Economics

ครม. ไฟเขียว เที่ยวเมืองรอง ใช้จ่ายไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท หักภาษีได้

ครม. ไฟเขียว เที่ยวเมืองรอง ใช้จ่ายไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท ช่วง 1 พ.ค. – 30 พ.ย. 2567 หักภาษีได้ กระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ช่วงโลว์ซีซั่น 

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว หรือ Low Season คาดว่าการดำเนินมาตรการดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 1,500 ล้านบาท แต่น่าจะทำให้การใช้จ่ายในพื้นที่เมืองท่องเที่ยวรองมีมากกว่ารายได้ที่สูญเสียไปทั้งหมด

ทั้งนี้ที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นการท่องเที่ยว เพื่อผลักดันเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ได้หารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองรอง โดยอยากให้มีการจัดงานเทศกาลต่าง ๆ ในเมืองรอง โดยเฉพาะในช่วงเดือนที่เป็น Low Season

เที่ยวเมืองรอง

มาตรการด้านภาษี กระตุ้นการท่องเที่ยวเทืองรอง-ช่วง Low Season

ทั้งนี้ ได้อนุมัติ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง และกระตุ้นการท่องเที่ยวช่วง Low Season

สำหรับบุคคลธรรมดา

มาตรการภาษีกระตุ้นท่องเที่ยวเมืองรอง สำหรับบุคคลธรรมดา สามารถนำค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทยหรือค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวใน “จังหวัดท่องเที่ยวรอง” ได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15,000 บาท หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2567 (ช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว)

เที่ยวเมืองรอง
นายเศรษฐา ทวีสิน

สำหรับนิติบุคล

สำหรับนิติบุคคล มาตรการภาษีกระตุ้นสัมมนาในประเทศ โดยนิติบุคคลสามารถนำรายจ่ายค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศ ที่จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือค่าบริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวเพื่อการอบรมสัมมนา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 พฤศจิกายน 2567 หักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้

  • หักรายจ่ายได้ 2 เท่า สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดใน “จังหวัดท่องเที่ยวรอง” หรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
  • หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในท้องที่อื่นนอกจากท้องที่ตามข้อ 1
  • ในกรณีที่การสัมมนาเกิดขึ้นในท้องที่ตามข้อ 1 และข้อ 2 ต่อเนื่องกัน ให้หักรายจ่ายที่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใดตามข้อ 1 หรือข้อ 2 และถ้าแยกไม่ได้ให้หัก 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง

Screenshot 2024 06 04 142456

e-Tax Invoice & e-Receipt เท่านั้น

โดยทั้ง 2 มาตรการ ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo