Economics

‘บ้านปู’ คาดอีก 6 ปี ตลาดโซลาร์ทั่วโลก พุ่งถึง 4,766 กิกะวัตต์

“บ้านปู” คาดอีก 6 ปี ตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลก จะพุ่งถึง 4,766 กิกะวัตต์ พร้อมอัพเดท 5 เทคโนโลยี “พลังงานโซลาร์” ตอบโจทย์ Energy Disruption สู่เทรนด์ 3Ds 

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีบทบาทกับการใช้

ทุกวันนี้แวดวงพลังงานทั่วโลกกำลังก้าวสู่ยุค ‘เอนเนอร์จี ดิสรัปชัน’ (Energy Disruption) ที่การใช้พลังงานรูปแบบเดิมๆ กำลังถูกพลิกโฉมสู่เทรนด์ 3Ds ได้แก่

1. Decarbonization การใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริมให้การผลิตพลังงานสะอาดขึ้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

2. Decentralization การกระจายตัวของแหล่งผลิต และจำหน่ายพลังงาน ที่ภาคเอกชน ชุมชน และครัวเรือนสามารถติดตั้งแหล่งผลิตพลังงาน อาทิ โซลาร์รูฟท็อป หรือโรงไฟฟ้าพลังงานโซลาร์ เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้และนำไปจำหน่ายต่อได้ หากมีนโยบายภาครัฐสนับสนุนจะช่วยให้การกระจายตัวนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

3. Digitalization ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยี จะเข้ามาปลดล็อกการตรวจสอบ ควบคุม และบริหารจัดการการใช้งานพลังงานสะอาดให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ Fortunebusinessinsights.com ระบุว่าตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกในปี 2569 จะมีขนาดถึง 4,766 กิกะวัตต์

‘บ้านปู เน็กซ์’ บริษัทลูกของบ้านปู จำกัด (มหาชน) รวบรวม 5 เทคโนโลยีที่จะมีบทบาท กับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ได้แก่ อินเทอร์เน็ตออฟติงส์ ระบบไมโครกริด ระบบกักเก็บพลังงาน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และบล็อกเชน

นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตัด

นางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด กล่าวว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากภาคเอกชนที่เริ่มเห็นความสำคัญ และตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการส่งเสริมจากภาครัฐ ที่ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็น 6,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2579

บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จึงมุ่งขยายพอร์ต ธุรกิจพลังงานสะอาด ให้ตอบเทรนด์การใช้พลังงานของโลกในอนาคต โดยนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาผสานเข้ากับระบบบริหารจัดการพลังงาน

สำหรับ 5 เทคโนโลยีที่บ้านปูฯ นำมาเสริมศักยภาพให้กับโซลาร์โซลูชัน ประกอบด้วย

1.อินเทอร์เน็ตออฟติงส์ (Internet of Things – IoT) เทคโนโลยีที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งบ้านปูฯ นำ IoT มาใช้ในการบริหารจัดการระบบการทำงานของอุปกรณ์ และช่วยเสริมบริการหลังการขายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเชื่อมต่อข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และนำไปแสดงผลให้แก่ 2 ส่วน

  • ลูกค้าผู้ใช้งาน โดยบ้านปูฯ ได้พัฒนาโมบาย แอปพลิเคชันแสดงข้อมูลต่างๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้น ลูกค้าสามารถตรวจสอบการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ ดูข้อมูลกำลังการผลิตไฟฟ้า และข้อมูลการประหยัดไฟในแต่ละวัน พร้อมอัพเดทการแจ้งเตือนต่างๆ รวมถึงการคำนวณปริมาณ CO2 ที่ลดลงจากการใช้โซลาร์ของลูกค้าเทียบเท่าปริมาณการประหยัดน้ำ และการปลูกต้นไม้
  • เพิ่มศักยภาพในการบริการหลังการขาย โดยทีมวิศวกรและทีมบริการหลังการขาย สามารถได้รับข้อมูลการทำงานของระบบ พฤติกรรมการใช้ไฟของแต่ละไซต์ รวมถึงความผิดปกติต่างๆ แจ้งเตือนปัญหาแบบเรียลไทม์ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

2.ระบบไมโครกริด (Microgrid) ระบบไฟฟ้าที่สามารถจ่ายไฟฟ้าแบบอิสระ โดยไม่ต้องเชื่อมโยงกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า หรือทำงานขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าเดิม

ทั้งนี้บ้านปู ได้นำระบบไมโครกริดแบบเคลื่อนที่ ไปใช้เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าในงานไลฟ์สไตล์อีเว้นท์ต่างๆ เช่น คอนเสิร์ต งานเทศกาล เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้พลังงานสะอาดให้แก่คนไทย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการนำระบบไมโครกริดไปใช้ในโครงการพื้นที่อุตสาหกรรม และ Smart City บางแห่งด้วย

ระบบกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์

3.ระบบกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ (Energy Storage System) หัวใจสำคัญ ที่จะมาช่วยยกขีดความสามารถ ด้านการบริหารจัดการพลังงานโซลาร์ เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งกักเก็บพลังงานสำรองไว้ใช้ในเวลากลางคืนแล้ว ยังช่วยเพิ่มเสถียรภาพของการใช้พลังงานให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงช่วยกระจายพลังงานให้เหมาะสมกับการใช้งานในช่วงต่างๆ

โดยบ้านปู ร่วมมือกับบริษัท ดูราเพาเวอร์ โฮลดิ้งส์ พัฒนาโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในเมืองซูโจว (Suzhou) สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมนำความเชี่ยวชาญด้านพลังงานมาพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับกลุ่มที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและกลุ่มที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีบทบาทกับการใช้1

4. เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) ช่วยประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาล 

5. บล็อกเชน (Blockchain) เป็นเครือข่ายเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้ (Peer-to-peer Network) ทำให้สามารถซื้อขายไฟฟ้าได้โดยตรงไม่ผ่านคนกลาง

โดยปัจจุบันประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ริเริ่มโครงการที่ให้ผู้บริโภคสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองและสามารถขายให้ระหว่างกันได้ผ่านระบบบล็อกเชน

“เชื่อว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ จะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างสมาร์ทซิตี้ และโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) บ้านปู ก็จะเดินหน้าขยายพอร์ตธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง อาทิ ขยายธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle-EV) ระบบกักเก็บพลังงาน และขยายพอร์ตโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และพลังงานลม เพื่อผลักดันให้ทุกภาคส่วนหันมาใช้พลังงานสะอาดกันมากขึ้น ” 

Avatar photo