Economics

จุดยืนเดียวกัน! สธ. ประสานเสียงปชช.-นักวิชาการ-ฝ่ายค้าน ‘ต้าน CPTPP’ เข้าครม.พรุ่งนี้

ตามที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการ นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบให้ไทยยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงเข้าร่วมเป็น ภาคีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค (CPTPP) ในการประชุมครม. วันพรุ่งนี้ (28 เม.ย.)นั้น

94428390 3196844680326330 8592681893600690176 o

โลกออนไลน์ได้เกิดกระแสคัดค้านการเคลื่อนไหวดังกล่าว และได้มีการชุมนุมออนไลน์ “Mob From Home” ขึ้นมา ท่ามกลางเสียงกล่าวหาว่า ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลดำเนินการลักไก่ ฉวยโอกาสในช่วงเวลาที่ประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤติจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เสนอเรื่องดังกล่าว ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นักการเมืองฝ่ายค้าน และประชาชนทั่วไปเท่านั้น แม้กระทั่งหน่วยงานรัฐอย่างกระทรวงสาธารณสุข ก็แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วมใน CPTPP

สธ.ไม่สนับสนุน

โดยวันนี้ (27 เม.ย.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้ผู้บริหารกระทรวง ทำหนังสือชี้แจงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไทยตัดสินใจเป็นสมาชิก CPTPP โดยให้มีการระบุให้ชัดว่า กระทรวงสาธารณสุข ไม่สนับสนุนให้ไทยเข้าเป็นสมาชิก CPTPP หลังจากที่ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารของกระทรวง และผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เพื่อพิจารณาผลกระทบในเรื่องนี้แล้ว

“ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผมไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และจะนำเสนอข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเต็มไปด้วยข้อห่วงใยและความกังวลที่จะมีผลกระทบต่อระบบการผลิตยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ จะต้องนำมาใช้ดูแลรักษาชีวิตและสุขภาพของคนไทย ให้ที่ประชุมครม.วันที่ 28 เมษายน ทราบ แต่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าครม.จะพิจารณาตัดสินใจอย่างไร แต่ข้อห่วงใยและความกังวลใจของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งเรื่องผลกระทบต่อการผลิตยา  เป็นความมั่นคงด้านสาธารณสุขไทย น่าจะเป็นข้อมูลสำคัญ สำหรับการพิจารณาของครม.”

อนุทิน 3

‘จุรินทร์’ ยอมถอน 

ขณะเดียวกัน เฟซบุ๊กเพจ FTA Watch ซึ่งเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวในเรื่องการค้าเสรี ก็ได้โพสต์ข้อความว่า ด่วน..ชุมนุมออนไลน์ได้ผล !

แหล่งข่าวใกล้ชิดกับนาย จุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แจ้งต่อเอฟทีเอ ว็อทช์ว่า ได้สั่งถอนวาระเรื่อง CPTPP ออกจากวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2563 แล้ว

94553791 3197588070251991 3553836290682126336 n

พิธาร่ายยาว ‘เสียอธิปไตยศก.’

ในจำนวนบุคคลที่ออกมาคัดค้านเรื่องนี้ ยังรวมถึง นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเพจ “Pita Limjaroenrat – พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เรียกร้องให้รัฐบาลฟังเสียงประชาชน และพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ในการเข้าร่วมข้อตกลง ที่นายพิธา ระบุว่าเป็นการยอมให้ประเทศไทยเสียอํานาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจ โดยมีเนื้อหาว่า

“ก้าวไกล” เบรก CPTPP “อุ้มทุนหนา ฆ่าทุนน้อย” พิจารณาดีๆ-อย่าได้ไม่คุ้มเสีย

สืบเนื่องจากการที่ ครม.กำลังจะหารืออนุมัติให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก CPTPP หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership (ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก) ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบหลายอย่าง โดยรวมแล้วเห็นได้ชัดว่าจะได้ไม่คุ้มเสีย และเรื่องนี้ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน รัฐควรต้องฟังเสียงประชาชนมากกว่านี้ ใช้เวลาพิจารณาให้รอบคอบ

ประการแรกคือ ประเทศสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกไปแล้ว หากไทยเข้า CPTPP ตลาดที่ไทยจะได้เพิ่มหากเป็นสมาชิก คือ ประเทศเม็กซิโกและแคนาดาเท่านั้น ขณะที่อีก 9 ประเทศสมาชิกที่เหลือนั้น ไทยมีข้อตกลงการการค้าเสรี FTA แล้วทั้งหมด ผมอยากให้พิจารณาว่าเพราะเหตุุใดไทยถึงต้องเข้าร่วมในลักษณะนี้ ควรจะพิจารณาให้ถี่ถ้วน ว่าจะดีกว่าหรือไม่ถ้าทำ bilateral agreement กับเม็กซิโกและแคนาดา เพื่อที่จะได้ไม่ต้องขี่ช้างจับตั๊กแตน

94252883 2578719608901334 3691038299398340608 o

สมคิด  รองนายกรัฐมนตรี ผู้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แจงว่า หากไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก CPTPP คาดว่าจีดีพีจะเพิ่มขึ้น 0.12% ซึ่งคิดเป็นมูลค่าน้อยมาก เทียบกับการเข้าเป็นสมาชิกครั้งอื่นๆ ผมคิดว่าครั้งนี้จะได้ไม่คุ้มเสีย การดึงจีดีพีขึ้นมีหลายวิธี ตกลงกันได้หลายแบบ ไม่ควรจะต้องยอมให้ประเทศไทยเสียอํานาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจถึงขั้นนี้

หากเข้าไปดูในรายละเอียดแล้ว มีข้อน่ากังวลเกี่ยวกับการผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ ต้นทุนของเกษตรกร ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางยา รวมถึงว่าการที่นักลงทุนต่างชาติจะสามารถฟ้องรัฐบาลไทยผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และอื่นๆ อีกมากมาย

ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ไม่มีข้อบังคับให้รัฐบาลต้องการขออนุมัติกรอบเจรจาจากรัฐสภาเพื่อไปเจรจาทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ขาดการตรวจสอบจากนิติบัญญัติ ตัดการมีส่วนร่วมของประชาชน มีเพียงกลไกให้รัฐสภาเห็นชอบเมื่อเจรจาแล้วเสร็จ เพื่อลงนามรอการอนุมัติตามเท่านั้น ทำให้เรื่องที่ใหญ่ขนาดนี้ จะได้รับการอนุมัติไปง่ายๆ นี่คือหนึ่งในปัญหาที่เป็นรูปธรรม แสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญนี้มีปัญหาอย่างไร

ผมและพรรคก้าวไกล ขอย้ำว่ารัฐควรต้องมารับฟังเสียงจากภาคประชาชนให้มาก และเปิดให้สภาได้ถกเถียงกันในรายละเอียด ในสถานการณ์ชุลมุนเช่นนี้ รัฐอย่าฉวยโอกาสเพื่อที่จะได้ “อุ้มทุนหนา ฆ่าทุนน้อย”

ดาหน้าต้าน ‘CPTPP’

นอกจากนี้ ยังมีบุคคลมีชื่อเสียงจำนวนมากที่ออกมาคัดค้านเรื่องนี้ อาทิ ผศ.ดร.สมชาย รัตนชื่อสกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ที่ระบุว่า “CPTPP” คือ ลูกกวาดสอดไส้ไซยาไนด์ พร้อมชี้ว่า คนที่จะเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส หากไทยเข้าร่วมข้อตกลงนี้ คือ “เกษตรกรไทย”

94355463 3021752271196607 5649035188664008704 o

ขณะที่ อาจารย์ยักษ์ หรือ นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Wiwat Salyakamthorn ระบุว่า “กสิกรรมธรรมชาติทั่วประเทศร่วมคัดค้าน” พร้อมแชร์ โปสเตอร์ซึ่งเผยแพร่โดยมูลนิธชีววิธี หรือไบโอไทย มีข้อความว่า“เก็บรักษาพันธุ์พืชไปปลูกต่อ ไม่ใช่อาชญากรรม หยุด UPOV1991″, ” คัดค้านการเข้าร่วม CPTPP เพื่อประโยชน์บรรษัท ทำลายความมั่นคงทางอาหาร”

ก่อนหน้านี้ นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็ได้เฟซบุ๊กไลฟ์ วิจารณ์รัฐบาลว่าเป็นรัฐบาลสิ้นคิด ไม่เคยทำประโยชน์ จะอนุมัติให้ประเทศไทยไปเข้า CPTPP ถือเป็นการทำร้ายประชาชนและประเทศชาติโดยตรง

Avatar photo