COVID-19

เช็คหักเงินสมทบ ‘ประกันสังคม’ กุมภาพันธ์ 2564 เดือนนี้ยังได้ลดหย่อน

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 รัฐบาลยังคงมีมาตรการลดหย่อนเงินสมทบกองทุน ประกันสังคม เพื่อช่วยเยียวยาโควิด-19 ให้นายจ้างและแรงงานในระบบกองทุนประกันสังคม

สำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิ์ลดหย่อนในครั้งนี้คือ นายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39

หักเงินสมทบ ประกันสังคม กุมภาพันธ์ 2564

หักเงินสมทบ “ประกันสังคม” กุมภาพันธ์ 2564

สำหรับอัตราการ หักเงินสมทบ ประกันสังคม กุมภาพันธ์ 2564 เป็นดังนี้

  • นายจ้าง ลดอัตราการหักเงินสมทบเหลือ 3% ของฐานค่าจ้างขั้นต่ำ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท หรือสรุปแล้วถูกหักเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 450 บาทต่อลูกจ้างหนึ่งคน
  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 (ผู้ประกันตนในระบบหรือลูกจ้าง) ลดอัตราการหักเงินสมทบเหลือ 0.5% ของฐานค่าจ้างขั้นต่ำ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท หรือสรุปแล้วถูกหักเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 75 บาทต่อคน
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 (ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ) ลดการหักเงินสมทบเหลือ 38 บาทต่อคน

สรุป ลดหย่อน ประกันสังคม 2564

ช่องทางการจ่ายเงินสมทบ “ประกันสังคม”

นายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถจ่ายเงินสมทบกองทุน ประกันสังคม ได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้

ช่องทางการจ่ายเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33

  • สำนักงาน ประกันสังคม
  • เคาน์เตอร์ธนาคาร 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารธนชาต
  • ชำระผ่านระบบ e-Payment 10 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารซิตี้แบงค์ เอ็น.เอ., ธนาคารมิซูโฮ, ธนาคารซิมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น, เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ด้วยบัตรเดบิต/เครดิต มาสเตอร์การ์ด) และธนาคารทหารไทย (ช่องทาง NSW)

กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานตามคำสั่งภาครัฐ ทำให้ไม่มีการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 นายจ้างไม่ต้องยื่น แบบแสดงรายการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10)

ส่วนกรณีมีการจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง แต่มีลูกจ้างบางรายไม่ได้รับค่าจ้าเนื่องจากถูกสั่งหยุดพัก 14 วัน ให้นายจ้างยื่นแบบ สปส.1-10 ตามปกติ โดยในส่วนที่ 2 ให้กรอกรายละเอียดลูกจ้างที่ไม่ได้รับค่าจ้างในงวดเดือนนั้น พร้อมระบุค่าจ้างและเงินสมทบเป็น 0

shutterstock 1659753442 e1606324024368

ช่องทางการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 39

  • สำนักงาน ประกันสังคม
  • เคาน์เตอร์ธนาคาร 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารธนชาต
  • หน่วยบริการ ได้แก่ บิ๊กซี, เซ็นเพย์, เคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11) และไปรษณีย์
  • หักผ่านบัญชีธนาคาร 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารธนชาต, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงเทพ

**หมายเหตุ เคาน์เตอร์ธนาคาร 3 แห่ง, เคาน์เตอร์หน่วยบริการเซอร์วิส (7-11), เคาน์เตอร์เทสโก้โลตัส, ไปรณีย์, เซ็นเพย์ เริ่มรับชำระเงินสมทบของเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เดือนละ 38 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 (ทั้งนี้ รอประกาศ) ยกเว้นธนาคารธนชาติ จะเปิดระบบไม่รับชำระเงินสมทบของทุกงวดเดือนตั้งแต่วันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2564

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 39 ต้องระวัง! เพราะหากจ่ายเงินสมทบเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เกิน 38 บาท จะไม่สามารถหักลบกับการส่งเงินสมทบงวดถัดไปได้ หากผู้ประกันตนต้องการขอรับเงินที่จ่ายเกินไว้คืน ก็ต้องยื่นเอกสาร แบบขอรับเงินคืนผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-23/3) ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศเท่านั้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo