Economics

‘เสนา’ รับเทรนด์โซลาร์รูฟท็อป ตั้งเป้าโต 20% ดันยอดขายปีนี้ 600 ล้านบาท

“เสนา” เดินหน้าธุรกิจโซลาร์รูฟท็อป ดันยอดขายปีนี้ 600 ล้านบาท ตั้งเป้าโตปีละ 20% เน้นโรงงาน-คลังสินค้า-บ้านเรือน สร้างจุดขายโครงการใหม่ติดโซลาร์ทุกหลัง รองรับเทรนด์ พร้อมให้บริการลูกบ้านสมัครเข้าโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ต้้งเป้าสิ้นปีมี 170 ราย 400 กิโลวัตต์ 

เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ 1 1

ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริการ บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA กล่าวว่า บริษัทดำเนินธุรกิจรับติดตั้งโซลาร์บนหลังคา หรือโซลาร์รูฟท็อป ทั้งในโรงงาน และบ้านเรือน ภายใต้ บริษัท เสนา โซลาร์ เอนเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะความสนใจในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปของประชาชน โดยบริษัทตั้งเป้าเติบโตทั้งจำนวนเมกะวัตต์ และยอดขายประมาณ 10-20% ต่อปี

โดยสิ้นปีนี้คาดว่าจะมียอดขายรวม 600 ล้านบาทเติบโตจากปีก่อนที่มียอดขายประมาณ 300 ล้านบาท ส่วนในปี 2563 คาดว่าจะอยู่ที่ 900 ล้านบาท ถือว่าเติบโตตามเป้าหมาย 

ปัจจุบันมีกำลังผลิตติดตั้งรวม 24 เมกะวัตต์ ส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้า 13 แห่ง และกำลังอยู่ระหว่างการติดตั้งเพิ่มอีก 30 เมกะวัตต์

โดยจะเน้นตลาดทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการ เช่น โรงงาน คลังสินค้า ทำตลาดในรูปแบบจำหน่ายไฟฟ้าตรงให้กับผู้ประกอบการ หรือ Private PPA เป็นการติดตั้งแผงโซลาร์รูฟท็อป และจำหน่ายไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน ให้กับผู้ประกอบการโดยตรง เนื่องจากช่วงเวลากลางวันเป็นเวลาจำหน่ายไฟฟ่าที่มีราคาสูง (On Peak) ทำให้ต้นทุนการใช้พลังงานลดต่ำลง เพราะค่าไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จะมีราคาต่ำกว่าราคาที่ซื้อจากระบบของการไฟฟ้า

1559731156634

ขณะเดียวกันก็มุ่งทำตลาดโซลาร์รูฟท็อปตามบ้านเรือนด้วย โดยทุกโครงการของเสนาที่มีราคาเกิน 2-3 ล้านบาทขึ้นไปต่อยูนิตจะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปทุกหลัง

“ตอนนี้เราก้าวข้ามคำถามว่า โซลาร์รูฟท็อปดีหรือไม่ดี เพราะดีอยู่แล้ว และกำลังเป็นเรื่องปกติที่ทุกบ้านใหม่ ต้องมี เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่จำเป็น ”

Solar 01

ปัจจุบันเสนามีการติดตั้งให้บ้าน ในโครงการรวม 400 หลังประมาณ 1,000 กิโลวัตต์ ส่วนโครงการโซลาร์ภาคประชาชนที่รัฐเพิ่งเปิดให้สมัครเข้าโครงการเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อให้ประชาชนติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปผลิตไฟฟ้าใช้เอง ส่วนที่เหลือรัฐรับซื้อคืนในราคา 1.68 บาทต่อหน่วย ซึ่งเปิดรับสมัครปีละ 100 เมกะวัตต์ ในปีนี้ ทางเสนากำลังยื่นขอสิทธิ์ให้กับลูกบ้าน เพื่อเข้าโครงการโซลาร์ภาคประชาชนรวม 6 โครงการ ประมาณ 170 รายในสิ้นปีนี้  คิดเป็น 400 กิโลวัตต์

เป็นบ้านที่อยู่ในโครงการเสนาพาร์คแกรนด์ รามอินทรา เสนาพาร์ควิลล์ รามอินทร-วงแหวน เสนาวิลล์ บรมราชชนนี สาย 5 เสนาแกรนด์ โฮม รังสิต ติวานนท์ เสนาช๊อปเฮ้าส์ พหลโยธิน คูคต และเสนาช็อปเฮ้าส์ บางแค เฟส 1 และเฟส 2 โดยเสนากำลังทะยอยยื่นสมัครให้กับลูกบ้านแล้ว และทั้งบ้านและโซลาร์รูฟท็อปจะเป็นของลูกบ้านหลังโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อย

ทั้งนี้ถือว่าเสนาเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เจ้าเดียวที่ทำหมู่บ้านที่ติดโซลาร์รูฟท็อปทุกหลัง ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากตลาด

1559731156634

สำหรับการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปที่ผ่านมานั้น ผช.ดร.เกษรา ระบุว่า มีการเก็บข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ พบว่ากลุ่มเป้าหมายมี 3 กลุ่ม ประกอบด้วย

1.ครอบครัวใหญ่ที่มีทั้ง คนทำงานนอกบ้าน คนสูงวัย เด็ก อยู่ด้วยกัน กลุ่มนี้จะมีคนอยู่บ้านในตอนกลางวัน

2.คนทำงานอิสระ หรือฟรีแลนซ์ ซึ่งมักทำงานที่บ้าน

3.บ้าน ที่มีแต่คนทำงานประจำ และหยุดเฉพาะเสาร์อาทิตย์ ช่วงกลางวันไม่มีคนอยู่บ้าน

เมื่อพิจารณาข้อมูลแล้ว พบว่า กลุ่มที่คุ้มค่าในการใช้โซลาร์รูฟท็อป เป็นกลุ่มที่ 1 และ 2 ที่อยู่บ้านในตอนกลางวัน ซึ่งจะตอบโจทย์การติดตั้งแผงโซลาร์ เพราะแสงอาทิตย์มีช่วงกลางวัน ทำให้เกิดการประหยัดค่าไฟ ส่วนกลุ่มที่ 3 จะคุ้มค่าในแง่ของการขายไฟคืนให้กับรัฐ เนื่องจากไม่ได้ใช่ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน

จากการเก็บข้อมูลของเราพบว่ารายได้จากการขายไฟฟ้าตามโครงการโซลาร์ภาคประชาชนในปีที่ 10 ซึ่งกระทรวงพลังงานกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ  ในกลุ่มที่ 1 มีรายได้ 23,184 บาท กลุ่มที่ 2 มีรายได้ 15,523.20 บาท กลุ่มที่ 3 มีรายได้ 37,044 บาท

แต่หากดูในแง่ประหยัดไฟฟ้าจากการใช้งานของแต่ละกลุ่มแล้ว เมื่อครบ 25 ปีตามอายุของโซลาร์รูฟท็อป กลุ่ม 1 ประหยัดได้รวม 299,804 บาท กลุ่ม 2 ประหยัดได้ 358,227 บาท และกลุ่ม 3 ประหยัดได้ 193,719 บาท

ดังนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้าน แต่ขอผู้ที่ต้องการติดคิดเรื่องการประหยัดไฟฟ้าในบ้านเป็นหลัก ส่วนการขายเป็นผลที่เราได้ตามมา

P2410460.MOV.18 39 19 23.Still010

อย่างไรก็ตามผศ.ดร.เกษรา ย้ำว่า โครงการโซลาร์ภาคประชาชนเปิดรับซื้อไฟฟ้าแต่ละปีถึง 100 เมกะวัตต์ ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่สูง เพราะแต่ละบ้านจะติดตั้งไม่เกิน 2-3 กิโลวัตต์เท่านั้น ขอเชิญชวนบ้านเรือนประชาชนมาช่วยกันติดตั้ง เพื่อประหยัดไฟฟ้าและยังขายไฟฟ้าส่วนเกินให้รัฐได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยลดโลกร้อน โดยหากติดตั้ง 2 กิโลวัตต์ผลิตไฟฟ้าได้ 3,650 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี รวมระยะเวลา 10 ปี เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ใหญ่ 16 ต้น ลดคาร์บอนได้ 2 ตันต่อปี

อย่างไรก็ตามต้องการเสนอให้รัฐขยายการรับซื้อจาก 10 ปีออกไป เพราะโซลาร์มีอายุการใช้งานถึง 25 ปี เพื่อให้ประชาชนเห็นว่าคุ้มค่า และหันมาติดตั้งเพิ่มขึ้น

โดยในส่วนของเสนา ซึ่งทำธุรกิจรับติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปด้วย คิดค่าติดตั้งประมาณ 50,000-60,000 บาทต่อกิโลวัตต์ คาดว่ามีโอกาสที่ค่าติดตั้งจะลดลงได้อีก เพราะแผงโซลาร์เซลล์มีราคาถูกลง ขณะเดียวกัน เราจะตามติดแบตเตอร์รี่ (Energy Storage System)ที่ใช้ในการกักเก็บพลังงานด้วย เพื่อนำมาติดให้กับลูกบ้านในอนาคต หากราคาถูกลง จากปัจจุบันยังมีราคาสูงหลักแสนบาท

สำหรับแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานก็มีคำถามจากลูกบ้านเช่นเดียวกัน แต่เชื่อว่าเมื่อมีตลาดก็จะมีคนคิดค้นที่จะหาทางกำจัดแผงโซลาร์เซลล์ ในต่างประเทศจะมีเครื่องบดแผงโซลาร์ไว้ใช้กำจัดแผงที่หมดอายุ

Avatar photo