COVID-19

‘ผู้ป่วยโควิด’ ม.33 ม.39 และ 40 ได้ชดเชยอะไรบ้าง เช็คสิทธิเลย!!

‘ผู้ป่วยโควิด’ ม.33 ม.39 และ 40 ได้ชดเชยอะไรบ้าง จากประกันสังคม

ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน ซึ่งเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ ไม่ใช่มนุษย์เงินเดือน แต่ยังจ่ายเงินสมทบให้กับ สำนักงานประกันสังคม หรือ ผู้ประกันตนมาตรา 39  และ มาตรา 40 หากติดเชื้อโควิด 19 และต้องกักตัว จะได้รับการชดเชย มีสิทธิได้รับการชดเชยจาก สำนักงานประกันสังคม อย่างไรบ้าง ที่นี่มีคำตอบ

ผู้ป่วยโควิด

ผู้ประกันตนมาตรา 33 มนุษย์เงินเดือน

หากติดเชื้อโควิด ทางสำนักงานประกันสังคมจะพิจารณาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ ช่วง 30 วันแรกที่ลาป่วยจะได้ค่าจ้างจากนายจ้าง แต่หากมีความจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วันจะสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมได้ ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยเป็นต้นไป

ผู้ประกันตนมาตรา 39 เคยเป็นมนุษย์เงินเดือน แต่ออกจากงานแล้ว และยังจ่ายเงินสมทบเพื่ออยู่ในระบบประกัน

จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50% โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39 (4,800 บาท) จ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน

ยกเว้นแพทย์วินิจฉัยให้เป็นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วันต่อปีปฏิทิน สูตรการคำนวณให้ใช้ฐานค่าจ้าง 4,800 ÷ 30 วัน จะได้ค่าจ้างเฉลี่ยวันละ 160 × 50% = 80 บาท

ผู้ป่วยโควิด

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือ แรงงานอิสระ

มี 3 ทางเลือก

1.นอน ร.พ. 1 วันขึ้นไป ได้ค่าชดเชย 300 บาท / วัน

2.ไม่นอนร.พ. แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จ่ายค่าชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วัน / ปี

และ 3. นอน ร.พ. 1 วันขึ้นไป ได้ค่าชดเชย 300 บาท / วัน หากไม่นอนโรงพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป จ่ายค่าชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 90 วัน / ปี

ผู้ประกันตนที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่า เป็นผู้ป่วยโควิด สำนักงานประกันสังคมจะจ่าย ค่าบริการทางการแพทย์ แก่สถานพยาบาล และแพทย์ผู้ดูแลรักษาพิจารณาแล้วว่าผู้ป่วย เข้าเกณฑ์การดูแลรักษาในที่พัก ระหว่างรอเข้ารักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Home Isolation) และการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม สำหรับคนในชุมชน (Community Isolation) ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

ผู้ป่วยโควิด

ค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ดังนี้

ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตนที่ป่วย โดยเป็นค่าใช้จ่ายรวมค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามประเมินอาการ และการให้คำปรึกษา เหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาทต่อวัน ไม่เกิน 14 วัน

ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ค่าปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น ค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

ค่ายาที่ใช้รักษา

ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล

ค่าบริการ X-ray ทรวงอก

ค่า oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo