Economics

สปส. MOU รพ. 35 แห่ง ร่วมเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกันตน

“รมว.สุชาติ” มอบบุญสงค์” เป็นประธาน MOU รพ. 35 แห่ง ร่วมเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกันตนเข้าถึงการรักษาในระบบประกันสังคม

วันที่ 8 มีนาคม 2566 เวลา 13.00 . นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เป็นประธานในพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลงการให้บริการทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการรักษาของผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคม โดยมี ผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม รวมทั้งผู้บริหารสถานพยาบาลทั้ง 35 แห่ง พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมให้การต้อนรับ โรงแรมเอเชียกรุงเทพ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

MOU

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการดูแลและเข้าถึงการให้บริการ รักษาทางการแพทย์ของประชาชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบนโยบายในเรื่องการจัดการและพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์และเข้าถึงการรักษาจากสถานพยาบาลในระบบประกันสังคมให้มากที่สุด โดยให้สำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประกันตน และมีภารกิจสำคัญในการพัฒนาระบบบริการ ทางการแพทย์อย่างเป็นเลิศเสมอมา ดำเนินการจัดทำโครงการให้บริการทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการรักษาของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเพื่อให้ผู้ประกันตนที่ป่วยและมีความจำเป็น ต้องเข้ารักษา ด้วยการผ่าตัด หรือทำหัตถการ นำร่องในกลุ่มโรคที่มีผู้ประกันตนเข้ารับการรักษามากที่สุด สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในระบบประกันสังคม เพื่อลดการรอคอยการผ่าตัด ลดระยะเวลาการพักฟื้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกันตนสามารถกลับไปทำงานได้อย่างรวดเร็วและดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ

สปส1

โดยสำนักงานประกันสังคมได้ร่วมมือกับสถานพยาบาลที่มีศักยภาพตามมาตรฐานที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด นำร่อง ในกลุ่ม 5 โรค ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม, ก้อนเนื้อที่มดลูก, โรคนิ่วในไตหรือถุงน้ำดี, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจและหลอดเลือด ที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเข้าร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการให้บริการทางการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 แล้วจำนวน 10 แห่ง ข้อมูล วันที่ 1 มีนาคม 2566 มีจำนวนผู้ป่วยเข้ารับการ ทำหัตถการแล้ว จำนวน 692 ราย ซึ่งผลการดำเนินงานเป็นไปได้ด้วยดี ผู้ประกันตนได้รับการรักษาเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด ไม่มีภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกันตนได้เข้าถึงการรักษา อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยคลอบคลุมมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการพิจารณาสถานพยาบาลที่สมัครเข้าร่วมเพิ่มเติมโดยมีสถานพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด จำนวน 35 แห่ง พร้อมให้บริการรักษา ให้กับผู้ประกันตนตามความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีดังนี้

สปส2

สถานพยาบาลให้บริการรักษาด้านหัตถการโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลวิภาราม กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ประชาชื่น กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลเพชรเวช กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลไทยนครินทร์ กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์รามคำแหง กรุงเทพ, โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ปทุมธานี, โรงพยาบาลราชธานี อยุธยา, โรงพยาบาลวิภารามปากเกร็ด นนทบุรี, โรงพยาบาลภัทรธนบุรี ปทุมธานี, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ศรีบุรินทร์ เชียงราย,

สถานพยาบาลให้บริการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลวิภาราม กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์รามคำแหง กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี

สถานพยาบาลให้บริการผ่าตัดนิ่วในไตและถุงน้ำดี จำนวน 20 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ปทุมธานี, โรงพยาบาลราชธานี อยุธยา, โรงพยาบาลภัทรธนบุรี ปทุมธานี, โรงพยาบาลเกษมราฎร์ ศรีบุรินทร์ เชียงราย, โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี, โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลหัวเฉียว กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลลาดพร้าว กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลการุญเวช ปทุมธานี, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ สระบุรี, โรงพยาบาลบางปะกอก 3 สมุทรปราการ, โรงพยาบาลวิภาราม อมตะนคร ชลบุรี, โรงพยาบาลเอกชล 2 ชลบุรี, โรงพยาบาลหริภุญชัย เมโมเรียล ลำพูน, โรงพยาบาลร่มฉัตร นครสวรรค์, โรงพยาบาลหนองคาย หนองคาย, โรงพยาบาลเทพปัญญา เชียงใหม่, โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่

สถานพยาบาลให้บริการผ่าตัดมะเร็งเต้านม จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเกษมราษฎ์ ประชาชื่น กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลภัทรธนบุรี ปทุมธานี, โรงพยาบาลบางปะกอก 3 สมุทรปราการ, โรงพยาบาลหนองคาย หนองคาย, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่

 

สถานพยาบาลให้บริการผ่าตัดก้อนเนื้อที่มดลูก จำนวน 16 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ปทุมธานี, โรงพยาบาลราชธานี อยุธยา, โรงพยาบาลศิครินทร์ กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลลาดพร้าว กรุงเทพฯ, โรงพยาบาลวิภาราม อมตะนคร ชลบุรี, โรงพยาบาลเอกชล 2 ชลบุรี, โรงพยาบาลหริภุญชัย เมโมเรียล ลำพูน, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรุงเทพฯ โรงพยาบาลลานนา เชียงใหม่, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล อ้อมน้อย สมุทรสาคร, โรงพยาบาลกรุงไทย นนทบุรี, โรงพยาบาลราชธานี โรจนะ อยุธยา, โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ สมุทรปราการ, โรงพยาบาลเกษมราษฎ์ฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการ ทางการแพทย์โดยตรงกับสถานพยาบาลที่ทำบันทึกข้อตกลง โดยผู้ประกันตนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับบริการแต่อย่างใด สำหรับระยะเวลาดำเนินการถึง 30 มิถุนายน 2566 ทั้งนี้ เมื่อดำเนินโครงการแล้ว สำนักงานประกันสังคมจะติดตามและประเมินผล เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดการบริการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผู้ประกันตนต่อไป สำนักงานประกันสังคม ยังคงมุ่งมั่น และทุ่มเทการทำงาน โดยยึดหลักการดำเนินงาน ภายใต้แนวทางของรัฐบาล และ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ให้ความสำคัญ ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ด้านการให้บริการทางการแพทย์ ลดความเหลื่อมล้ำ โดยบูรณาการงานด้านบริการทางการแพทย์อย่างเหมาะสม เท่าเทียม มีคุณภาพ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

 อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo