Economics

รวมช่องทาง จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ครบจบที่นี่!

“ประกันสังคม” เพิ่มช่องทางการให้บริการชำระเงินกองทุนเงินทดแทน ชำระวิธีไหน มีช่องทางไหนบ้าง เช็กเลย!!

สำนักงานประกันสังคม เพิ่มช่องทางการให้บริการชำระเงินกองทุนเงินทดแทน และช่องทางรายงานค่าจ้างกองทุนเงินทดแทน ประจำปี 2565 มีช่องทางไหนบ้าง เช็กเลย!

กองทุนเงินทดแทน

1. ชำระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร (ไม่เสียค่าธรรมเนียม)

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)                            
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)   

2. ไปรษณีย์ ชำระด้วยธนาณัติ พร้อมยื่นสำเนาใบแจ้งการประเมินเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนประจำปี (กท.26)

3. เคาน์เตอร์เซอร์วิส ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น และเคาน์เตอร์ชำระเงินที่มีสัญลักษณ์ วงเงินสูงสุดจำนวน 49,000 บาท ต่อ 1 รายการ ค่าธรรมเนียม 10 บาท ต่อ 1 ใบเสร็จ

4. โลตัส (Lotus’s) รับชำระได้เฉพาะเงินสมทบ วงเงินสูงสุดจำนวน 49,000 บาท ต่อ 1 รายการ ค่าธรรมเนียม 10 บาทต่อ 1 ใบเสร็จ โดยนายจ้างยื่นใบแจ้งประเมินเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนที่มี Barcode

5.ผ่านระบบ e-Payment รับชำระเงินสมทบพร้อมเงินเพิ่มตามกฎหมาย

ฟรีค่าธรรมเนียม

  • e-Payment ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • e-Payment ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • e-Payment ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • e-Payment ธนาคารดอยซ์แบงก์
  • e-Payment ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • e-Payment ธนาคารออมสิน
  • e-Payment ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...)
  • e-Payment ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส
  • e-Payment บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด

จ่ายทดแทน

สำนักงานประกันสังคมสาขาที่รับผิดชอบ รับชำระเฉพาะ เงินสมทบที่ไม่สามารถชำระผ่านช่องทางอื่นได้ และช่องทางรายงานค่าจ้างกองทุนเงินทดแทน ประจำปี 2565 มีช่องทางไหนบ้าง

1. e-Wage

  • www.sso.go.th
  • เข้าระบบ e-Service
  • เลือกกองทุนเงินทดแทน

2. ยื่นแบบรายงานค่าจ้างกองทุนเงินทดแทนประจำปี 2565

  • สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

กองทุนเงินทดแทน คือ กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบ อันตราย เจ็บป่วย ถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยไม่คำนึงถึงวัน เวลา และสถานที่ แต่จะดูสาเหตุที่ทำให้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียว จะเรียกเก็บจากนายจ้าง เป็นรายปี โดยประเมินจำนวนเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างทั้งปีรวมกัน (คนละไม่เกิน 240,000 บาทต่อปี) คูณกับอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการระหว่างอัตรา 0.2-1.0% โดยนายจ้างแต่ละประเภทจะจ่าย ในอัตราเงินสมทบหลักที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเสี่ยงภัย ตามรหัสประเภทกิจการของนายจ้างนั้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo