Economics

หางานมาทางนี้! เปิดรับสมัครงานระยะสั้น-พาร์ทไทม์กว่า 4 หมื่นอัตรา

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย โดยหลายคนต้องตกงาน ถูกลดเวลาทำงาน หรือได้รับค่าจ้างลดลง ขณะที่การ รับสมัครงาน ก็กลับน้อยลงตามไปด้วย

ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า ของรัฐบาล จึงได้ประชาสัมพันธ์งานรวมเกือบ 36,000 อัตรา เพื่อเป็นโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และกำลังมองหางานอยู่

รับสมัครงาน

จ้างงานระยะสั้น 3 เดือน

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานในสังกัด 70 แห่งทั่วประเทศ จัดโครงการ “อว. สร้างงานระยะที่ 2” เป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2563 รับสมัครงาน จำนวน 32,718 อัตรา อัตราค่าจ้างเดือนละ 9,000 บาท
ล่าสุดหน่วยงานทั้ง 70 แห่ง อยู่ระหว่างเปิดรับสมัครงาน ผู้ที่สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ หรือติดต่อได้ที่สำนักงานบริหารโครงการตามนโยบาย โทร 02 610 5330-31 และเว็บไซต์ของหน่วยจ้างแต่ละแห่งซึ่งกำลังทยอยลงประกาศ

รับสมัคงาน

รับสมัครงาน พาร์ทไทม์

ด้านใครที่กำลังมองหางานพาร์ทไทม์ (part – time) ในช่วงนี้ ก็มีข่าวล่าจาก กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน แจ้งว่า งานพาร์ทไทม์ กลุ่มแรงงานด้านการผลิตเป็นที่ต้องการมากที่สุด ขณะนี้มีตำแหน่งงานที่เปิด รับสมัครงาน หลายตำแหน่ง รวมกว่า 3,134 อัตรา ประกอบด้วย

  • แรงงานด้านการผลิต จำนวน 716 อัตรา
  • เจ้าหน้าที่สำนักงานอื่น ๆ จำนวน 696 อัตรา
  • แรงงานในด้านการผลิตต่างๆ, แรงงานทั่วไป จำนวน 596 อัตรา
  • พนักงานบริการลูกค้า จำนวน 289 อัตรา
  • พนักงานจัดส่งสินค้าอื่น ๆ จำนวน 215 อัตรา
  • พนักงานขายสินค้า (ประจำร้าน), พนักงานขายของหน้าร้าน จำนวน 145 อัตรา
  • พนักงานขาย และผู้นำเสนอสินค้าอื่น ๆ จำนวน 141 อัตรา
  • พนักงานบริการอื่น ๆ จำนวน 126 อัตรา
  • ช่างอัญมณี และช่างประดิษฐ์เครื่องประดับอื่น ๆ จำนวน 109 อัตรา
  • พนักงานขับรถยนต์ จำนวน 101 อัตรา

ประชาชนที่สนใจทำงานพาร์ทไทม์สามารถสมัครงานด้วยตนเอง ณ อาคาร 3 ชั้นหน้ากระทรวงแรงงาน, สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ หรือสมัครงานผ่าน เว็บไซต์ หากต้องการดูตำแหน่งงานว่าง หรือติดตามข่าวสารเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ เสิร์ฟงานด่วน และสายด่วน 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน

MRT รถไฟฟ้า11

เอกชนกังวลเรื่องจ้างงาน

ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ออกมาทบทวนประมาณตัวเลขจีดีพีปีนี้ จะติดลบเพิ่มขึ้นจากครั้งล่าสุดที่คาดว่าจะติดลบ 5% เพิ่มเป็นติดลบ 6% จากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย ที่ยังน่าเป็นห่วง รวมถึงปัญหาการจ้างงานที่เพิ่มสูงขึ้น

โดยการว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นมาแตะระดับ 1 ล้านราย จากเดิมที่อยู่ระดับ 4 แสนราย ซึ่งการที่มีคนว่างงานเพิ่มขึ้น จะกระทบต่อกำลังซื้อที่ลดลงไป และทำให้การจับจ่ายใช้สอยลดลง

เช่นเดียวกับเวที คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เดือนมิถุนายน 2563 ซึ่งมองว่า เศรษฐกิจไทย อาจจะหดตัวในกรอบ -3 ถึง -5 %และการส่งออกอาจจะหดตัว -5 ถึง – 10 % ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าอยู่ในกรอบ 0.0-1.5%

อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์โควิดในประเทศจะดีขึ้น จนภาครัฐคลายล็อกให้กิจการต่าง ๆ กลับมาเปิดดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม (เฟส 1-3) รวมทั้งมีมาตรการเยียวยาเพื่อบรรเทาผลกระทบหลายด้าน ทำให้เครื่องชี้ เศรษฐกิจไทย ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว แต่กำลังซื้อครัวเรือนที่อ่อนแอและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ด้านเศรษฐกิจโลกก็อยู่ในภาวะถดถอยและมีความเสี่ยงจากสงครามการค้า

ดังนั้น สถานการณ์การว่างงานในประเทศ จึงยังอยู่ในภาวะที่น่ากังวล ซึ่งที่ประชุม กกร. เห็นว่า ภาครัฐ ควรเร่งขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมโดยเร็ว เน้นโครงการที่เพิ่มเม็ดเงินลงสู่เศรษฐกิจฐานราก และ ฟื้นฟูธุรกิจท้องถิ่น เพื่อสร้างงานอย่างครอบคลุมทั่วประเทศ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo