Business

แนะใช้กลยุทธ์ ‘Soft Power’ ธุรกิจอาหาร สุขภาพ สร้างธุรกิจใหม่อย่างไรให้สุดปัง

วิทยาลัยการจัดการ มหิดล เผยเคล็ดวิชา Soft Power ในธุรกิจอาหาร สุขภาพ 4 กลยุทธ์สร้างธุรกิจใหม่อย่างไร ให้ปังยิ่งกว่าเดิม

ผศ. ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า Soft Power เป็นกลยุทธ์การตลาดแบบหนึ่ง ที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคมได้อย่างแนบเนียน

Soft Power

ทั้งนี้พบว่า หลายประเทศต่างใช้กลยุทธ์ Soft Power เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ และเสริมสร้างภาพลักษณ์อันดีของประเทศ ซึ่งหากผู้ประกอบการธุรกิจ ร้านค้าต่าง ๆ จับกระแส Soft Power ได้ทัน และใช้ให้เป็น จะสามารถกระตุ้นยอดขาย สร้างการจดจำ ขยายฐานลูกค้าได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

นักศึกษาสาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ค้นพบ 4 เทคนิคการใช้กลยุทธ์ Soft Power ให้จับใจผู้บริโภค ได้แก่

1. Absorb พาแบรนด์เข้าไปนั่งในใจของผู้บริโภคอย่างแนบเนียนผ่านการเชื่อมโยงไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค

ผศ. ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร
ผศ. ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร

2. Extraordinary สร้างสรรค์จุดขายผ่านสื่อและเนื้อหาที่น่าสนใจจนเกิดเป็นภาพลักษณ์ที่กลุ่มเป้าหมายจดจำ

3. Fast ทันทุกกระแส ไม่ตกขบวนเทรนด์ใหม่ๆ รวมถึงต้องปรับตัวให้เร็วเท่าทันกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน

4. Consistency สื่อสารแบรนด์อย่างต่อเนื่องทุกช่องทาง เพื่อนำไปสู่การถูกจดจำ

ดร.สุเทพ นิ่มสาย หัวหน้าสาขาการจัดการธุรกิจอาหาร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ธุรกิจอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจแรก ๆ ที่คนนิยมเลือกเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ จึงเห็นธุรกิจอาหารเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก หมุนเวียนไวไปตามกระแส และมีอัตราการออกจากวงจรธุรกิจสูง

ดร.สุเทพ นิ่มสาย
ดร.สุเทพ นิ่มสาย

CMMU ได้บูรณาการทั้งศาสตร์และศิลป์ ผสานองค์ความรู้การบริหารจัดการเข้ากับธุรกิจอาหาร เพื่อสร้าง Young Food CEO ให้ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารรุ่นใหม่ดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ผู้ประกอบการสามารถนำกลยุทธ์ Soft Power มาปรับใช้ เพื่อทำให้ร้านเป็นที่รู้จักในเวลาอันรวดเร็ว และเพิ่มยอดขายจำนวนมากในช่วงที่มีกระแสได้ แต่ต้องทำควบคู่ไปกับการรักษาคุณภาพมาตรฐาน และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหรือบริการเพื่อให้ธุรกิจอาหารสามารถอยู่รอดอย่างยั่งยืน เกิดการซื้อซ้ำจากผู้บริโภค

SOFT Strategies

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรยึดหลัก 5S ดังนี้

  • System มีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร
  • Strategy วางแผนกลยุทธ์ว่าผลิตภัณฑ์จะเติบโตไปทิศทางไหน จะรักษาฐานลูกค้าเก่าและดึงดูดลูกค้าใหม่ได้อย่างไร
  • Signal มองเห็นเทรนด์อนาคต และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม อย่างซอฟต์พาวเวอร์ก็ถือเป็น Signal สร้างโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ ให้กับธุรกิจได้
  • Supply Chain มองเห็นความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของบริบทรอบตัว ทั้ง คู่แข่ง ลูกค้า หรือแม้แต่ราคาวัตถุดิบที่ขึ้นลงอยู่ตลอด
  • Sustainability การพัฒนาสินค้า หรือบริการเพื่อความยั่งยืน สร้างความรู้สึกที่ทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ
ดร.กฤษกร สุขเวชวรกิจ
ดร.กฤษกร สุขเวชวรกิจ

ดร.กฤษกร สุขเวชวรกิจ หัวหน้าสาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า สาขาการจัดการธุรกิจสุขภาพ เป็นสาขาที่ผสานองค์ความรู้ด้านการจัดการธุรกิจพื้นฐาน การจัดการด้านสุขภาพ และการจัดการระบบดิจิทัล สำหรับผู้ประกอบการและผู้บริหารในธุรกิจสุขภาพทั้งหมด

จากผลการศึกษา ระบุว่า กลุ่มตัวอย่าง 59.1% อยากให้ประเทศไทยชูจุดเด่นด้านการบริการที่เป็นมิตรยิ้มแย้มแจ่มใสผ่านกลยุทธ์ Soft Power

การบริการ ถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจสุขภาพ โดยประเทศไทยติดท็อป 5 ของโลก ที่นักท่องเที่ยวเลือกเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือ Medical Tourism และคาดว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในปีหน้าจะมีแนวโน้มเติบโตมากยิ่งขึ้นหลังจากสถานการณ์โควิด-19 จบลง

ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจสุขภาพสามารถเกาะกระแส Soft Power ด้านการให้บริการที่เป็นมิตรเพื่อสร้างการรับรู้ในกลุ่มลูกค้าต่างชาติได้

ดร. ตรียุทธ พรหมศิริ
ดร.กฤษกร สุขเวชวรกิจ

ดร.กฤษกร สุขเวชวรกิจ หัวหน้าสาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า สาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม เป็นสาขาที่เหมาะกับผู้ต้องการเริ่มต้นธุรกิจ มองหากิจการส่วนตัว หรือสืบทอดกิจการเดิมด้วยมุมมองแนวคิดทางธุรกิจรูปแบบใหม่ให้เข้ากับบริบทในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

กลยุทธ์ Soft Power ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ ให้เข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้าง ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องจับกระแสให้ทัน แล้วนำมาปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจของตน

สาขาวิชานี้จะสอนให้ผู้เรียนมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ เข้าใจในกระแสธุรกิจ สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ พร้อมเสนอแนะการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo