Economics

มท.1 ตอบกระทู้ ย้ำ เก็บภาษีตาม ‘พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง’ เป็นธรรมกับทุกคน ไม่กระทบผู้มีรายได้น้อย

มท.1 ตอบกระทู้ ย้ำ เก็บภาษีตาม ‘พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง’ เป็นธรรมกับทุกคน ไม่กระทบผู้มีรายได้น้อย

เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 66 เวลา 09.30 น. ที่อาคารรัฐสภา ถ.สามเสน กรุงเทพฯ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตอบกระทู้ถามของ นางบุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ สมาชิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง การจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

โดยกล่าวว่า การจัดเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเป็นการจัดเก็บภาษีที่มีความเป็นธรรมกับทุกคน มิใช่จัดเก็บเฉพาะผู้มีรายได้น้อย กรณีประชาชนเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม จะได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมาย ดังนั้น ประชาชนผู้มีรายได้น้อยไม่ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

เน้นถือครองที่ดินจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้สูง

ทั้งนี้ ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับการจัดเก็บภาษีในปี 2566 จะใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์รอบบัญชี ปี 2566-2569 ซึ่งจะทำให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีจากผู้ถือครองที่ดินจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้สูงเพิ่มมากขึ้น

และราคาประเมินใหม่นี้ก็เป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนผู้ที่ถือครองที่ดินจำนวนน้อย เพราะเมื่อราคาประเมินสูงขึ้นก็สามารถใช้เป็นต้นทุนในการลงทุนพัฒนาทำธุรกิจได้ต่อไป

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า นับตั้งแต่รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาบริหารประเทศ ได้มีการบังคับใช้กฎหมายที่ทำให้ประชาชนผู้ไม่มีที่ดินทำกิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย ได้มีที่ดินทำกิน ได้ทำการเกษตร

โดยมีการออกเอกสารพื้นที่ป่าซึ่งเป็นพื้นที่ที่รัฐไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อให้ราษฎรได้มีที่ทำมาหากิน ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้มีรายได้น้อยและไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองสามารถประกอบอาชีพและทำมาหาเลี้ยงชีพได้

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ผู้มีรายได้สูงเสียภาษีมากขึ้น ไม่ปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

ดังนั้น เจตนารมณ์หลักของพระราชบัญญัติภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ฉบับนี้ คือ การให้ประชาชนผู้มีรายได้สูงเสียภาษีมากขึ้นและต้องทำประโยชน์ในพื้นที่โดยไม่ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า

การลดภาระของประชาชนในภาพรวมเรื่องเศรษฐกิจ คือการลดอัตราการจัดเก็บภาษี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเงินรายได้จัดเก็บเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องใช้งบกลางเข้าไปชดเชย แต่เนื่องจากงบกลางก็ถูกใช้จ่ายไปถึง 6,200 กว่าล้านบาทในการบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดจากน้ำท่วมเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา

แต่ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติเกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านงบประมาณในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขาดรายได้ ซึ่งจะได้ติดตามผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo