Economics

ค้นพบ กระดูกไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ตัวที่ 10 ‘ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ’ ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง

บันทึกหน้าใหม่ “ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ” กระดูกไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ที่ 10 ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง ขอนแก่น มั่นใจหนุนท่องเที่ยว เศรษฐกิจขอนแก่น

นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยในงานเปิดศูนย์บริการข้อมูลอุทยานธรณี จังหวัดขอนแก่น (Khon kaen Geopark Information Center) ว่า การค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ตัวที่ 10 ของประเทศไทย ”

5858

” (Phuwiangvenator yaemniyomi) หรือนักล่าแห่งเทือกเขาภูเวียง เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดขนาดกลาง สายพันธุ์กินเนื้อ สกุลและชนิดโดยขุดพบที่หลุมขุดค้นที่ 9B อุทยานแห่งชาติภูเวียงดินแดนแห่งไดโนเสาร์ จังหวัดขอนแก่น

ทั้งนี้ ภูเวียงเวเนเตอร์ฯ เป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากที่เคยค้นพบมา ตัวอย่างต้นแบบประกอบด้วย กระดูกสันหลังส่วนหลัง กระดูกสันหลังส่วนสะโพก กระดูกมือและเล็บ กระดูกหน้าแข้ง ข้อเท้า ฝ่าเท้า และเท้า มีขนาดลำตัวยาว 5-6 เมตร ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม เมกะแรพเตอรา

215608

ลักษณะเฉพาะของ ภูเวียงเวเนเตอร์ฯ ที่ไม่เหมือนกับไดโนเสาร์กินเนื้ออื่นๆ ได้แก่ กระดูกสันหลังส่วนสะโพกที่แบนด้านล่าง มีร่องเล็กๆ อยู่ตรงส่วนด้านหน้าและด้านหลังของกระดูกเมื่อมองในมุมล่าง และกระดูกฝ่าเท้าหรือ metatarsal ชิ้นที่สี่ เฉียงจากด้านนอกตอนต้นเข้ามายังด้านในตอนปลาย และมีขอบด้านหน้าที่ต่ำกว่ากระดูกฝ่าเท้าชิ้นที่สาม และต่ำกว่าไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นๆเท่าที่เคยมีการค้นพบมา

นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า การค้นพบ ภูเวียงเวเนเตอร์ฯ ครั้งนี้ ถือเป็นสายพันธุ์เดียวของโลก ที่ปรากฏอยู่ในจังหวัดขอนแก่น และจะทำให้เป็นที่สนใจของกลุ่มนักธรณีวิทยา หรือนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการค้นคว้าซากฟอสซิลไดโนเสาร์ทั่วโลก เพื่อเข้ามาค้นคว้าทำวิจัย ซึ้งจะส่งผลให้อำเภอเวียงเก่า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น รวมถึงประเทศไทย เป็นจุดสนใจไปทั่วโลก

41099

“เราจะต้องเร่งรีบพัฒนาให้ได้มาตรฐานโลก เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว หรือนักค้นคว้าวิจัยไดโนเสาร์จากทั่วโลก ที่จะหลั่งไหลเดินทางมายท่องเที่ยวในประเทศไทย มาท่องเที่ยวภาคอีสาน และพื้นที่อำเภอเวียงเก่า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น มากขึ้น ทำให้พื้นฐานเศรษฐกิจระดับชุมชนมีความเข้มแข็ง”นายสมศักดิ์กล่าว

Avatar photo