Economics

รู้ไว้ก่อนจ่ายหนี้! กฎหมายบอกชัด หอบเหรียญไปจ่ายหนี้ได้ไม่เกินกี่บาท

รู้ไว้ก่อนจ่ายหนี้! กฎหมายบอกชัด หอบเหรียญไปจ่ายหนี้ได้ไม่เกินกี่บาท พร้อมเปิดค่าธรรมเนียมการนับเหรียญแต่ละธนาคาร เช็คที่นี่เลย

รู้หรือไม่! “เหรียญ” สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย แต่ต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด แล้วเหรียญแต่ละชนิดสามารถใช้ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกินกี่บาท ที่นี่มีคำตอบ!

เหรียนฐชำระหนี้ cover 01

  • เหรียญ 25 หรือเหรียญ 50 สตางค์ ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 10 บาท (จ่ายรวมได้ทั้ง 2 เหรียญ)
  • เหรียญ 1 บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 500 บาท
  • เหรียญ 2 บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 500 บาท
  • เหรียญ 5 บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 500 บาท
  • เหรียญ 10 บาท ชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท

ซึ่งการที่มีกฎหมายกำหนดเช่นนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกลั่นแกล้ง เช่น ขนเหรียญไปจ่ายค่าปรับ จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ จ่ายเจ้าหนี้

เหรียนฐชำระหนี้ 01

อย่างไรก็ตาม หากจะนำเหรียญไปฝากธนาคาร จะมีหลักเกณฑ์คิดค่านับเหรียญของเราแตกต่างกันไปแต่ละธนาคาร ยกตัวอย่างเช่น

  • ธนาคารออมสิน ฝากฟรีไม่เกิน 3,000 บาท ถ้าเกินคิดค่าธรรมเนียม 1%
  • ธนาคารกรุงเทพ และธนาคกรุงไทย ฝากฟรีไม่เกิน 2,000 บาท ถ้าเกินคิดค่าธรรมเนียม 1%
  • ธนาคารกสิกรไทย ฝากฟรีไม่เกิน 500 เหรียญ ถ้าเกินคิดค่าธรรมเนียม 1%
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ มีเครื่องฝากเหรียญอัตโนมัติในบางสาขา ฝากได้ 5,000 บาท/ครั้ง/วัน หากมากกว่านั้นต้องฝากที่เคาน์เตอร์ หากฝากเงินตั้งแต่ 200 เหรียญขึ้นไป คิดค่าธรรมเนียม 2%
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ฝากฟรีไม่เกิน 100 เหรียญ ถ้าเกินจะคิดค่าธรรมเนียม 2%

ทั้งนี้ การที่ธนาคารต้องคิดค่าธรรมเนียม ก็เพราะยังต้องแบกรับภาระจัดการเหรียญ ทั้งการจัดเก็บและขนส่งเหรียญ ที่แตกต่างจากธนบัตร ทั้งนี้เราต้องคัดแยะเหรียญแต่ละประเภทใส่ถุงในจำนวนหลักร้อย เช่น เหรียญ 1 บาทถุงละ 100 เหรียญ เพื่อความสะดวกยิ่งขึ้นในการนับ

อย่างไรก็ตาม มีอีกวิธีหนึ่งที่ สะดวก ง่าย ใกล้ตัว เพราะร้านสะดวกซื้อ หรือร้านค้าใกล้บ้าน ก็เปิดให้ลูกค้าเอาเหรียญต่างๆ รวมทั้งเศษสตางค์ มาแลกเป็นธนบัตรโดยไม่คิดค่าบริการในการนับแลกเหรียญ เพราะร้านเหล่านี้ต้องใช้เหรียญเพื่อทอนเงินให้ลูกค้าจำนวนมาก นี่ก็เป็นทางเลือกที่สะดวกโดยที่เราไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ธนาคาร

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo