Economics

เปิด 10 อันดับอาชีพเด่น-อาชีพในฝัน ‘เด็ก Gen Z’ เผยวิศวกรไซเบอร์-ครู มาแรง!

“ม.หอการค้าไทย” เปิด 10 อันดับอาชีพเด่น “เด็ก Gen Z” เผยวิศวกรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์-แพทย์ศัลยกรรม ผิวหนัง มาแรง!

นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจ 10 อาชีพเด่นปี 67 ที่ประเมินจากความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการ ความมั่นคง และยั่งยืนด้านรายได้ ระดับรายได้ และจำนวนคู่แข่งในตลาดว่า อาชีพส่วนใหญ่ สอดคล้องกับโลกยุคปัจจุบันที่เข้าสู่ยุคดิจิทัล และความต้องการในการดูแลสุขภาพ รวมถึงเป็นอาชีพที่มั่นคง รายได้สูง

อาชีพเด่น

10 อาชีพเด่นปี 2567

  1. วิศวกรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Network Security) หรือเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคความปลอดภัย
  2. แพทย์ (ด้านศัลยกรรม ด้านผิวหนัง)
  3. นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา ทันตแพทย์
  4. นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) หรือนักออกแบบข้อมูล
  5. YouTuber TikToker อินฟลูเอนเซอร์ สตรีมเมอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอีคอมเมิร์ซ หรือพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์
  6. ดารา นักแสดง นักร้อง นักการตลาดออนไลน์ นายหน้าขายสินค้า (Affiliate) นักพัฒนาซอฟต์แวร์
  7. นักวิเคราะห์การเงิน ที่ปรึกษาทางการเงิน และนักวางแผนทางการเงิน
  8. ผู้ประกอบการ (ธุรกิจส่วนตัว)
  9. ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ กฎหมาย
  10. ติวเตอร์ หมอดู

อาชีพเด่น

ส่วนอาชีพในฝันของเด็กรุ่นใหม่ปี 2567 ที่สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 802 ตัวอย่าง ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย/ปวช. อนุปริญญา/ปวส. และปริญญาตรี ระหว่างวันที่ 6-15 มกราคม 2567 พบว่า

อาชีพในฝันของเด็กรุ่นใหม่ ปี 2567

  • อันดับ 1 ครู อาจารย์ ติวเตอร์
  • อันดับ 2 ธุรกิจส่วนตัว นายตัวเอง
  • อันดับ 3 แพทย์ พยาบาล
  • อันดับ 4 อินฟลูเอนเซอร์ สตรีมเมอร์ YouTuber
  • อันดับ 5 นักออกแบบกราฟิก
  • อันดับ 6 ทนายความ อัยการ
  • อันดับ 7 งานด้านต่างประเทศ
  • อันดับ 8 ศิลปิน นักตัดต่อ
  • อันดับ 9 นักบิน แอร์โฮสเตท
  • อันดับ 10 ข้าราชการ (ทหาร ตำรวจ ข้าราชการทั่วไป)

อาชีพเด่น

โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกอาชีพในฝัน คือ เป็นที่ต้องการของตลาด มีตำแหน่งงานรองรับแน่นอน เงินเดือนและผลตอบแทนสูง มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เลือกตามคนในครอบครัว หางานง่าย มีโอกาสก้าวหน้าสูง และองค์กรมีชื่อเสียง ส่วนทักษะ หรือองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับอาชีพ คือ ทักษะด้านภาษา ทักษะในการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน ทักษะการใช้เทคโนโลยีและโปรแกรม ทักษะในการคิดและวิเคราะห์ ทักษะในการปรับตัว พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่  ทักษะการเจรจาต่อรอง และทักษะการแก้ปัญหาซับซ้อน

นอกจากนี้ ยังสำรวจพฤติกรรมการออมเงิน และการใช้จ่ายของเด็กรุ่นใหม่ พบว่า

  • 30.3% ออมเงิน
  • 3.6% ลงทุน
  • 65% ไม่มีทั้ง 2 อย่าง
  • 1.1% มีทั้ง 2 อย่าง

โดยรูปแบบการออมเงินและลงทุน คือ ฝากธนาคาร ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล หุ้น กองทุนรวม ทองคำ ตราสารหนี้

อย่างไรก็ดี หากค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ จะแก้ปัญหาโดยขอเงินผู้ปกครอง ยืมเงินเพื่อน ทำงานพิเศษ ขายสินทรัพย์ส่วนตัว กู้ยืมในและนอกระบบ ส่งผลให้มีหนี้นอกระบบเฉลี่ยคนละ 10,708 บาท และในระบบเฉลี่ย 41,185 บาท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK