Business

ยกระดับ ‘มาตรฐานผลไม้ไทย’ เร่งพัฒนา ‘ระบบตรวจสอบย้อนกลับ’ นำร่อง 2 ผลไม้ ทุเรียน ลำไย

ยกระดับ ‘มาตรฐานผลไม้ไทย’ เร่งพัฒนา ‘ระบบตรวจสอบย้อนกลับ ตลอดห่วงโซ่การผลิต’ สร้างความมั่นใจผู้บริโภค

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการยกระดับมาตรฐาน ผลไม้ไทยเพื่อการส่งออก ผลไม้ไทย ผลไม้คุณภาพ เพื่อสร้างจุดเด่นให้สามารถแข่งขันได้ และรักษาตลาดการส่งออกผลไม้ที่สำคัญในตลาดจีน

มาตรฐานผลไม้ไทย

พัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ นำร่องผลไม้ 2 ชนิด

โดยได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน ร่วมกับ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 เขตที่ 6 เขตที่ 7 สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร และกลุ่มผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ไทยไปจีน  พัฒนาระบบการตรวจสอบย้อนกลับ ตลอดห่วงโซ่การผลิต นำร่องในผลไม้ ทุเรียน และลำไยส่งออกไปจีน

เพื่อให้สามารถตรวจสอบกระบวนการผลิตผลไม้ในสวนของเกษตรกร แหล่งที่มาของผลไม้จากสวน การคัดบรรจุ การรับรองสุขอนามัยพืช และกระบวนการขนส่งโลจิสติกส์ ไปจนถึงด่านนำเข้าที่ประเทศจีน ให้สามารถทวนสอบและติดตามข้อมูลในทุกขั้นตอนได้ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในประเทศจีน

มาตรฐานผลไม้ไทย

ตลาดใหญ่ ผู้บริโภคจีน มั่นใจคุณภาพ

ทั้งนี้ คาดว่าในฤดูกาลผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2566 นี้ จะสามารถส่งออกลำไยสดจากแปลงเกษตรกรที่สามารถส่งไปจีนได้จำนวน 11,228 แปลง ปริมาณไม่น้อยกว่า 300,000 ตัน และทุเรียนสด 27,276 แปลง ปริมาณไม่น้อยกว่า 1,000,000 ตัน

มาตรฐานผลไม้ไทย

นอกจากนี้ ระบบการขอใบรับรองสุขอนามัยพืชแบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเก็บข้อมูลในทุกขั้นตอนการผลิต โดยอยู่ระหว่างการเจรจาทางเทคนิคเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์กับจีน จึงสร้างความเชื่อมั่นได้ว่า การส่งออกผลไม้สดไทยไปตลาดจีนเป็นผลไม้ที่มีคุณภาพมาจากสวนของเกษตรกรไทย และคัดบรรจุตามมาตรฐานโรงคัดบรรจุผลไม้สด ได้รับความเชื่อถือในมาตรฐาน ตรวจสอบย้อนกลับได้ เป็น ผลไม้ไทย ผลไม้คุณภาพ

มาตรฐานผลไม้ไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo