Economics

SCB CIO ชี้’โควิด-19′ โอกาสนักลงทุน หุ้นปัจจัยพื้นฐานดี-สินทรัพย์สภาพคล่อง

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงเกินคาด ส่งผลให้บรรดานักวิเคราะห์และหน่วยงานต่างๆ ที่เคยประเมินไว้ว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะไม่มาก ต้องประเมินสถานการณ์ใหม่ รวมถึง บริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCB CIO) มองว่าปัจจุบันไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาวะ “เศรษฐกิจชะลอตัว” ไม่ได้อีกต่อไป และมีความเป็นไปได้ที่จะเกิด “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” ในหลายประเทศ

ทั้งนี้ SCB CIO มองว่ามีโอกาสเกิดได้ 2 รูปแบบ โดยเหตุการณ์ในแต่ละกรณีจะเป็น ดังนี้

Slow

สำหรับกรณีภาวะการแพร่ระบาดลดความรุนแรงลง (Slow down) มองว่า ไตรมาส 1 จำนวนผู้ติดเชื้อน้อยลงมากในจีน ผู้ป่วยในจีนรักษาหายเป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัว จนถึงไตรมาส 4 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกสามารถกลับมาดำเนินได้ปกติ

อีกกรณีคือ สถานการณ์รุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยไตรมาสแรก ทั่วโลกยังมีการแพร่กระจายไวรัสเพิ่มขึ้นสูง ตัวเลขเศรษฐกิจฝั่งเอเชียและยุโรปออกมาแย่ จนถึงไตรมาส 4 ของปีนี้ ที่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจทั่วโลกยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงปี 2564

recession

สำหรับสมมติฐานที่ SCB CIO นำมาประมาณการนั้นมาจากงานวิจัย 2 ด้าน ดังนี้

1. อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการแพร่กระจายไวรัส

งานวิจัยของ Sajadi , Mao Wing และ Jingyuan Wang ได้ออกงานวิจัยและมีหลักฐานว่าเรื่องอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นมีผลต่อการที่ไวรัสแพร่กระจาย โดยผลลัพธ์พบว่า อุณหภูมิที่ไวรัสแพร่ได้เร็วที่สุดคือ 8.72 องศาเซลเซียส และช่วงที่ไวรัสแพร่กระจายได้ดี คือช่วงอุณหภูมิ 6-12 องศาเซลเซียส ทำให้คาดการณ์ว่าไวรัสโควิด-19 จะยังแพร่กระจายในยุโรปและสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 และจะเริ่มชะลอลงในปลายไตรมาส 2 จากการที่อุณหภูมิในประเทศเหล่านั้นสูงขึ้น

SCB COVID 19 2

2. วิธีการรับมือการแพร่ระบาด

สำนักพิมพ์ Washington post ได้ศึกษาจากจากข้อมูลของ WHO และ NCBI และทำการจำลองการแพร่กระจายไวรัส โดย กรณีที่มีการกักตัว (Quarantine) ทันทีไวรัสจะแพร่กระจายจะมีผู้ติดเชื้อ 193 เสียชีวิต 7 คน และจบลงเพียง 7 สัปดาห์ สำหรับกรณีที่ไม่มีการกักตัว แต่ใส่หน้ากากและถุงมือจะมีผู้ติดเชื้อ 784 เสียชีวิต 14 คน และจบลงเพียง 18 สัปดาห์

ซึ่งประเทศจีนมีการใช้มาตรการทั้ง 2 ด้านนี้สำหรับเมืองอู่ฮั่น โดยใช้เวลาประมาณ 10 สัปดาห์จึงสามารถควบคุมโรคได้ โดยเรามองว่าสำหรับต่างประเทศนั้นไม่สามารถทำการกักตัวหรือปิดเมืองได้มีประสิทธิภาพเท่ากับประเทศจีน จึงคาดการณ์ว่าจะมีแพร่ระบาดประมาณ 14 สัปดาห์

SCB COVID 19 1

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย คือการที่สหรัฐฯ ไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายไวรัสได้ หรือกรณีที่ประเทศจีนมีการแพร่ระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกย่ำแย่ โดยปัจจุบันเราจะเห็นธนาคารกลางทั่วโลก เช่น Fed ใช้นโยบายการเงิน โดยการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 1% เหลือ 0-0.25% และอัดฉีดเงินเข้าระบบกว่า 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อที่จะช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจและภาคธุรกิจ

การดำเนินนโยบายดังกล่าวแม้จะไม่ช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคหรือฝั่ง Demand ที่เกิดจากความกังวลของไวรัสโควิด-19 แต่จะช่วยไม่ให้เกิดภาวะขาดสภาพคล่องในกิจการที่ได้รับผลกระทบ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงด้านเครดิต Default ส่งผลต่อการปิดกิจการ และเป็นไฟลามทุ่ง Financial Crisis เหมือนช่วงปี 2551 อีกครั้ง

SCB COVID 19 3

เมื่อเหตุการณ์ไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลง กลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าจะฟื้นตัวได้เร็วก่อนกลุ่มอื่นนั้นจะเป็น กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ จากการที่สายการผลิตหยุดชะงักจากผลกระทบซัพพลายเชน ที่มีการปิดเมืองและโรงงานบางแห่ง ตามมาด้วย กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ฟื้นตัวกลับมา ทำให้กลับมาใช้จ่าย และบริโภคเช่นเดิม ส่วนในกลุ่มของสายการบิน การท่องเที่ยวและโรงแรมนั้น จะเป็นกลุ่มที่ฟื้นตัวช้าที่สุด เนื่องจากแม้โรคจะสงบลงแต่ความเชื่อมั่นในการเดินทางไปท่องเที่ยวนั้นต้องใช้เวลาจนกว่าจะกลับมา

สำหรับมุมมองการลงทุนนั้น สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนระยะยาวและรับความผันผวนได้ ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ราคาสินทรัพย์ปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมาก ทำให้ Valuation อยู่ในระดับที่ค่อนข้างถูกในช่วงหลายปี ควรทยอยเข้าลงทุน แม้ว่า Earning จะได้รับผลกระทบบ้าง แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี โดยเน้นลงทุนไปยังบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานดี หรือกลุ่ม REITs ที่มีกระแสเงินสดจ่ายปันผลได้สม่ำเสมอ เป็นทางเลือกแรกๆ

sunset 4901583 1280

แต่สำหรับนักลงทุนที่รับความผันผวนได้ไม่มาก ควรลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่อง หรือตราสารหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือสูง และควรรอจังหวะเข้าลงทุนต่อไปเมื่อความกลัวหายไปหลังไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย

เนื่องจากไตรมาส 1 และ 2 นี้ตลาดมีความผันผวนและอาจปรับตัวลดลงได้เป็นระยะเนื่องจากไวรัสโควิด-19 ยังหาจุดจบไม่ได้ แต่มองว่าในระยะยาวการลงทุนในบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานธุรกิจแข็งแกร่ง มีความสามารถในการแข่งขันสูง และเป็นบริษัทที่เคยผ่านบททดสอบช่วงวิกฤตมาได้นั้น จะต้องสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุนในท้ายที่สุด

ข้อมูลโดย SCB Chief Investment Office

Avatar photo