COVID-19

ออมสิน จัดให้! รวมมาตรการช่วย คนติดหนี้บัตรเครดิต-เอสเอ็มอี

ออมสิน จัดให้ ช่วยเหลือทั้งลูกค้าบุคคล และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ทั้งชะลอการชำระหนี้ และให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ

ในช่วงเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ทำให้ทั้งคนทั่วไป และเจ้าของกิจการเอสเอ็มอี ได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า ออมสิน เลยมีมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ที่เป็นลูกค้าธนาคาร เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

GSB01 01 0

มาตรการของธนาคารออมสินแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน

  1. ลูกค้าบุคคล
  2. ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

สำหรับ ลูกค้าบุคคล นั้น ความช่วยเหลือประกอบไปด้วย

ชะลอการชำระหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อบัตรเงินสด ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย ตั้งแต่วันสรุปยอดบัญชีวันที่ 16 เมษายน – 30 กรกฎาคม 2563

  • บัตรเครดิต และสินเชื่อบัตรเงินสด
  • ลดอัตราการชำระขั้นต่ำต่อเดือน
  • บัตรเครดิต ปี 2563-2564 จ่ายเพียง 5%  สินเชื่อบัตรเงินสด ปี 2563-2564 จ่ายเพียง 3%
  • บัตรเครดิต และสินเชื่อบัตรเงินสด ปี 2565 จ่าย 8%

“GSB Refinance” รีไฟแนนซ์บัตรเครดิตจากสถาบันการเงินอื่น เพื่อช่วยเหลือผู้มีภาระบัตรเครดิต

  • วงเงิน 10,000 – 100,000 บาท
  • ลดดอกเบี้ยเหลือ 8.5-10.5%
  • ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 4 ปี
  • ชำระขั้นต่ำ 2.5% ของวงเงินกู้

สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย

ผู้มีอาชีพอิสระ ไม่ต้องใช้หลักประกัน

  • วงเงิน 10,000 บาท
  • ดอกเบี้ย 0.10% ต่อเดือน
  • ผ่อน 2 ปี ไม่ต้องจ่ายหนี้ 6 เดือนแรก

ผู้มีรายได้ประจำ ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

  • วงเงิน 50,000 บาท
  • ดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน
  • ผ่อน 3 ปี

ในส่วนของสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายนี้ จะสิ้นสุดโครงการ 30 ธันวาคม 2563 แต่ในส่วนของผู้มีรายได้ประจำนั้น ปิดลงทะเบียนรับสิทธิ์แล้ว

สินเชื่อฉุกเฉินสำหรับลูกค้าเดิม

  • วงเงิน 50,000 บาท
  • ดอกเบี้ย 0.50% ต่อเดือน
  • ผ่อน 5 ปี ปลอดหนี้ 6 เดือนแรก
  • ต้องมีประวัติการชำระตรงตามเวลาช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา
  • ไม่ใช้หลักประกัน

พักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย 6 เดือน (อัตโนมัติ) ระยะเวลา 11 เมษายน – 30 กันยายน 2563

  • สินเชื่อบุคคล
  • สินเชื่อบ้าน

ออมสิน

ขณะที่ในส่วนของเอสเอ็มอีนั้น รวมถึง การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งในส่วนนี้แบ่งเป็น

  • การปล่อยกู้จากสถาบันการเงินต่างๆ วงเงิน 55,000 ล้านบาท

ปล่อยกู้ให้วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาทต่อราย และจัดเก็บดอกเบี้ย 2% ในปีแรก

  • การปล่อยกู้จากธนาคารออมสินสำหรับเอสเอ็มอีทั่วไปวงเงิน 95,000 ล้านบาท

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี และท่องเที่ยว ปล่อยสินเชื่อให้วงเงิน 15,000 ล้านบาท โดยให้วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ย 2% ใน 2 ปีแรก โดยเงินกู้ระยะสั้นกำหนดชำระคืนไม่เกิน 1 ปี และเงินกู้ระยะยาวไม่เกิน 10 ปี ปลอดเงินต้นสูงสุด 2 ปี

อีกกลุ่มหนึ่งคือ Non-Bank วงเงินให้สินเชื่อ 80,000 ล้านบาท โดยให้รายละไม่เกิน 5,000 ล้านบาท มีระยะเวลากู้ 2 ปี และดอกเบี้ย 2% ต่อปี

สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะให้ความช่วยเหลือต่อเอสเอ็มอีที่เป็นลูกค้าเดิมของธนาคาร

ปล่อยกู้ให้ไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ย 2% แยกเป็นเงินกู้ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี และเงินกู้ระยะยาว ปลอดหนี้สูงสุด 6 เดือน ทั้งยังยกเว้นค่าธรรมเนียมทุกประเภท

  • เงินกู้จากสถานธนานุเคราะห์วงเงิน 2,000 ล้านบาท

คิดอัตราดอกเบี้ย 0.10% ต่อปี กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 2 ปี

สุดท้ายคือ “SMEs Extra Liquidity” สินเชื่อเพิ่มสภาพคล่องพิเศษให้กับเอสเอ็ม ใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจากสถาบันการเงินเดิม ตั้งแต่ MLR -1% ถึง MLR +5% ต่อปี และเปิดให้พักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย 6 เดือนโดยอัตโนมัติ ตั้งแต่ 1 เมษายน – 30 กันยายน 2563 วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท

Avatar photo