COVID-19

มาตรการเยียวยา ช่วยเหลือลูกหนี้ บรรเทาพิษโควิด รอบปี 2564 มัดรวมไว้แล้ว ที่นี่!!

รวมมาตรการเยียวยาช่วยลูกหนี้ บรรเทาผลกระทบโควิด-19 ธปท. เดินหน้ารีไฟแนนซ์และการรวมหนี้ หวังแก้หนี้ระยะยาว เช็คมาตรการช่วยเหลือจากธนาคารรัฐ-พาณิชย์ ในรอบปี 2564 ได้ที่นี่

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายภาคส่วนธุรกิจ รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้รับผลกระทบส่งผลให้สถาบันการเงิน นำโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคาร ออกมาจัดมาตรการเยียวยาช่วยลูกหนี้ ทั้งการพักการชำระหนี้ การยืดระยะเวลาจ่ายหนี้ รวมถึงการให้วงเงินกู้เพื่อเพิ่มวงเงินหมุนเวียน ดังนี้

มาตรการเยียวยา

ธปท. จูงใจสถาบันการเงิน รีไฟแนนซ์-รวมหนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กำหนดให้มีแรงจูงใจในการสนับสนุนให้สถาบันการเงินทำการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (debt consolidation) เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ด้วยการนำหลักประกันของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการช่วยลดภาระดอกเบี้ยและค่างวดในระยะยาว

นอกจากนี้ ธปท. ได้ดำเนินการลดข้อจำกัดการทำรีไฟแนนซ์ (refinance) หนี้ เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของสถาบันการเงินในการรวมหนี้ให้กับลูกหนี้ควบคู่ไปด้วย ดังนี้

การปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการรวมหนี้

1. ห้ามเรียกเก็บค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด (prepayment fee) สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับและสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ เป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566

ธปท. รวมหนี้1

2. ปรับปรุงแนวทางการรวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่น (debt consolidation) โดยขยายขอบเขตให้สามารถรวมหนี้ข้ามสถาบันการเงินและ/หรือผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้ จากเดิมที่สามารถรวมหนี้ได้เฉพาะหนี้ในสถาบันการเงินเดียวกัน

มาตรการเยียวยาสนับสนุนรีไฟแนนซ์

ส่วนในกรณีที่รับโอนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (refinance) มาจากสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ได้

สำหรับสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่นำมารวมหนี้ด้วย ให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นอัตราที่ใช้หลังการส่งเสริมการขาย (teaser rate) บวก 2% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อรายย่อยโดยทั่วไปอย่างมีนัย

ธปท.รีไฟแนนซ์

โดย ธปท. ได้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแล ทั้งการจัดชั้นหนี้ การกันเงินสำรอง และการดำรงเงินกองทุน เพื่อลดต้นทุนให้กับสถาบันการเงินที่ช่วยเหลือลูกหนี้ สำหรับการรวมหนี้ที่ดำเนินการภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพื่อสนับสนุนให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการดังกล่าว

ทั้งนี้ คาดว่าสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะทยอยเสนอผลิตภัณฑ์การรวมหนี้ได้ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2564 โดยลูกหนี้สามารถติดต่อสถาบันการเงินโดยตรงเพื่อสมัครเข้าร่วมมาตรการ

คลินิกแก้หนี้ สูตรจ่ายเท่าที่ไหว

โครงการคลินิกแก้หนี้ได้ดำเนินการปรับเกณฑ์เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ในมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 3 สูตรจ่ายเท่าที่ไหว ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงสิ้นปี 2564 ซึ่งลูกหนี้ที่ชำระหนี้ไม่น้อยกว่า 40% ของค่างวดตามสัญญาจะได้รับส่วนลดดอกเบี้ย 1-2% ต่อปี

ล่าสุด คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการคลินิกแก้หนี้ มีมติเห็นชอบให้ปรับเกณฑ์คุณสมบัติลูกหนี้ที่สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ เพื่อขยายความช่วยเหลือให้ครอบคลุมลูกหนี้สินเชื่อบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน จากเดิมที่ต้องมีสถานะเป็นหนี้เสีย (NPL) ก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยมีผลตั้งแต่ 17 พฤศจิกายน 2564

คลินิกแก้ฟนี้

มาตรการเยียวยาช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมมือกับผู้ให้บริการทางการเงิน ผ่านสมาคมและชมรมต่าง ๆ รวม 8 แห่ง ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 ซึ่งมุ่งเน้นช่วยลดภาระหนี้ในระยะยาว ครอบคลุมสินเชื่อ 4 ประเภท ดังนี้

  • บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล (Revolving & Installment Loan)

1. เปลี่ยนเป็นหนี้ระยะยาว หรือลดค่างวด

2. กรณีขยายระยะเวลาเกินกว่า 48 งวด ให้ผู้บริการทางการเงินทบทวนอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราที่กำหนด

3. รวมหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น

 

สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์

  • จำนำทะเบียนรถยนต์

1. ลดค่างวด

2. สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง พิจารณาใน 2 ทางเลือก ได้แก่ พักชำระค่างวด หรือ การคืนรถสำหรับลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ หากราคาขายประมูลได้จริงต่ำกว่าภาระหนี้ตามสัญญา ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานะของลูกหนี้

3. รวมหนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น

  • จำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์

1. ลดค่างวด

2. รวมหนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น

ธปท.ลูกหนี้ระยะ3

  • เช่าซื้อรถยนต์

1. ลดค่างวด หรือขยายเวลา

2. สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง พิจารณาใน 2 ทางเลือก คือ พักชำระค่างวด โดยยกเว้นดอกเบี้ยในช่วงที่พัก หรือคิดดอกเบี้ยจากฐานค่างวดในช่วงที่พักชำระหนี้ หรือการคืนรถ สำหรับลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้

ท้้งนี้ การช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2 เมื่อคำนวณอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา (EIR: Effective Interest Rate) ต้องไม่สูงกว่า EIR เดิม

3. รวมหนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น

4. หากลูกหนี้ชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในคราวเดียวเพื่อปิดบัญชี ให้ลดดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ไม่น้อยกว่า 50% ตามข้อกำหนดของ สคบ.

  • เช่าซื้อรถจักรยานยนต์

1. ลดค่างวด หรือขยายเวลา เมื่อคำนวณ EIR ใหม่ตลอดสัญญาต้องไม่สูงกว่า EIR เดิม

2. รวมหนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น

3. หากลูกหนี้ชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในคราวเดียวเพื่อปิดบัญชี ให้ลดดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ไม่น้อยกว่า 50% ตามข้อกำหนดของ สคบ.

  • สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน

1. บรรเทาภาระหนี้ โดยลดค่างวด หรือพักเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน หรือพักเงินต้นและพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ย หรือพักชำระค่างวด

2. ทยอยชำระคืนเป็นขั้นบันได (Step up) ตามความสามารถของลูกหนี้ หลังลดค่างวดหรือพักชำระหนี้

3. รวมหนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น

ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบสามารถแจ้งความประสงค์รับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม-31 ธันวาคม 2564 ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของผู้ให้บริการทางการเงิน ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว

ออมสิน1

 

ออมสินปล่อยกู้สูงสุด 10 ล้าน ผ่อน 0% นาน 6 เดือน

ในส่วนของธนาคารออมสิน ได้จัดมาตรการช่วยเหลือช่วงโควิด-19 ด้วยการจัด สินเชื่อไทรทองอเนกประสงค์  เพื่อเสริมภาพคล่อง หรือนำไปไถ่ถอนจำนองสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคจากสถาบันการเงินอื่น โดยผ่อนปรนให้ใช้หลักทรัพย์หลายประเภทมาค้ำประกันเงินกู้ ภายใต้แคมเปญ กู้ปีนี้ ผ่อนปีหน้า

สินเชื่อไทรทองอเนกประสงค์ เป็นสินเชื่อที่สามารถเปลี่ยนทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เป็นเงินช่วยเสริมสภาพคล่องในยามฉุกเฉิน โดยใช้บ้าน ที่ดิน สวนไร่นา หรือคอนโดที่ปลอดภาระจำนองเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

สำหรับเงื่อนไข กำหนดวงเงินกู้สูงสุด 10 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 25 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรก เดือนที่ 7-24 ผ่อนชำระเพียงล้านละ 5,500 บาทต่อเดือน

จากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR ของธนาคารออมสินเท่ากับ 6.245%) หรือคิดเป็นอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปี เพียง 4.914% ต่อปีเท่านั้น ในกรณีผู้กู้ประสงค์ทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองวงเงินสินเชื่อตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด

ทั้งนี้ ผู้กู้จะต้องได้รับอนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2564 โดยสามารถติดต่อยื่นกู้ที่สาขาธนาคารออมสินทุกแห่งทั่วประเทศ

  • มาตรการพักชำระหนี้ลูกค้าสินเชื่อรายย่อย

ให้พักชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยสูงสุด 6 งวด เริ่มตั้งแต่งวดเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564 สำหรับลูกค้าสินเชื่อรายย่อย ที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท และไม่ใช้หลักทรัพย์ ค้ำประกัน ที่ได้รับผลกระทบทำให้ต้องเลิกกิจการ ถูกเลิกจ้าง ขาดรายได้ ฯลฯ ฯลฯ (ยกเว้นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ) สามารถเข้าตรวจสอบสิทธิ์ในแอป MyMo และกดทำรายการได้ทันทีที่ปรากฏเมนูพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย

ส่วนผู้ที่ยังไม่มีแอป MyMo แต่มีบัตรเดบิต สามารถดาวน์โหลดและเปิดใช้งานแอป MyMo ด้วยตนเองได้โดยใช้ข้อมูลบัตรเดบิต ซึ่งจะได้รับความสะดวกในการขอพักชำระหนี้โดยไม่ต้องเดินทางไปติดต่อที่สาขาธนาคาร

  • มาตรการพักชำระหนี้กลุ่มธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ต เกสต์เฮาส์ เซอร์วิสอพาร์ตเม้นท์
  • กำหนดเงื่อนไขพักเงินงวดผ่อนชำระให้สูงสุด 6 งวด เริ่มตั้งแต่งวดเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564 หลังจากเมื่อสิ้นสุดระยะการพักชำระหนี้ ให้กลับมาจ่ายเงินงวดตามเงื่อนไขเดิม
  • เงินต้นและดอกเบี้ยที่ได้พักไว้ จะถูกนำไปรวมชำระในงวดสุดท้ายของสัญญาเงินกู้ โดยไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระและไม่ส่งผลต่อข้อมูลเครดิตของลูกค้า รวมถึงไม่มีดอกเบี้ยผิดนัดใด ๆ

ลูกค้าสินเชื่อ SMEs มีวงเงินกู้ไม่กิน 250 ล้านบาท ติดต่อเข้าร่วมมาตรการเยียวยาได้ที่สาขาธนาคาร หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GSB Contact Center โทร. 1115

ธอส.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ช่วยลูกหนี้ NPL

จัดทำมาตรการที่ 17 (M 17) ช่วยเหลือลูกหนี้สถานะ NPL ให้ผ่อนชำระเงินงวดต่ำพร้อมลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษ ระยะเวลา 1 ปี แบ่งเป็น

  • เดือนที่ 1-3 ผ่อนชำระเพียงงวดละ 1,000 บาท คิดดอกเบี้ยเท่ากับ 0% ต่อปี (ตัดชำระเงินต้นทั้งหมด)
  • เดือนที่ 4-6 คิดเงินงวดจากอัตราดอกเบี้ย 1.99% ต่อปี กรณีเงินต้นคงเหลือ 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 1.99% ต่อปี เงินงวดจะอยู่ที่ 1,800 บาทต่อเดือน
  • เดือนที่ 7-12 คิดเงินงวดจากอัตราดอกเบี้ย 3.90% ต่อปี กรณีเงินต้นคงเหลือ 1 ล้านบาท เงินงวดจะอยู่ที่ 3,500 บาท

ทั้งนี้ หากลูกหนี้ชำระเกินที่ธนาคารจำหนดจะนำไปตัดดอกเบี้ยค้างชำระของลูกหนี้ (ถ้ามี)

ลูกหนี้ที่มีสิทธิ์เข้ามาตรการเยียวยา คือ ลูกหนี้ที่มีสถานะ NPL (ค้างชำระเงินงวดติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน) หรือ ลูกหนี้ที่ยังมีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้มาตรการความช่วยเหลือของธนาคาร หรืออยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร (จะพ้นสิทธิตามมาตรการเดิมเมื่อเปลี่ยนมาใช้มาตรการนี้)

นอกจากนี้ ต้องเป็นลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ/ธุรกิจ/การค้า เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยไม่สามารถผ่อนชำระเงินงวดตามสัญญาเงินกู้ หรือตามข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้ หรือตามคำพิพากษาได้

  • ขยายระยะเวลา ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ปี 2564

ธอส. ยังขยายระยะเวลาความช่วยเหลือลูกค้าเดิม ที่อยู่ระหว่างการใช้มาตรการความช่วยเหลือของธนาคาร ตาม “โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ปี 2564” จำนวน 7 มาตรการ ไปสิ้นสุดความช่วยเหลือในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 (จากเดิมสิ้นสุดความช่วยเหลือ 31 กรกฎาคม 2564)

  • มาตรการที่ 9, 10, 11 และ 11 New Entry แบ่งจ่ายเงินงวดผ่อนชำระ (ตัดต้น ตัดดอก) เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระในปัจจุบัน ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าที่อยู่ในมาตรการทั้งที่ มีสถานะบัญชีปกติ สถานะ NPL ลูกหนี้สถานะ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้
  • มาตรการที่ 12 ขยายระยะเวลาลดเงินงวดผ่อนชำระ และพักชำระหนี้ สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการสินเชื่อแฟลตรายเดิม ที่อยู่ในมาตรการความช่วยเหลือของธนาคาร ครอบคลุมลูกค้าผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีสถานะบัญชีปกติ และไม่เคยเข้าร่วมมาตรการของธนาคารมาก่อน
  • มาตรการที่ 13 พักชำระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ (ไม่เป็น NPL ไม่อยู่ขั้นตอนของกฎหมาย และไม่อยู่ระหว่างทำข้อตกลงประนอมหนี้) ที่อยู่ระหว่างใช้มาตรการความช่วยเหลือเดิมของธนาคาร
  • มาตรการที่ 14 พักชำระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน พร้อมลดดอกเบี้ยลงเหลือ 3.90% ต่อปี สำหรับลูกหนี้ที่สถานะ NPL และลูกหนี้ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และไม่สามารถผ่อนชำระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามสัญญาเงินกู้

ธกส.

ธ.ก.ส. เปิด 2 สินเชื่อใหม่ ให้กู้ 1 แสน

1. สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ วงเงินกู้ ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย

วัตถุประสงค์การกู้เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายหรือค่าลงทุนในการเริ่มต้นประกอบอาชีพ สนับสนุนการสร้างงาน สร้างอาชีพในชุมชนเมืองและภาคชนบท ผ่านโครงการสินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ

คุณสมบัติผู้กู้ ต้องเป็นเกษตรกร ทายาทเกษตรกร บุคคลในครัวเรือนเกษตรกร หรือบุคคลทั่วไป ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีแผนในการประกอบอาชีพเกษตรหรือ ประกอบการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรืออาชีพนอกภาคการเกษตร หรืออาชีพที่มีลักษณะเป็นการลงทุนค้าขายเพื่อเลี้ยงชีพในครัวเรือนซึ่งใช้เงินลงทุนไม่มากนัก

กรณีกู้เป็นค่าใช้จ่ายคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน (พิเศษไม่เกิน 18 เดือน) นับแต่วันกู้ กรณีเป็นค่าลงทุนปีที่ 1-3 คิดดอกเบี้ย 4% ต่อปี ปีที่ 4-5 อัตราดอกเบี้ย MRR กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 5 ปี โดยปลอดชำระต้นเงิน 2 ปีแรก แต่ยังต้องชำระดอกเบี้ย

2. สินเชื่อนวัตกรรมดี มีเงินทุน

สนับสนุนให้เกษตรกรและบุคคลทั่วไปที่มีแนวคิดในการประกอบอาชีพการเกษตร หรือนอกภาคการเกษตรที่ใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ในลักษณะ Smart Farmer ตลอดจนภูมิปัญญาชาวบ้าน มาใช้ในการประกอบอาชีพการเกษตรหรือนอกภาคการเกษตร หรือต่อยอดธุรกิจที่ดำเนินการอยู่เดิม เป็นการสร้างรายได้ หรือฟื้นฟูธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้

คุณสมบัติผู้กู้ ต้องเป็นเกษตรกรหรือบุคคลทั่วไป ที่มีการจัดทำแผนงานหรือแผนธุรกิจที่ชัดเจน มีทักษะและประสบการณ์ในการประกอบอาชีพนั้น ๆ รวมถึงมีแนวคิดในการใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีหรือได้รับการศึกษา หรือฝึกอบรมจากส่วนงานทั้งของภาครัฐหรือเอกชน วงเงินให้กู้ตามความจำเป็นตามแผนการประกอบอาชีพหรือแผนธุรกิจ

อัตราดอกเบี้ย กรณีกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย อัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน (พิเศษไม่เกิน 18 เดือน) นับแต่วันกู้ กรณีเป็นค่าลงทุน ปีที่ 1-3 อัตราร้อยละ 4 ต่อปี ปีที่ 4 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.5 ต่อปี) กำหนดระยะเวลาชำระคืน ไม่เกิน 10 ปี ปลอดชำระ ต้นเงิน 3 ปีแรก แต่ยังต้องชำระดอกเบี้ย

ระยะเวลาจ่ายเงินกู้ทั้ง 2 โครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2567

กรุงไทบ

ธนาคารกรุงไทย ออก 5 มาตรการเยียวยาช่วยลูกหนี้ทุกกลุ่ม

1. สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อ Home for Cash สินเชื่อกรุงไทยบ้านให้เงิน (Home Easy Cash) วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา พักชำระเงินต้นและชำระดอกเบี้ยบางส่วน สูงสุด 12 เดือน หรือขยายระยะเวลาโดยลดอัตราผ่อนชำระ สูงสุด 12 เดือน หรือพักชำระเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย สูงสุด 3 เดือน

2. สินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ลดการผ่อนชำระค่างวดลง 30% นานสูงสุด 6 เดือน

3. สินเชื่อวงเงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Loan) ได้แก่ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ สินเชื่อกรุงไทยธนวัฏ 5 Plus ปรับเป็นวงเงินกู้แบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Loan) ได้นาน 48 งวด หรือตามความสามารถในการชำระหนี้

4. มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ต่อปี ใน 2 ปีแรก (อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี) ผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ได้รับยกเว้นดอกเบี้ย 6 เดือนแรก รวมทั้งได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นานสูงสุด 10 ปี

เปิดกว้างให้ลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ ลูกค้าเดิมที่มีวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ขอกู้ได้ไม่เกิน 30% ของวงเงินเดิมที่มีอยู่กับธนาคาร สูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาท ลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ณ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ขอกู้ได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท

2. มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจที่มีศักยภาพและมีทรัพย์สินเป็นหลักประกันให้สามารถลดภาระทางการเงินชั่วคราว ในช่วงที่รอให้ธุรกิจฟื้นตัว ด้วยวิธีการโอนทรัพย์ชําระหนี้และได้รับสิทธิซื้อทรัพย์คืนในอนาคต ในราคาต้นทุนรับโอนบวกค่าธรรมเนียม Carrying Cost 1 % และบวกค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์ที่ธนาคารจ่ายตามจริง หักค่าเช่าที่ลูกค้าชำระมาแล้ว

มาตรการนี้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีค่าธรรมเนียมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการรับโอนและการโอนคืนกลับให้ลูกค้า สําหรับลูกค้าที่มีความประสงค์โอนทรัพย์สินเพื่อชําระหนี้ ต้องมียอดสินเชื่อธุรกิจคงเหลือกับธนาคาร ณ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และ ไม่เป็น NPL ณ 31 ธันวาคม 2562 รวมทั้งทรัพย์สินที่โอนต้องเป็นหลักประกันกับธนาคารก่อน 1 มีนาคม 2564

กรุงเทพ

ธนาคารกรุงเทพช่วยลูกค้าบัตรเครดิต สินเชื่อเงินกู้

1. บัตรเครดิต

  • ปรับลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำมาอยู่ที่ 5% (จากเดิม 10%) จนถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกรายได้รับสิทธิ์อัตโนมัติ โดยไม่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์
  • ปรับลดเพดานดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 16% ต่อปี (จากเดิม 18% ต่อปี) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพทุกประเภท และทุกรายได้รับสิทธิ์อัตโนมัติ โดยไม่ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ์
  • ขยายวงเงินให้แก่ลูกค้าที่มีความจำเป็นและมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับลูกค้าที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท จาก 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันนี้-31 ธันวาคม 2564 (เข้าร่วมโครงการ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2638-4000

2. สินเชื่อเงินกู้ที่ผ่อนชำระเป็นงวด (Installment Loan)

  • ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี

3. สินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน

  • เลื่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือ
  • เลื่อนชำระเงินต้น (จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ลูกค้าแต่ละรายตามความเหมาะสม หรือ
  • ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้

กสิกร

​ธนาคารกสิกรไทย จัดมาตรการเยียวยา โครงการรวมใจไม่ทิ้งกัน

ประเภทที่ 1 มาตรการช่วยเหลือที่ไม่ต้องลงทะเบียน (ลดอัตราดอกเบี้ยให้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องติดต่อธนาคาร)

1. บัตรเครดิตกสิกรไทย ลดอัตราดอกเบี้ยจาก 18% เป็น 16%

2. บัตรเงินด่วน ลดอัตราดอกเบี้ยจาก 28% เป็น 25%

3. สินเชื่อเงินด่วน ลดอัตราดอกเบี้ยจาก 28% เป็น 25%

4. สินเชื่อรถ (สินเชื่อรถช่วยได้ ประเภทจำนำทะเบียนรถ) ลดอัตราดอกเบี้ยจาก 28% เป็น 24%

ประเภทที่ 2 มาตรการช่วยเหลือที่ต้องลงทะเบียน

1. บัตรเครดิตสกิกรไทย

  • ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 รอบบัญชีนับจากเดือนที่ลงทะเบียน
  • ทางเลือกที่ 2 เปลี่ยนยอดคงค้าง เป็นผ่อนชำระ 48 งวด ดอกเบี้ยพิเศษ 12% ต่อปี

2. บัตรเงินด่วน

  • ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 รอบบัญชีนับจากเดือนที่ลงทะเบียน
  • ทางเลือกที่ 2 เปลี่ยนยอดคงค้าง เป็นผ่อนชำระ 48 งวด ดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี

3. สินเชื่อเงินด่วน

  • ทางเลือกที่ 1 พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 รอบบัญชีนับจากเดือนที่ลงทะเบียน
  • ทางเลือกที่ 2 ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 6 รอบบัญชี ดอกเบี้ยพิเศษ 22% ต่อปี

4. สินเชื่อบ้านกสิกรไทย

  • ทางเลือกที่ 1 จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย และลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.1% เป็นเวลา 3 เดือน
  • ทางเลือกที่ 2 ลดค่างวด 50% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 3 เดือน
  • ทางเลือกที่ 3 พักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย เป็นเวลา 3 เดือน

กรุงศรี

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บรรเทาผลกระทบโควิด ระยะที่ 2

1. สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อส่วนบุคคล

  • พักชำระหนี้เงินต้น สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน
  • พักชำระหนี้เงินผ่อนชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) สูงสุดไม่เกิน 3 เดือน
  • ปรับลดค่างวดผ่อนชำระ (Installment) อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 30% ของค่างวดเดิม (สินเชื่อส่วนบุคคล)
  • เปลี่ยนจากวงเงินหมุนเวียน (Revolving) เป็นผ่อนชำระค่างวด สูงสุดไม่เกิน 48 เดือน (สินเชื่อส่วนบุคคล)

2. ลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลในเครือกรุงศรี คอนซูมเมอร์

มาตรการที่ 1 ลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ โดยไม่ต้องลงทะเบียน หรือโทรแจ้งความจำนงกับบริษัท

  • บัตรเครดิต ปรับจาก 10% เป็น 5%
  • สินเชื่อส่วนบุคคล ปรับจาก 5% เป็น 3%

มาตรการที่ 2 ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษและขยายเวลาผ่อนชำระ สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ (โดยต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านโมบายแอป UCHOOSE เท่านั้น)

  • บัตรเครดิต อัตราดอกเบี้ยพิเศษ พร้อมลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายเวลาผ่อนชำระให้นานสูงสุด 99 เดือน (ขึ้นอยู่กับยอดคงค้าง)
  • สินเชื่อบุคคล อัตราดอกเบี้ยพิเศษ พร้อมลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายเวลาผ่อนชำระให้นานสูงสุด 99 เดือน (ขึ้นอยู่กับยอดคงค้าง)

มาตรการที่ 3 ปรับลดยอดผ่อนชำระรายเดือนด้วยการขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระนานสูงสุด 99 เดือน (ปรับโครงสร้างหนี้) พร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต และผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล สำหรับลูกค้าที่มียอดค้างชำระ โดยลูกค้าสามารถแจ้งความจำนง หรือติดต่อมายังบริษัท และจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี

3. ลูกค้าสินเชื่อยานยนต์ กรุงศรี ออโต้

  • ลดค่างวดผ่อนชำระสูงสุด 30% ของค่างวดเดิม หรือ
  • พักชำระค่างวด สูงสุด 3 เดือน
  • สินเชื่อเช่าซื้อ พักชำระ ค่างวดทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย
  • สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ พักชำระ เฉพาะเงินต้น
  • พักชำระหนี้ ยืดระยะเวลาผ่อนชำระ มาตรการช่วยลูกหนี้ ช่วงโควิด-19

ยูโอบี

ธนาคารยูโอบี ช่วยลูกหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด

1. บัตรเครดิต ปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำจากเดิม 10% เป็นดังนี้

  • ปี 2563-2563 ชำระขั้นต่ำ 5%
  • ปี 2565 ชำระขั้นต่ำ 8%
  • ปี 2566 ชำระขั้นต่ำ 10% ตามเดิม

2. บัตรกดเงินสดแคชพลัส ปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็นดังนี้

  • ปี 2563-2565 ชำระขั้นต่ำ 2.5%
  • ปี 2566 ชำระขั้นต่ำ 5% ตามเดิม

3. บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสดแคชพลัส

  • พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชี
  • เปลี่ยนยอดหนี้คงค้างเป็นยอดผ่อนชำระรายเดือนสูงสุด 48 รอบบัญชี

4. สินเชื่อส่วนบุคคล i-Cash

  • พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชี

5. สินเชื่อบ้าน

  • พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 รอบบัญชี
  • พักชำระเงินต้น โดยชำระเฉพาะดอกเบี้ย 12 รอบบัญชี

ธนาคารทิสโก้ ส่งมาตรการเยียวยา ปรับลดค่างวด

1. สินเชื่อเงินกู้ ประเภทจำนำทะเบียนรถ

  • ลดค่างวด 30% ของค่างวดเดิม โดยขยายเวลาการผ่อนชำระ และอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% ต่อปี

2. สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์

  • พักชำระค่างวด 3 งวด หรือ
  • ปรับลดค่างวด โดยขยายเวลาการผ่อนชำระ

3. สินเชื่อที่อยู่อาศัย

  • เลื่อนจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 3 เดือน หรือ
  • เลื่อนการจ่ายเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยตามความเหมาะสม หรือ
  • ลดค่างวดโดยขยายเวลาชำระหนี้

ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) อุ้มบัตรเครดิต สินเชื่อ

1. ผู้ถือบัตรเครดิต

  • ปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำจาก 10% เป็น 5% สำหรับลูกค้าบัตรเครดิตทุกท่านอัตโนมัติโดยไม่ต้องแจ้งความประสงค์ ตั้งแต่วันนี้-31 ธันวาคม 2564
  • ปรับลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตทุกประเภท จาก 18% เป็น 16% สำหรับลูกค้าบัตรเครดิตทุกท่าน อัตโนมัติ โดยไม่ต้องติดต่อธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป

2. ลูกค้าสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ไม่จำกัดวงเงินสินเชื่อ

  • ปรับลดภาระค่างวดต่อเดือน และขยายเวลาชำระค่างวด

3. ลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สามารถเลือกเข้าร่วมมาตรการใดมาตรการหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ผ่อนปรนการชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือ
  • ผ่อนปรนการชำระเงินต้นเป็นระยะเวลา 3 เดือน และปรับอัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสม หรือ
  • ปรับลดยอดผ่อนชำระค่างวด และขยายระยะเวลาชำระหนี้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo