Economics

นายกฯ พร้อมประชุม ‘ศบค.เศรษฐกิจ’ นัดแรกพรุ่งนี้ จับตาความก้าวหน้า

พรุ่งนี้ประชุม “ศบค.เศรษฐกิจ” นัดแรก นายกฯ เผยเตรียมพร้อมไว้ระดับหนึ่งแล้ว รอดูความก้าวหน้า รองโฆษกรัฐบาลย้ำ ทำงานไม่ซ้ำซ้อน

วันนี้ (18 ส.ค. 63) ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมแนะนำ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

โดยให้เน้นการทำงานในรูปแบบ New Normal ตามนโยบาย “รวมไทยสร้างชาติ” ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ให้มีการพบปะเพิ่มการสื่อสารออนไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้ถึงนโยบายของรัฐบาลทั้งที่ดำเนินการแล้วและในอนาคตให้มากยิ่งขึ้น

ศบค.เศรษฐกิจ

“ศบค.เศรษฐกิจ” นัดแรก

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า วันพรุ่งนี้ (19 ส.ค. 63) จะมีการประชุมของศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) หรือ ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ หรือศบค.เศรษฐกิจ ครั้งแรก

โดยเป็นการทำงานในรูปแบบของอนุกรรมการ เข้าสู่คณะกรรมการ แล้วก็มาเสนอที่ทำเนียบ ให้ตนเป็นประธานการประชุม คล้ายคลึงกับ ครม.เศรษฐกิจ เดิม แต่จะทำงานให้มันกว้างขึ้น มีเพิ่มอนุกรรมการเพื่อให้ครอบคลุมสมาคมและส่วนต่างๆ เป็นรายกิจกรรม รายภาคส่วน แล้วก็นำเสนอที่ประชุม ทั้งนี้ ได้เตรียมการประชุมไว้มากพอสมควรแล้ว พรุ่งนี้ก็จะได้รับทราบว่ามีอะไรก้าวหน้าบ้าง

นายกรัฐมนตรียังเน้นย้ำว่า  สิ่งสำคัญที่สุด คือ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องโดยเฉพาะการบริโภค การจ้างงาน ซึ่งมีกระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพในการจัด Expo เพราะมีทั้งรัฐบาลและเอกชน เพื่อบริการจัดหางานกว่าหลายแสนตำแหน่ง ซึ่งต้องสร้างเป็นความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังย้ำถึงความสำคัญในการลงทุนจากภาครัฐ ภาคเอกชนและต่างชาติ รวมทั้งการแก้ปัญหารายกลุ่มกิจการ ซึ่งศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจพร้อมที่จะทำงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ

GettyImages 1212162146

ครม. มีมติประกันราคาสินค้าเกษตร

นายกรัฐมนตรีเปิดเผยต่อว่า มติ ครม. เห็นชอบการประกันราคาสินค้าต่าง ๆ เช่น ผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งการปลดล็อคเพื่อช่วยกลุ่มผู้เดือดร้อน อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังต้องคำนึงงบประมาณที่มีอยู่ รวมถึงงบประมาณจาก พ.ร.ก. กู้เงินฯ ที่จะต้องมาบริหารจัดการช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึง

ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งบางประเทศเกิดการแพร่ระบาดซ้ำ เนื่องจากแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่รวดเร็วเกินไป

แต่ไทยได้ดำเนินการทยอยเปิดบางกิจการ/กิจกรรมที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระดับฐานราก เช่น การท่องเที่ยว การรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง Medical Hub ที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมือของภาคประชาชนในพื้นที่ วอนทุกฝ่ายเข้าใจสถานการณ์ฝ่าวิกฤตประเทศไทยในเวลานี้ไปด้วยกัน

IMG 20200715182941000000

ย้ำอีกรอบ! ทำงานไม่ซ้ำซ้อน

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ มั่นใจว่า การตั้ง ศบค.เศรษฐกิจ จะแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ได้อย่างตรงจุด รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยไม่ซ้ำซ้อนกับการทำงานของกระทรวงและหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ

แต่เป็นการระดมความเห็น ความต้องการในระยะจำเป็นเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงตามสถานการณ์ แก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างทันท่วงที เพื่อลดผลกระทบในระยะกลางและระยะยาวด้วย

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า นอกจากนี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ ยังเป็นข้อเสนอจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น กระทรวง หรือ ภาคธุรกิจ โดยมองตรงกันว่า จะช่วยให้การทำงานด้านการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น สามารถมอบถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างรอบด้านมากขึ้น

ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ จะมีประชุมนัดแรกในวันพรุ่งนี้มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่ประชุมจะมีการประเมินแนวโน้มของผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ พิจารณาข้อเสนอของกระทรวงต่างๆ รวมถึงภาคธุรกิจ เชื่อว่าจะได้เห็นทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ดียิ่งขึ้นในเวลาอันใกล้นี้

GettyImages 85378282

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุด สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เพิ่งเปิดเผยภาวะ เศรษฐกิจไทย ไตรมาส 2/2563 ติดลบ 12.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยครึ่งปีแรก 2563 เศษฐกิจไทยติดลบ 6.9% 3

สาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้หลายประเทศ ใช้มาตรการล็อกดาวน์ ทำให้กระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ และ การเดินทางข้ามประเทศ

อย่างไรก็ตาม ประเมินว่า ทั้งปีจีดีพีจะติดลบ 7.5% ภายใต้สมมติฐาน การแพร่ระบาดรอบ 2 ที่อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ มีการจำกัดการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จนถึงสิ้นปี 2563 แล ะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีน จะไม่ทวีความรุนแรง หรือมีมาตรการกีดกันทางการค้าเพิ่มขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo