Economics

ส่องนโยบาย ‘ประกันสังคม’ ปี 2566 เพิ่มประโยชน์ 3 ด้าน ช่วยเหลือผู้ประกันตน

ส่องนโยบาย “ประกันสังคม” ปี 2566 เพิ่มประโยชน์ 3 ด้าน ช่วยเหลือผู้ประกันตน ลูกจ้างและนายจ้าง 

สำนักงานประกันสังคม หลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิตแก่แรงงานมาตลอด 32 ปี พร้อมก้าวสู่ปีที่ 33 แล้ว ในปี 2566 เพื่อสร้างสรรค์ หลักประกันชีวิต ให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน ปัจจุบันมีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมจำนวน 24.03 ล้านคน และเงินกองทุนเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 2.23 ล้านล้านบาท

นโยบาย

สำหรับนโยบายประกันสังคมในปี 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อมอบเป็นของขวัญและช่วยเหลือผู้ประกันตน ลูกจ้างและนายจ้าง กล่าวไว้ในโอกาสสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ครบรอบ 32 ปี ในวันคล้ายวันสถาปนา 3 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา สำนักงานประกันสังคมมีแนวทางในการดำเนินงานได้ ดังนี้

นโยบายประกันสังคมในปี 2566 

1.เพิ่มสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม

เพื่อให้ผู้ประกันตนได้มีหลักประกันทางสังคมและได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น และผู้ประกันตนสูงอายุได้รับโอกาสในการทำงานที่เหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน โดยการปรับปรุง ... ประกันสังคม ฉบับที่.. … ได้แก่

  • การขยายความคุ้มครองให้กับผู้ประกันตนเพื่อรองรับผู้สูงอายุ โดยขยายอายุขั้นสูงของผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้ผู้รับเงินบำนาญชราภาพและสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนได้ ให้ผู้รับเงินบำนาญชราภาพ สามารถขอรับเงินบำนาญจ่ายล่วงหน้าได้
  • การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพอันเกิดจากข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน 3 ขอ (ขอเลือก ขอคืน และขอกู้)
  • การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์อื่น ได้แก่ เงินสงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตร จากเดิมจ่าย 90 วัน เป็น 98 วัน เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพ จากเดิมจ่าย ร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 70 กรณีสงเคราะห์บุตรให้ได้รับการคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน
  • ปรับปรุงเงื่อนไขในการสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 และกำหนดให้เงินเพิ่มของผู้ประกันตนมาตรา 39 จะต้องไม่เกินเงินสมทบที่ต้องจ่าย

นโยบาย

2. ยกระดับการบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเชิงรุก

  • ขยายช่วงอายุ เพิ่มความถี่ในการตรวจ เพิ่มรายการตรวจสุขภาพ เช่น การซักประวัติ การประเมินวัยทำงาน (คัดกรองโรคซึมเศร้า ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด) การคัดกรองไวรัสตับอักเสบซี (Anti HCV Rapid) การทำงานของตับ (SGOT, SGPT)
  • เพิ่มการให้คำแนะนำและปรับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
  • พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพรายบุคคล ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเชิงรุกและสามารถพิสูจน์ตัวบุคคลที่มีสิทธิได้อย่างถูกต้องและเชื่อมโยงข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำสมุดสุขภาพของผู้ประกันตน
  • การขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

สุขภาพ

3. พัฒนาและเพิ่มช่องทางรับเงินสมทบ

  • จ่ายประโยชน์ทดแทนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้นายจ้างและผู้ประกันตนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยเพิ่มช่องทางการรับชำระเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ผ่าน mobile application กับธนาคารและหน่วยบริการอื่น
  • เพิ่มช่องทางการชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน ผ่านคิวอาร์โค้ด โดยการสแกนจ่าย ด้วย mobile banking application ของธนาคารต่าง โดยมีธนาคารกรุงไทยเป็นตัวกลางในการรวบรวมและนำส่งข้อมูลการชำระเงินและเงินที่รับชำระจากนายจ้าง/ผู้ประกันตน ส่งให้กับสำนักงานประกันสังคม
  • เพิ่มธนาคาร ... เป็นหน่วยบริการในการรับชำระเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33 ผ่านระบบ e-Payment จากเดิม 13 แห่ง เป็น 14 แห่ง

ทั้งนี้ ได้มีการพัฒนาระบบเพื่อให้ผู้ประกันตน และนายจ้างสามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หากดำเนินการแล้วเสร็จ สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกันตนได้เข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา และได้รับประโยชน์ทดแทนที่ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นต้น

นโยบาย

นอกจากจะเพิ่มสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมให้ผู้ประกันตนแล้ว กระทรวงแรงงานยังมอบของขวัญปีใหม่ 2566 ให้แบบจุใจ ภายใต้มาตรการ “ให้ ฟรี ลด แรงงานสุขใจ” สินเชื่อที่อยู่อาศัย ม.33 สิทธิรักษา5 โรค 6 แสนตำแหน่งงาน คัดกรองป้องกันโรคเสี่ยง ความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ และลดค่าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานเหลือ 1-3 บาท

ของขวัญปีใหม่ 2566 “ให้ ฟรี ลด แรงงานสุขใจ”

1. ให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ตาม ม.33 ดอกเบี้ยต่ำจำนวน 15,000 ราย ไม่เกินรายละ 2 ล้านบาท ตั้งแต่ มกราคม 2566 เป็นต้นไป

2. ให้เข้าถึงสิทธิการรักษา 5 โรค ตามโรงพยาบาลที่กำหนด 7,500 คน ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม ก้อนเนื้อที่มดลูก โรคนิ่ว โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจและหลอดเลือด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม- 30 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป

3. ให้งานทำ “ต้องการทำงาน ต้องได้งานทำ” โดยมีตำแหน่งงานว่าง ที่หลากหลายไว้ให้บริการ รวม 613,754 อัตรา แบ่งเป็นต่างประเทศ 50,000 อัตราและในประเทศ 563,784 อัตรา

4. ฟรี ค้นหาความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจในสถานประกอบการสำหรับผู้ประกันตน 300,000 คน ใน 7 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จ. สมุทรปราการ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี ระยอง พระนครศรีอยุธยา และสมุทรสาคร ให้ได้รับการตรวจสุขภาพ โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกันตนต่อหัว เฉลี่ยรายละ 910 บาท (กลุ่มเสี่ยง) และ 340 บาท (กลุ่มไม่เสี่ยง) ตั้งแต่ มกราคม 2566 เป็นต้นไป

5. ฟรี อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ 10,000 คน โดยมีหลักสูตรการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการทำงาน เช่น กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และทักษะการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย ในการทำงาน ตั้งแต่ มกราคม – 31 มีนาคม 2566

6. ลดอัตราค่าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ คงเหลือ 1-3 บาท นาน 3  เดือน มีผู้เข้าร่วมทดสอบ 5,000 คน ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2566

นโยบาย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo