Economics

‘นฤมล’ แนะเสริมจุดแข็ง’ส่งออก-ท่องเที่ยว’ เร่งปิดจุดอ่อน ‘หนี้ครัวเรือน-เอสเอ็มอี’ ดันเศรษฐกิจปี 66

“นฤมล” แนะรัฐ เร่งส่งเสริม “ท่องเที่ยว-ส่งออก” ให้เป็นตัวหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ควบคู่ไปกับการจัดหามาตรการเสริมเฉพาะจุด แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน และเอสเอ็มอี 

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ระบุถึง กรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขเงินกองทุนและเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ล่าสุด ยังอยู่ในระดับสูง และสถานะทางการเงินของธุรกิจประกันภัยยังมั่นคง สะท้อนว่า ระบบการเงินไทยยังมั่นคง แต่ระบบการเงินโลกยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ที่อาจส่งผลกระทบกับเสถียรภาพของระบบการเงินไทยได้

shutterstock 1443842495

การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ตัวเลขการส่งออกทั่วโลกหดตัว การส่งออกไทย เดือนตุลาคม 2565 ขยายตัวติดลบครั้งแรกในรอบ 9 เดือนนับตั้งแต่เดือนมกราคม ที่ 4.4% หรือมูลค่า 801,273 ล้านบาท

ล่าสุด ธปท. และสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) คาดว่า มูลค่าการส่งออกของไทยปี 2566 จะโตเพียง 1% จากปี 2565 ทิศทางการส่งออกของไทยในปี 2566 จึงยังเป็นที่น่ากังวล โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มรถยนต์และชิ้นส่วน และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

ขณะที่รายได้จากภาคการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มศักยภาพ ต้องเร่งแผนส่งเสริมการส่งออก เพื่อเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย การส่งออกสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตรยังไปได้ดี โดยเฉพาะ “ข้าว” ยังเป็นพระเอก ส่งออกขยายตัว 2.8% ต่อเนื่องมาตลอด มีโอกาสเติบโตเพิ่มทั้งในตลาดอิรัก จีน แอฟริกาใต้ และญี่ปุ่น

นอกจากเร่งส่งเสริมจุดแข็งในภาคส่งออก และภาคท่องเที่ยวแล้ว ต้องรีบปิดจุดอ่อนในระบบการเศรษฐกิจและการเงินไทย คือ ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือน และผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอี ที่ยังมีมูลหนี้ในระดับสูง

สัญญาณหนี้เสียมาจากกลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังไม่ฟื้นตัว การระดมสรรพกำลังแก้หนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ให้กลุ่มนี้ไม่เพียงพอ เขาจำเป็นต้องได้รับมาตรการเสริมเฉพาะจุดในการช่วยเพิ่มรายได้ และมาตรการที่จะช่วยลดค่าครองชีพ

S 31219745

ไม่ต้องทำแบบหว่านแหให้ทุกคน แต่ทำเฉพาะกลุ่ม ด้วยการใช้ข้อมูลเฉพาะของกลุ่มเปราะบางนี้ มาจัดมาตรการเฉพาะช่วยเหลือในระยะเร่งด่วนถึงระยะปานกลาง จะเป็นหนทางในการป้องกันความเสี่ยงให้กับระบบเศรษฐกิจและการเงินไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo