Economics

ส่งออกไทยเดือน ก.ค. ติดลบ 6.2% ต่อเนื่องเดือนที่ 10 ชี้ 7 เดือนติดลบแล้ว 5.5%

“พาณิชย์” เผยส่งออกเดือนกรกฎาคมติดลบ 6.2% หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ชี้ภาพรวมในช่วง 7 เดือนแรก ยังคงติดลบที่ 5.5%

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงตัวเลขการส่งออกเดือนกรกฎาคม 2566 มีมูลค่าการส่งออก 22,143.2 ล้านดอลลา หดตัวที่ 6.2% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 เป็นการหดตัวในทุกกลุ่มสินค้า ทั้งสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรม เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้นตัวเพราะถูกแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้การผลิตและการบริโภคตึงตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ประกอบกับฐานการส่งออกในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ในระดับสูง

ส่งออกเดือนกรกฎาคม

ขณะที่การนำเข้าช่วงเดือนกรกฎาคมติดลบ 11.1% คิดเป็นมูลค่า 24,121 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้าในช่วง 7 เดือนแรกของปี ติดลบ 4.7% คิดเป็นมูลค่า 171,598.9 ล้านดอลลาร์ ส่งผลทำให้ดุลการค้าในช่วงเดือนกรกฎาคมขาดดุล 1,977.8 ล้านดอลลาร์ แต่ในช่วง 7 เดือนแรกของปีการค้ายังคงขาดดุลอยู่ที่ 8,28.5 ล้านดอลลาร์ โดยมีปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทอ่อนค่า ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และความต้องการอาหารทั่วโลก ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรหลายรายการขยายตัวได้ดี เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ผักแปรรูป ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ไข่ไก่ และน้ำตาลทราย

อย่างไรก็ตาม ส่งผลให้ภาพรวมในช่วง 7 เดือนแรก 2566 ( ม.ค.-ก.ค.66 ) การส่งออกไทยมีมูลค่า 163,313.5 ล้านดอลลาร์ ยังคงติดลบที่ 5.5% แต่ยังถือว่าดีกว่าหลายประเทศ เช่น ไต้หวัน สิงคโปร์ อินเดีย และอินโดนีเซียยังคงติดลบมากกว่าไทยทั้งสิ้น

ส่งออกเดือนกรกฎาคม

นอกจากนี้ แม้ว่าช่วงเวลาที่เหลือของปี 2566 จะทำงานร่วมกันใกล้ชิดของภาครัฐและเอกชน ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ และสถานการณ์ยังดีกว่าหลายประเทศ แต่ด้วยปัจจัยในด้านลบของตลาดโลกที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและภาคเอกชนจะทำงานอย่างเต็มที แม้ว่าจะมีความลำบากอยู่พอสมควร

ทั้งนี้ คาดว่าหากจะให้ตัวเลขส่งออกทั้งปีเป็นไปตามเป้าหมาย จะต้องส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนจะอยู่ที่ 24,800 ล้านดอลลาร์ ทำให้อัตราการส่งออกขยายตัวได้ 0% แต่หากจะให้ขายยตามได้ตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้การส่งออกเฉลี่ยแต่ละเดือนจะอยู่ที่ 25,100 ล้านดอลลาร์ เป็นต้น

ส่งออกเดือนกรกฎาคม

ส่วนแนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าการส่งออกจะได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว การผลิตและการบริโภคชะลอลง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า และความผันผวนของค่าเงิน แต่คาดว่าฐานที่ต่ำในช่วงปลายปี ภาคบริการของประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัว และอานิสงส์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ทำให้คู่ค้าหันมานำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางตัวจากไทยทดแทนตลาดจีนมากขึ้น

ส่งออกเดือนกรกฎาคม

ขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้าในหมวดอาหารที่เป็นสินค้าจำเป็น มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยหลายประเทศเพิ่มการนำเข้าเพื่อรักษาความมั่นคงทางด้านอาหาร และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในเส้นทางใหม่ผ่าน รถไฟไทย-ลาว-จีน จะช่วยเพิ่มโอกาสการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ได้อีกทางหนึ่งด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK