Auto

‘รถอีวี’ อนาคตสดใส แนวโน้มราคาถูกลง ภาครัฐชัดเจนขึ้น

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี ในประเทศไทย ดูจะยังไม่ถึงฝั่งฝัน แม้ว่าที่ผ่านมา จะมีความพยายามจากหลายฝ่ายให้แจ้งเกิดโดยเร็ว แต่อุปสรรคสำคัญที่สุดคือ ราคาที่ยังคงสูงเกินกว่าจะจับต้องได้จากคนทั่วไป แบตเตอรี่ที่ยังคงสูง ตลอดจนนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่ยังคงกว้างเกินไป

อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ปัจจุบันพบว่า รถยนต์ไฟฟ้าได้รับนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสภาวะโลกร้อน ปัญหามลภาวะ ทำให้รถอีวีเข้ามาเป็นตัวเลือกสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน เพราะเป็นการใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ ไม่สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

Ecar 01

ที่สำคัญคือ อุปสรรคด้านราคาจะเริ่มลดลง จากการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และได้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นกว่าเดิมมาก โดยมีการประเมินว่า กลางทศวรรษหน้า พัฒนาการทางเทคโนโลยีของแบตเตอรี่จะทำให้รถยนต์อีวีมีราคาเท่ากับรถยนต์สันดาปภายในหรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน เมื่อนั้นจะทำให้เกิดการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีสัญญานที่ดีในการขจัดอุปสรรคฝั่งของภาครัฐที่ยังมีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้กว้างเกินไป  เมื่อ นายสุริยะ จึงรุ่งเรื่องกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เร่งแผนจากจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ พร้อมหาหน่วยงานเพื่อมาดูแลภายในไตรมาสแรกของปี 2563 นี้ ซึ่งหากสามารถทำได้จริงจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในรถไฟฟ้าเห็นเป็นรูปธรรมเพิ่มมากขึ้นกว่าทุกวันนี้แน่นอน

นายสมชาย สาโรวาท ประธานเครือข่ายพัฒนาศักยภาพไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลต้องเร่งรัดและปรับนโยบายแผนงาน และมาตรการต่าง ๆ ของการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นเชิงรุก ปรับเวลาในแผนส่งเสริมให้เร็วขึ้นในทุกประทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้นทดโนโลยี รวมถึงการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบแบบบูรณาการโดยตรง

current gas station 4636710 1280

สำหรับสถานการณ์รถพลังงานไฟฟ้านั้น ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า ปัจจุบันมีจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าราว 5 ล้านคันทั่วโลก หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.4% จากรถยนต์ทั่วโลก โดยประเทศที่มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสูงที่สุดคือ จีนครองสัดส่วน 55% รองลงมาสหรัฐ  มีสัดส่วน 18% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก

ขณะที่ในประเทศไทย มีรถยนต์ไฟฟ้าเฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบุคคลประมาณ 120,000 คัน คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1.2% ของจำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั่วประเทศ ซึ่งจากการสนับสนุนจากภาครัฐ อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้ การสนับสนุนการลงทุน คาดกาณณ์ว่าจะทำให้ปี 2579 จะมีรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นราว 1.2 ล้านคัน มีมีสถานีชาร์จไฟฟ้า 690 สถานีทั่วประเทศ

ด้านนายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน กรรมการสถาบันยานยนต์ ผู้ทำการแทนผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยว่า แนวโน้มการใช้รถยนต์อีวี, ปลั๊ก-อิน ไฮบริด และไฮบริด มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากยอดผลิตทั้งสิ้น 8,900 คัน เพิ่มเป็น 25,200 คัน ในปี 2561 ขณะที่ปี 2562 คาดว่าตลาดทั้ง 3 แบบจะมียอดผลิตเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 36,000 คัน และเพิ่มเป็น 50,000 คัน ในปี 2563 นี้

เอ็มจี แซดเอส อีวี

ปัจจุบันมีค่ายรถที่ได้รับอนุมัติจากบีโอไอ เป็นรถไฮบริด 4 ราย รถปลั๊ก-อิน ไฮบริด 4 ราย และรถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่อีก 1 ราย รวมทั้งสิ้น 9 ราย โดยมีกำลังการผลิตรวมประมาณปีละ 500,000 คัน นับเป็นมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นจำนวน 54,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ยังมีค่ายรถยนต์ที่รอการอนุมัติรถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่อีกจำนวน 7 ราย และการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า มีผู้ที่ได้รับการส่งเสริมแล้ว 5 ราย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มต้นทำการผลิตได้ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป อีกทั้งในปี 2561ได้มีการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วกว่า 400 แห่ง

ดังนั้น การที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และมีการใช้งานในวงกว้างมากขึ้น จึงต้องประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การทำให้ราคาแบตเตอรี่ถูกลง, ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ, กระแสรักษ์โลกที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องมีมากขึ้น เช่น สถานีชาร์จไฟฟ้าและระยะเวลาในการชาร์จไฟ

Nissan Leaf

อีกประการสำคัญคือ การมีทางเลือกจากรถยนต์หลากหลายแบรนด์มากขึ้น ปัจจุบันมีหลายค่ายส่งรถยนต์พลังงานไฟฟ้าออกมาวางตลาด เช่น เอ็มจี แซดเอส อีวี ที่ทำราคาในระดับที่เป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้นที่ 1.19 ล้านบาท ถูกกว่า นิสสัน ลีฟ ที่ตั้งราคาไว้ 1.99 ล้านบาท ขณะที่แบรนด์รถอีวีผลิตในประเทศไทย คือ ฟอมม์ ฟอมม์

ตั้งราคาไว้ถูกที่สุดที่ 5.99 แสนบาท เนื่องจากเป็นรถขนาดเล็ก ใช้งานได้ไม่ไกลนัก

จากแนวโน้มทั้งหมดนี้ เชื่อแน่ว่า ปี 2563 จะเป็นปีที่สดใสและมีอนาคตของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแน่นอน

Avatar photo