Economics

ตรวจสอบแล้ว! ปรากฎการณ์ ‘Tar ball’ หัวไทร ไม่ได้มาจากแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ตรวจสอบแล้ว ไม่พบน้ำมันดิบรั่วไหลจากกระบวนการผลิต และกิจกรรมเกี่ยวข้องจากแหล่งปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย ระบุไม่นิ่งนอนใจ นำ “Tar ball” ส่งตรวจวิเคราะห์ซ้ำ 2 เดือนรู้ผล พร้อมกำชับดูแลใกล้ชิด

S 8830999
ดร.สราวุธ แก้วตาทิพย์

จากกรณีมี “Tar ball” หรือ “ก้อนน้ำมัน” เกิดขึ้นบริเวณชายหาดหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลการสำรวจ และผลิตปิโตรเลียม เข้าตรวจสอบกรณีดังกล่าวแล้ว โดย ดร.สราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ให้คำตอบว่า หลังจากมี “Tar ball” เกิดขึ้น  ข้้นตอนแรก ได้ตรวจสอบการดำเนินงาน ของบริษัทผู้รับสัมปทานทุกราย ที่มีการดำเนินงานในอ่าวไทยย้อนหลังไป 90 วัน พบว่าไม่มีการรั่วไหลของน้ำมันดิบจากกระบวนการผลิต และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีความชัดเจน และสร้างความเชื่อมั่นแก่ทุกภาคส่วน ได้ประสานพลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างก้อนน้ำมัน เพื่อส่งไปวิเคราะห์ ยังห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์คุณสมบัติเปรียบเทียบกับน้ำมันดิบในอ่าวไทย ควบคู่กันไปด้วย ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์ผล คาดว่าจะทราบผลในอีกประมาณ 1-2 เดือน

ดร.สราวุธ อธิบายเพิ่มเติม  “Tar ball” เป็นปรากฏการณ์ก้อนน้ำมัน จะเกิดขึ้นแทบทุกปีในช่วงหน้ามรสุม ประมาณเดือนพฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาเมื่อเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้เก็บตัวอย่าง“Tar ball” ไปวิเคราะห์ ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของภารกิจกำกับดูแลการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย โดยวิเคราะห์คุณสมบัติ “Tar ball”  ที่เกิดตามชายฝั่ง แล้วนำมาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลน้ำมันดิบ ที่ผลิตได้จากแท่นผลิตในอ่าวไทย

319006D6 42CF 4688 B408 9D3DC44D6AA3

ผลจากการตรวจวิเคราะห์ที่ผ่านมา ยังไม่เคยพบว่า ตัวอย่าง “Tar ball”  ที่เกิดขึ้นเป็นชนิดเดียวกัน กับตัวอย่างน้ำมันดิบจากแหล่งผลิตในอ่าวไทย นอกจากนี้ ในการประกอบกิจการปิโตรเลียม มีการกำกับดูแล และกำชับให้ผู้ประกอบการปิโตรเลียมทุกราย ต้องดำเนินการตามมาตรการการป้องกันปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่อาจเกิดขึ้นจากการสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมในทุกพื้นที่อย่างเข้มงวด และเป็นไปตามมาตรฐานสากล และตามมาตรา 75 ของพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ให้การดำเนินกิจการปิโตรเลียม สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม และชุมชนได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบูรณาการ การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม บริเวณชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพ และการหาที่มาของ “Tar ball”  ที่เกิดขึ้น ในแต่ละปีให้มีความชัดเจน

โดยเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา ได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) เรื่อง การพัฒนาฐานข้อมูลลายนิ้วมือน้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์น้ำมัน ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ร่วมกันของ 10 หน่วยงาน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลลายนิ้วมือน้ำมันดิบ และเพื่อบ่งชี้แหล่งที่มาของก้อนน้ำมันดังกล่าว

สำหรับขั้นตอนการบริหารจัดการนั้น หากมี “Tar ball”  เกิดขึ้นตามชายหาด หน่วยงานท้องถิ่น จะเป็นผู้เก็บตัวอย่าง และส่งให้กรมควบคุมมลพิษ เพื่อส่งต่อให้วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้วิเคราะห์หาที่มาของ “Tar ball”  ดังกล่าว ให้มีความชัดเจนของแหล่งที่มาต่อไป ซึ่งการเกิดปรากฎการณ์  “Tar ball”  ในพื้นที่บริเวณหาดหัวไทรครั้งนี้ ก็ได้ดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าวเช่นกัน

ทั้งนี้ 10 หน่วยงานที่มีการบูรณาการทำงานในเรื่องนี้ ครบทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 1. กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ 2. กรมควบคุมมลพิษ 3. กรมเจ้าท่า 4. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 5. กรมศุลกากร 6. ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ในส่วนกองทัพเรือ 7. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี 8. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 9. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) 10. สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน

Avatar photo