COVID-19

โควิดระบาดเกินคาด ฝันร้าย ‘ประกันไทย’ ขาดทุนมหาศาล เสี่ยงทำอุตฯ ล่ม

16 บริษัทประกัน หวังโกยเงิน “ประกันโควิด” เจอเกมพลิก ระบาดรอบใหม่รุ่นแรงมาก เจอเคลมสินไหมหนัก ขาดทุนรวมแล้วหายพันล้านบาท เตือน ยังมีประกันไม่หมดอายุอีกมาก หากระบาดรอบใหม่ เสี่ยงล่มสลาย

นิกเคอิ เอเชีย รายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า บริษัทประกันไทย 16 แห่ง ตกอยู่ในภาวะขาดทุนอย่างหนัก จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ประกันโควิด-19 ราคาถูก ที่เริ่มจำหน่ายตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว โดย 10 บริษัทในจำนวนนี้ เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพิ่งรายงานผลประกอบการไตรมาส 3 นับถึงเดือนกันยายนที่ผ่านมา มียอดขาดทุนรวมกันแล้วราว 5,800 ล้านบาท

shutterstock 1943929324

สินมั่นคง ประกันภัย เป็นบริษัทที่มียอดขาดทุนสุทธิมากสุดที่ 3,700 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการจ่ายค่าสินไหมถึง 6,800 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 339% และ 6,000 บาทในจำนวนนี้ มาจากการเคลมประกันโควิด

เหตุผลที่ยอดขาดทุนในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น มาจากการเคลมประกันโควิดพุ่งสูงขึ้น

ทั้งนี้ สินมั่นคง เริ่มรับรู้ถึงความรุนแรงของการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากจำนวนผู้ยื่นเคลมประกันพุ่งสูงขึ้น ก่อนที่จะแจ้งกับลูกค้าว่า บริษัทตัดสินใจที่จะยุติการขายประกันโควิดใหม่แล้ว

ทางด้าน เครือไทย โฮลดิ้ง บริษัทประกันในเครือทีซีซี กรุ๊ป ของ เจริญ สิริวัฒนภักดี มหาเศรษฐีพันล้านของไทย รายงานตัวเลขขาดทุนสุทธิที่ 812 ล้านบาท ขณะที่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)ขาดทุน 885 ล้านบาท

นักวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยกสิกรไทบ ระบุว่า บริษัทประกันในไทย เริ่มขายประกันโควิด เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของแต่ละบริษัท มาตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาดมากขึ้นในประเทศ ซึ่งนักวิเคราะห์ชี้ว่า บริษัทเหล่านี้พากันขายกรมธรรม์โดยไม่รู้ว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสจะเลวร้ายลงในปีนี้

ประกันโควิด ทำให้อุตสาหกรรมประกันตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะล่มสลาย และแม้ว่าทั้ง 16 บริษัทจะยุติการขายประกันประเภทนี้แล้ว แต่จำนวนประกันโควิดที่ขายไปแล้วจำนวนมาก ยังมีผลไปจนถึงเดือนมิถุนายน ปี 2565

อานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ระบุว่า ประกันโควิดที่ยังไม่หมดอายุนั้น ทำให้เกิดความกังวลอย่างมาก

เรากังวลกันว่า ยอดเคลมประกันโควิดอาจพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง หากเกิดการระบาดรอบใหม่ขึ้นอีกครั้งในปีหน้า

ความวิตกดังกล่าว ทำให้สมาคมประกันวินาศภัยไทย ซึ่งมีบริษัทประกันภัยเป็นสมาชิกอยู่ 54 รายนั้น ได้ยื่นข้อเสนอต่อ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อให้บริษัทประกันภัย 16 ราย ยกเลิกประกันโควิดที่มีอยู่ โดยให้คืนเบี้ยประกัยเต็ม 100% ให้กับผู้ซื้อประกัน ซึ่งคปภ. ปฏิเสธข้อเสนอนี้ฃ

shutterstock 1953016144

เมื่อครั้งที่บริษัทประกันเหล่านี้ นำเสนอขายประกันโควิดนั้น ประกันชนิดนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก จากเหล่าผู้บริโภค ที่กำลังกังวลกับการระบาดของเชื้อไวรัส มีผู้ซื้อตัดสินใจซื้อประกันเป็นจำนวนมาก จนทำให้บรรดาบริษัทประกัน เริ่มแข่งขันกันด้านราคา ลูกค้าสามารถซื้อความคุ้มครองมูลค่า 100,000 -300,000 บาท ด้วยการจ่ายเบี้ยประกันเพียงปีละ 500 บาทเท่านั้น

ข้อมูลจากคปภ. แสดงให้เห็นว่า นับถึงสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา จำนวนกรมธรรม์ประกันโควิดมีมากถึง 39.8 ล้านฉบับ เทียบกับจำนวนประชากรไทยทั้งหมดที่ราว 69.8 ล้านคน โดยผู้ซื้อประกัน จ่ายเบี้ยประกันรวมแล้วราว 11,200 ล้านบาท และมียอดรวมการเคลมประกันที่ 9,400 ล้านบาท

ส่วนข้อมูลจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย ชี้ว่า ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา 16 บริษัท ที่ขายประกันโควิดเมื่อปี 2563 ได้รับคำร้องขอเคลมประกันคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 37,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 26% ของเงินทุนสำรองความเสี่ยงของบริษัทกลุ่มนี้ ที่มียอดรวมราว 132,300 ล้านบาท

เราเป็นห่วงว่า ยอดเคลมประกันทั้งหมดอายสูงเกิน 40,000 ล้านบาท สำหรับตลอดทั้งปีนี้ ซึ่งจะทำให้ทั้งอุตสาหกรรมตกอยู่ในอันตราย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo