COVID-19

‘หมอสันต์’ เปิดงานวิจัยชิ้นแรกความรุนแรงของโอไมครอน ‘อัตราตายใกล้ศูนย์’

‘หมอสันต์’ เปิดงานวิจัยชิ้นแรกความรุนแรงของโอไมครอน ‘ตายใกล้ศูนย์’ ต่างจากเดลต้าถึง 9 เท่า ย้ำวางแผนจัดการสุขภาพตนเองให้ดี อย่าลืมใส่ใจโรคอื่นๆ ที่มีอันตราการตายสูงกว่า

วันนี้ (13 ม.ค.) นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว ได้โพสต์บทความในเฟซบุ๊กส่วนตัวเปิดผลการวิจัยจากแคลิฟอร์เนีย โดยการสนับสนุนของศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐฯ (CDC) มีศูนย์ประสานงานการวิจัยที่ยูซี.เบอร์คเลย์ ดังนี้

shutterstock 2082522934

งานวิจัยนี้ทำกับผู้ป่วยติดเชื้อโอไมครอนที่ยืนยืนการตรวจด้วยเทคนิค SGTF (S gene target failure) ทำเฉพาะกับผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลจำนวนรวม 52,297 คน พบมีผู้ป่วยทั้งหมด รวม 52,297 คน หากนับเฉพาะคนที่ติดตามได้อย่างน้อย 5.5 วัน รวมทั้งหมด 288,534 คนวัน พบว่า ผู้ป่วยถูกรับไว้ในโรงพยาบาล 88 คน (0.48%) ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 0 คน (0%) ท้ายที่สุดแล้วมีตาย 1 คน (0.09%)

โดยที่การติดเชื้อและระดับความรุนแรงมีการกระจายตัวเท่าๆกันทุกกลุ่มอายุ ไม่เป็นความจริงที่ว่าเด็กป่วยมากกว่าและจะตายมากกว่า

shutterstock 1659432283
COVID-19 Health insurance concept. Blurring of hand holding pen and Stethoscope on health form. Focus on ” COVID-19 “

ขณะเดียวกันงานวิจัยนี้ยังได้เปรียบเทียบกับการติดเชื้อเดลต้าซึ่งมาที่กลุ่มโรงพยาบาลเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกันจำนวน 16,982 คน พบว่า ผู้ป่วยทั้งหมด รวม 16,982 คน ถูกแอดมิทเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 222 คน (1.3%) ใส่เครื่องช่วยหายใจ 11 คน (0.06%) ท้ายที่สุดแล้วตาย 14 คน (0.8%)

 โปรดสังเกตว่าอัตราตายของโอไมครอนคือ 0.09% นั้นต่ำกว่าอัตราตายของเดลต้าซึ่งตาย 0.8%ต่างกันถึง 9 เท่า

shutterstock 2082724636

นพ.สันต์ ระบุว่า ที่กล่าวถึงงานวิจัยชิ้นนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนจัดการโรคให้กับทุกคน ในการจัดการสุขภาพของตนเอง เพื่อที่เราจะได้ไม่ทำอะไรที่มากเกินไป หรือที่เสี่ยงเกินไป หรือที่แพงเกินไป เพื่อปกป้องตัวเราให้จากพ้นโรคที่มีอัตราตายต่ำกว่า 0.1% หรือพูดง่ายๆว่าใกล้ศูนย์ โดยยอมทิ้งความใส่ใจในโรคเจ้าประจำอื่นๆที่มีอัตราตายสูงกว่า เช่นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีอัตราตาย 30% โรคไข้หวัดใหญ่มีอัตราตาย 0.13-0.17% เป็นต้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo