899

อย่างไรก็ดี การเดินทางในบางเส้นทาง ที่ต้องใช้วิธีการต่อรถ จากบีทีเอส ลงไปหา เอ็มอาร์ที หรือจากเอ็มอาร์ที ขึ้นไปหาบีทีเอส ยังมีจุดที่สะดุดติดขัดอยู่บ้าง แนวคิด “สกายวอล์ค” หรือ “สะพานลอยเดินเท้า” จึงเกิดขึ้นมา  เพื่อให้เป็นการเชื่อมต่อการเดินทางเท้า ที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ที่เดินทางด้วยบีทีเอส และเอ็มอาร์ที มีความปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ

ปตท. จำกัด (มหาชน)  เล็งเห็นถึงความสำคัญในพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้มีความสะดวก และปลอดภัย ในเรื่องดังกล่าว จึงมีแนวคิดในการพัฒนา โครงการก่อสร้าง “สกายวอล์ค” เชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชน เพื่อสาธารณประโยชน์

โครงการนี้ ยังอยู่ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ 4 แห่ง  ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง และกรุงเทพมหานคร ที่สนับสนุนพื้นที่ก่อสร้าง และการเชื่อมต่อการเดินทางสู่รถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่สถานีลาดพร้าว และสายสีน้ำเงินที่สถานีพหลโยธิน

KTD 2846 Retouch Press scaled e1605089625337

เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ โครงการ สกายวอล์ค สายสีเขียวและสายสีน้ำเงิน เชื่อมระบบขนส่งมวลชนเพื่อสาธารณประโยชน์ จะเป็นส่วนหนึ่งในการรองรับการเดินทางของประชาชนจากศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตามแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบราง และนโยบายการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกำหนดให้บริเวณที่เป็นจุดตัดระบบขนส่งมวลชน เป็นบริเวณที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง

พื้นที่บริเวณโดยรอบนี้จะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่เชื่อมโยงเป้าหมายการเดินทางที่สำคัญ อาทิ สถานีกลางบางซื่อ รถไฟฟ้า สถานีขนส่งผู้โดยสารสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ และที่พักอาศัย

KTD 2740 scaled e1605089610640

การก่อสร้าง “สกายวอล์ค” สายสีเขียว เป็นการปรับปรุงสะพานลอยเดินเท้า ให้มีความสะดวก ทันสมัย และขยายพื้นที่ในการเดินให้กว้างขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณสะพานลอยจุดเชื่อมต่ออาคารสำนักงานใหญ่ ปตท. ด้านประตูทางออกอาคาร BOI ชั้น 2  ซึ่งจะมีการปรับปรุงทางขึ้นลงบริเวณป้ายรถเมล์อัจฉริยะของกรมทางหลวง ให้มีหลังคาคลุม เพื่อกันแดด และฝน ให้กับผู้เดินทางด้วยรถประจำทางด้วย

ต่อจากนั้นแนวเส้นทาง จะขนานไปกับสะพานลอยเดินเท้าข้ามถนนวิภาวดีรังสิต ที่มีอยู่เดิม ไปลงบริเวณด้านหน้าโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลลาดพร้าว โดยทางขึ้นลงจะอยู่ทางด้านขวาของสะพานตามเดิม ซึ่งกรมทางหลวงจะดำเนินการก่อสร้างทางสกายวอลค์เพิ่ม เพื่อข้ามถนนหอวัง ลดความเสี่ยงในการเดินข้ามถนน และ ปตท. ก่อสร้างทางเดินเท้า ที่มีหลังคาคลุม บนทางเดินตลอดถนนหอวัง เพื่อเชื่อมต่อไปยัง บีทีเอสสถานีห้าแยกลาดพร้าวได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

สำหรับ “สกายวอล์ค” สายสีน้ำเงิน จะเป็นการเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนสู่เอ็มอาร์ที สายสีน้ำเงิน สถานีพหลโยธิน และบีทีเอส สายสีเขียว สถานีห้าแยกลาดพร้าว

KTD 2586

จุดเริ่มต้นการก่อสร้างทางเดิน ที่มีหลังคาคลุม จะอยู่บริเวณด้านข้างสถานีบริการน้ำมัน ปตท. สำนักงานใหญ่  ผ่านหน้าองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ไปตามแนวทางเดินเท้า จนถึงด้านหน้าทางคู่ขนานถนนวิภาวดีรังสิต และเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างเป็นทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ไปเชื่อมต่อกับสะพานลอยเดิม โดยจะมีการออกแบบและปรับปรุงทางเดินและหลังคาให้สะดวก ทันสมัย และปลอดภัย

จากนั้นลดระดับลงสู่ทางเดินที่มีหลังคาคลุม เข้าไปบริเวณสวนสมเด็จย่า 84 โดยมีแนวคิดการออกแบบทางเดิน ให้มีความกลมกลืนกับทัศนียภาพของสวนโดยรอบ

การออกแบบจะคำนึงถึงการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะมีการนำระบบโซลาร์เซลล์ เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ มาเป็นพลังงานไฟฟ้า เข้ามาใช้ผลิตไฟส่องสว่างบริเวณสะพานลอย เพื่ออำนวยความสะดวก และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ประชาชนที่สัญจรไปมาในเวลากลางคืน

การพัฒนาโครงการ “สกายวอล์ค” สายสีเขียวและสีน้ำเงิน จึงเป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมโยงการเดินทางทุกระดับของประชาชนให้มีความสะดวกสบาย ปลอดภัย ลดเวลาการเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ เติมเต็มคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างสมดุล

KTD 2896 scaled e1605089666433

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo