Economics

เปิดตัวเลข ‘การขนส่งทางอากาศ’ ไตรมาส 2 ผู้โดยสารกว่า 32 ล้านคน 211,479 เที่ยวบิน

เปิดตัวเลข “การขนส่งทางอากาศ” ไตรมาส 2 ผู้โดยสารกว่า 32 ล้านคน ลดลง 11.13% เนื่องจากเข้าสู่ช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว รวม 211,479 เที่ยวบิน

รายงานสถิติการขนส่งทางอากาศไตรมาส 2 ประจำปี 2567 โดยกองเศรษฐกิจการบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ระบุว่า ภาพรวมการขนส่งทางอากาศไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มการเจริญเติบโตลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากการเข้าสู่ช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยวของประเทศไทย

การขนส่งทางอากาศ

ไตรมาส 2 ผู้โดยสาร 32.75 ล้านคน 211,479 เที่ยวบิน 

  1. ภาพรวมสถิติการขนส่งทางอากาศ

ภาพรวมไตรมาสที่ 2 จำนวนผู้โดยสารมีแนวโน้มลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีจำนวนผู้โดยสารทั้งสิ้น 32.75 ล้านคน แบ่งออกเป็นผู้โดยสารภายในประเทศจำนวน 14.78 ล้านคน และจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศจำนวน 17.97 ล้านคน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 11.13% เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวของไทย ท eให้ความต้องการเดินทางทางอากาศในช่วงเวลาดังกล่าวลดลงอย่างต่อเนื่องในไตรมาสนี้

การขนส่งทางอากาศ

ปริมาณเที่ยวบินในไตรมาส 2 มีจำนวนทั้งสิ้น 211,479 เที่ยวบิน แบ่งเป็นเที่ยวบินภายในประเทศ105,185 เที่ยวบิน และเที่ยวบินระหว่างประเทศ 106,294 เที่ยวบิน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 4.68% ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในไตรมาสนี้อย่างมีนัยสำคัญ

ปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศในช่วงไตรมาส 2 ภาพรวมมีปริมาณใกล้เคียงกับช่วงไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศทั้งสิ้น 370.23 พันตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเพียง 3.67% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ 3.92% ซึ่งส่วนทางกับปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศที่ลดลง 7.46%

จำนวนผู้โดยสาร

สถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางทางอากาศ

  1. สถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางทางอากาศ ช่วงไตรมาส 2/2567

2.1 การเพิ่มเที่ยวบินเพื่อรองรับการเดินทางทางอากาศในช่วงเทศกาลสงกรานต์

จำนวนผู้โดยสารในช่วงเทศกำลสงกรำนต์ ปริมาณเที่ยวบินในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จากภาพรวมช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 จำนวนผู้โดยสารและปริมาณเที่ยวบินมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีก่อนหน้า โดยมีจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 32.18 แสนคน เพิ่มขึ้น 18.38% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นผู้โดยสารภายในประเทศ 3.25% และ ผู้โดยสารระหว่างประเทศ 34.43%

ในส่วนของปริมาณเที่ยวบินในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 มีจำนวนเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 19.95 พันเที่ยวบิน เพิ่มขึ้น 12.27% จากช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีที่ผ่านมา โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบินภายในประเทศ 2.07% และ จeนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศ 25.93%

การขนส่งทางอากาศ

ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญมาจากการดำเนินการตามมาตรการระยะสั้นของรัฐบาล ในการเพิ่มเที่ยวบินภายในประเทศช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยได้รับความร่วมมือจากสายการบินที่เพิ่มจำนวนเที่ยวบินพิเศษ 104 เที่ยวบิน หรือคิดเป็นจำนวน 17,874 ที่นั่ง ในช่วงเวลาเช้าและช่วงค่ำรวม 6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติ ภูเก็ต ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีและ ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น

รวมทั้งมีการจัดโปรโมชั่นตั๋วโดยสารในราคาพิเศษที่มีราคาลดลงถึง 20% เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของจeนวนผู้โดยสารและเที่ยวบินจากความต้องการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์

ปริมาณขนส่งทางอากาศ

2.2 แนวโนมโน้มการเติบโตของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในช่วงเดือนเมษายน

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบภาพรวมจำนวนนักท่องเที่ยว และจำนวนนักท่องเที่ยวแยกรายสัญชาติช่วงเดือนเมษายนปี 2567 กับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 2.75 ล้านคน เพิ่มขึ้น 26.35% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศจีน อินเดีย รัสเซีย และเกาหลีใต้ ตามลำดับ ส่วนประเทศมาเลเซียมีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงเล็กน้อย

ซึ่งการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวสอดคล้องกับมาตรการรัฐบาล ที่มีกำหนดจัดงานประเพณีสงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่ในหลายพื้นที่ รวมถึงมาตรการยกเว้นการตรวจลงตราให้นักท่องเที่ยวชาวจีนและอินเดีย และการขยายพำนักของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย จึงเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญ

การขนส่งทางอากาศ

2.3 #แบนเกาหลี

ในช่วงที่ผ่านมาเกิดกระแสสังคมออนไลน์ #แบนเกาหลี ส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางไปกลับประเทศเกาหลี โดยองค์การการท่องเที่ยวเกาหลีเปิดเผยว่า นักท่องเที่ยวไทยไปท่องเที่ยวประเทศเกาหลีใต้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน มีจำนวน 119,000 คน ลดลง 21.1% สอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสาร ที่มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในไตรมาสที่ 2 ส่วนทางกับจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในเดือนพฤษภาคม

ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากมาตรการเข้าเมืองที่เข้มงวด การปฏิเสธเข้าประเทศและการขาดคำอธิบายที่ชัดเจนหลังถูกปฏิเสธ ถึงแม้จะได้รับอนุมัติจาก K-ETA (ระบบออนไลน์ที่จัดทำขึ้นมาเพื่อคัดกรองผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศมายังเกาหลีใต้) จึงทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น และส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวไทย

อีกทั้งสถานการณ์เงินเยนที่อ่อนค่าลงและการยกเว้นการตรวจลงตราแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทย-จีน ที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปี จึงส่งผลให้นักท่องเที่ยวไทยเลือกที่จะท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีนแทน

การขนส่งทางอากาศ

2.4 เหตุการณ์อุทกภัยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2567 เกิดสถานการณ์อุทกภัยที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่งผลกระทบต่อท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ หรือ Dubai International Airport ซึ่งรันเวย์ได้ถูกน้ำท่วม ทำให้การเดินทางทางอากาศหยุดชะงัก ทั้งนี้ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบถือเป็นศูนย์กลางด้านการบินขนาดใหญ่ของโลก สามารถรองรับผู้โดยสารกว่า 90 ล้านคนต่อปี และตามสถิติเที่ยวบิน FlightAware ระบุว่า มีเที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออกของท่าอากาศยานนานาชาติดูไบต้องดีเลย์หรือล่าช้ากว่ากำหนดถึง 388 เที่ยว ขณะที่มีเที่ยวบิน 30 เที่ยวต้องถูกยกเลิก ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการเดินทางทางอากาศของไทยเช่นกัน

จากข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ พบว่า ท่าอากาศยานของประเทศไทยที่มีเที่ยวบินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติดูไบที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา โดยพบว่าโดยเฉลี่ยมีเที่ยวบินเข้าออกประเทศไทยและท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ ลดลงในช่วงที่เกิดเหตุการณ์อุทกภัยจำนวนเที่ยวบินลดลงเฉลี่ย 30%

ทั้งนี้ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา ที่ปกติมีเที่ยวบินเที่ยวบินแบบประจeจากสายการบินฟลายดูไบ ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ไม่มีเที่ยวบินจากท่าอากาศยานดังกล่าวมายังท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา

2.5 เที่ยวบินแสวงบุญพิธีฮัจญ์

พิธีฮัจญ์คือ 1 ใน 5 หลักปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิมทั่วโลก เป็นการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่ นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ในเดือนซุลฮิจญะฮ์ของทุกๆ ปี(เดือนที่ 12 ของปีฮิจเราะห์ศักราช) ซึ่งในปีนี้อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน ตลอดจน กรกฎาคม ซึ่งภาคอุตสาหกรรมการบินมีส่วนเกี่ยวในการสนับสนุนการนำผู้แสวงบุญ ตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบัน ซึ่งในปี 2567 ได้มีเที่ยวบินพิเศษ ไป-กลับรวม 25 เที่ยวบิน ระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม – 17 กรกฎาคม 2567 ออกจากประเทศไทย 3 จุดบิน ได้แก่ นราธิวาส หาดใหญ่และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เดินทางสู่ 2 จุดบินในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ได้แก่ มะดีนะห์และเจดดาห์ในปีนี้มีจำนวนผู้ที่เดินทางไปกับเที่ยวบินดังกล่าวจำนวน 7,738 คน โดยมีจำนวนนลดลงจากปีที่ผ่านมา 35.2%

2.6 เหตุการณ์น้ำท่วมภูเก็ต

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2567 เกิดสถานการณ์อุทกภัยธรรมชาติจังหวัดภูเก็ต ทำให้การสัญจรมีความเป็นไปยาก รวมถึงทำให้เที่ยวบินไม่สามารถลงจอดได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการบิน โดยมีจำนวนเที่ยวบินจำนวนมากกว่า 10 เที่ยวบิน ไม่สามารถลงจอดในช่วงเวลาดังกล่าวได้ ทำให้หลายสายการบินทำการเปลี่ยนทิศทางการบิน จากสนามบินปลายทางไปยังสนามบินใกล้เคียง เช่น ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง รวมถึงท่าอากาศยานนานาชาติลังกาวี เป็นต้น

การขนส่งทางอากาศ

ติดตามวีซ่าฟรี ส่งผลการเดินทางเข้าไทยของน้กท่องเที่ยวต่างชาติ

  1. ประเด็นที่ต้องติดตาม

3.1 การขยายเวลายกเว้นการตรวจลงตราแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางไต้หวันและอินเดีย

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ประกาศขยายระยะเวลายกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยว ให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางอินเดียและไต้หวัน ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว โดยสามารถพำนักในราชอาณาจักรไทยได้ไม่เกิน 30 วัน เป็นกรณีพิเศษ เพิ่มเติมอีก 6 เดือน มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม–11 พฤศจิกายน 2567

3.2 นโยบายรัฐบาลยกระดับพาสปอร์ตของไทย

ตามนโยบาย “หนังสือเดินทางไทย เดินทางได้ทั่วโลก” ของรัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสิน โดยในไตรมาสที่ 2 มีการประกาศมาตรการยกเว้นการตรวจลงตราถาวรแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทย ได้แก่ ยกเว้นการตรวจลงตราถาวรแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทย-คาซัคสถาน โดยมีผลบังคับใช้หลังลงนาม 30 วัน และสามารถพำนักอยู่ชั่วคราวในประเทศระหว่าง 2 ฝ่ายได้ไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่เดินทางเข้า ระยะเวลาพำนักสะสมรวมกันจะต้องไม่เกิน 90 วัน ภายในช่วงเวลา 180 วัน แต่หากมีความประสงค์จะพำนักเกินกว่า 30 วัน จะต้องได้รับการตรวจลงตราตามที่กำหนดไว้ตามกฎหมายของไทยและคาซัคสถาน

และ มาตรการยกเว้นการตรวจลงตราแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยที่เดินทางไปยังสาธารณรัฐแอลเบเนีย มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม – 31 ธันวาคม 2567 โดยมีเงื่อนไขจะต้องกรอก e-Visa ก่อน โดยนักท่องเที่ยวสามารถพนำกได้ 90 วัน

3.3 รัฐบาลอินเดียประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทย

เมื่อวันที่28 มิถุนายน 2567 รัฐบาลอินเดียประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว (e-Tourist visa) สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาของไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม–31 ธันวาคม ๒๕๖๗ โดยมาตรการดังกล่าวนักท่องเที่ยวไทยสามารถพำนักในประเทศอินเดียได้ 30 วัน และสามารถเดินทางเข้า-ออกได้ 2 ครั้งโดยไม่มีค่าธรรมเนียมการลงตรา ซึ่งนักท่องเที่ยวไทยยังต้องยื่นขอรับการตรวจลงตราประเภท e-Tourist visa ล่วงหน้าทางเว็บไซต์ตามเดิม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo