Business

BEM มั่นใจข้อเสนอ ‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม’ เป็นประโยชน์ต่อรัฐ ก่อสร้างและเปิดบริการได้ตามแผน

BEM มั่นใจข้อเสนอ ‘รถไฟฟ้าสายสีส้ม’ เป็นประโยชน์ต่อรัฐ ก่อสร้างและเปิดบริการได้ตามแผนแน่นอน

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้แถลงถึงความก้าวหน้าในการดำเนินธุรกิจ และแผนการดำเนินงานต่างๆ ของบริษัทฯ เพื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชนซึ่งกำลังกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากเกิดการระบาดของโรคโควิด 19 มากว่า 3 ปี และได้เปิดเผยถึงความก้าวหน้าในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งบริษัทฯ ได้ ยื่นซองข้อเสนอตั้งแต่ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565

ดร.สมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จากัด (มหาชน) หรือ BEM เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยที่ส่งผลกระทบต่อทั้งโลก ทำให้กระทบต่อธุรกิจของบริษัทฯ เป็นอย่างมาก เพราะคนต้องหยุดการเดินทาง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการ lockdown รายได้ของบริษัทฯ หายไปกว่า 60%

รถไฟฟ่าสายสีส้ม

ภาพรวมกำไรช่วงสถานการณ์โควิด 19

  • ปี 2562 กำไร 3,200 ล้านบาท
  • ปี 2563 กำไร 2,000 ล้านบาท
  • ปี 2564 กำไร 1,000 ล้านบาท

แต่เนื่องจากบริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการสาธารณะด้านการคมนาคม ทั้งรถไฟฟ้าและทางด่วน บริษัทฯ ไม่สามารถหยุดให้บริการ หรือลดประสิทธิภาพ คุณภาพการให้บริการได้ เพราะจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน บริษัทฯ ก็ได้ยืนหยัดดำเนินธุรกิจฝ่าช่วงวิกฤตมาอย่างเต็มที่ โดยมีมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดในทุกๆด้าน เพื่อให้ประชาชนที่ใช้บริการรถไฟฟ้าและทางด่วนมั่นใจในการใช้บริการ

และบริษัทฯ ได้จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชน ทั้งโครงการแจกฟรี! หน้ากาก 1 ล้านชิ้น มอบวัคซีนไวรัสโควิด-19 กว่า 30,000 เข็ม และล่าสุดคือ โครงการแจกฟรี! สเปรย์แอลกอฮอล์ 1 ล้านชิ้น เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้แก่พี่น้องประชาชน ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมาก

นอกจากนี้ในช่วงโควิด บริษัทฯ ยังได้จัด โครงการ MRT พิชิตTCAS 66 ต่อเนื่องเป็นปี 14 เพื่อให้ความรู้แก่น้องๆนักเรียน โดยสามารถเข้าร่วมแบบ online เพื่อให้เกิดความปลอดภัยไม่ต้องมาเบียดเสียดกัน ซึ่งมีน้องๆ เข้าร่วมกว่า 10,000 คน โดยบริษัทฯ จะจัดกิจกรรมแบบนี้ต่อไปเพื่อเป็นตัวช่วยน้องๆนักเรียนให้มีโอกาสได้รับความรู้อย่างเต็มที่

รถไฟฟ่าสายสีส้ม

เริ่มฟื้นตัว ปีหน้าคาดผลประกอบการและกำไร กลับสู่ภาวะปกติ

ในส่วนของผลการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทางด่วน ซึ่งเป็นรายได้หลัก (65%ของรายได้รวม) ฟื้นตัวกลับมาเร็วมาก ปัจจุบันมีผู้ใช้ทางเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1,100,000 เที่ยว/วันคิดเป็น 90% ของปริมาณผู้ใช้ทางก่อนเกิดโควิด คาดว่าภายในสิ้นปีน่าจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

ส่วนรถไฟฟ้า MRT สายสีน้าเงิน ปัจจุบันปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 320,000 เที่ยว/วัน คิดเป็น 85% ของปริมาณผู้โดยสารก่อนเกิดโควิด คาดว่าภายในสิ้นปีจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติเช่นเดียวกัน และจำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นอีกเนื่องจากรถไฟฟ้า MRT สายสีน้าเงินเปิดให้บริการครบทั้งเส้นทาง เชื่อมต่อกับการคมนาคมขนส่ง และรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ได้สะดวกขึ้น

ประกอบกับการเปิดตัวโครงการใหญ่ๆ ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้าทั้ง ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โครงการ OneBangkok , Singha Estate ,Samyan Mitrtown จะทาให้ผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้าเงิน เพิ่มขึ้นอย่างมาก คาดการณ์ว่าในปีหน้า จะใกล้ 500,000 เที่ยว/วัน อย่างแน่นอน

ดร.สมบัติ เปิดเผยว่า ในส่วนของผลประกอบการบริษัทฯ คาดว่าในปีนี้รายได้ทั้งปี จะอยู่ที่ประมาณ 15,000 ล้านบาท กำไรครึ่งปีแรก อยู่ที่ 970 ล้านบาท คาดว่าทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท มากกว่าปีที่แล้ว ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากโควิด แต่บริษัทฯ ได้รับการต่อสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 ออกไป ส่งผลบวกต่อกำไรสุทธิอย่างมาก เนื่องจากค่าเสื่อมราคาจากทางด่วนเดิมตัดหมดไปแล้ว ปีละกว่า1,500 ล้านบาท

“และคาดว่าปีหน้าผลกำไรจะกลับไปที่ก่อนโควิดระบาด คือมากกว่า 3,200 ล้านบาท และรายได้ทั้งปีน่าจะอยุ่ที่ 17,000 ล้านบาท”

ทั้งนี้ BEM สามารถบริหารจัดการต้นทุนในระยะยาวได้ดีขึ้นจากการมีสัมปทานยาวขึ้น (Economy of Scale) นอกจากนี้การต่อขยายรถไฟฟ้า MRT สายสีน้าเงินครบทั้งสาย ยังทำให้รายได้ของบริษัทฯ เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทาให้มีกระแสเงินสดที่มั่นคงสม่าเสมอและการมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ ซึ่งเห็นได้จากอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่บริษัทฯ เพิ่งออกไป ทาให้บริษัทฯ เดินหน้างานใหม่ได้โดยไม่ต้องเพิ่มทุน ส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้น สาคัญที่สุดคือ ทุกโครงการที่บริษัทฯ ดำเนินการ จะต้องประสบผลสาเร็จตามแผน ไม่มีการล่าช้า และต้องมีคุณภาพการบริการแก่ประชาชนที่ดี ตอบแทนคืนกลับสู่สังคมอย่างเต็มที่

รถไฟฟ่าสายสีส้ม

ความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีส้ม

ดร.สมบัติกล่าวว่า ในส่วนของการประมูลร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่ รฟม. ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2563 และ รฟม. มีปัญหาพิพาทกับเอกชนบางราย จนทาให้ต้องยกเลิกการประมูล และประมูลใหม่เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอให้แก่ รฟม. ซึ่งปัจจุบัน รฟม. ได้แจ้งให้บริษัทฯ ทราบถึงผลการประเมินคุณสมบัติและเทคนิคว่า บริษัทฯ ผ่านเกณฑ์ และเสนอผลประโยชน์ให้แก่รัฐ -78,287.95 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินข้อเสนอด้านการเงิน

บริษัทฯ มั่นใจว่าข้อเสนอของบริษัทฯ เป็นไปตามเงื่อนไขและกติกาที่รัฐกำหนด ทั้งในส่วนของข้อกำหนดทางวิศวกรรม (specification) งานโยธาและระบบรถไฟฟ้า วิธีการและเทคนิคการก่อร้างโดยเฉพาะการก่อสร้างงานอุโมงค์และสถานีใต้ดิน จานวน 11 สถานี ต้องให้หัวเจาะอุโมงค์แบบ TBM ปริมาณ 8-10 หัว ซึ่งเป็นงานที่ยากมาก ต้องดูแลความปลอดภัยสูงสุด และถือเป็นงานก่อสร้างใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย วิธีการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาโดยบริษัทฯ ต้องจัดซื้อระบบรถไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง อายุการใช้งานนาน มาให้บริการแก่ประชาชน ค่าโดยสารตามที่ รฟม. กำหนด และมีข้อเสนอทางการเงินที่เป็นประโยชน์แก่รัฐ ทั้งในส่วนของเงินสนับสนุนค่างานโยธา

ทั้งที่หากพิจารณาข้อเท็จจริงพบว่าราคาค่าก่อสร้างในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ปรับตัวสูงขึ้นมากทั้งค่าเหล็ก จาก 16 บาท /กิโลกรัมเป็น 25 บาท/กิโลกรัม น้ามัน จาก 29 บาท/ลิตร เป็น 36 บาท/ลิตร ค่าแรง จาก 330 บาท/วัน เป็น 354 บาท/วัน และเงินที่แบ่งให้รัฐจากการให้บริการเดินรถ

ซึ่งโครงการนี้ถ้าเทียบกับสายอื่น ถือว่าผลตอบแทนไม่สูงมาก แต่บริษัทฯ ก็สามารถแบ่งผลประโยชน์ให้แก่ รฟม. ได้ บนพื้นฐานความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เสนอตัวเลขที่เป็นไปไม่ได้เพื่อชนะการคัดเลือก แต่สุดท้ายทำไม่ได้จริง ก็จะทำให้รัฐเสียหาย และประชาชนเดือดร้อน

รถไฟฟ่าสายสีส้ม

มั่นใจพร้อมเริ่มงานได้ทันที และแล้วเสร็จภายในเวลา

หากบริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้รับสัมปทาน บริษัทฯ พร้อมที่จะเริ่มงานได้ทันที โดยบริษัทฯ มีแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างโยธาสายสีส้มส่วนตะวันตก และการจัดซื้อระบบรถไฟฟ้า ที่พร้อมแล้ว และมี บมจ.ช.การช่างเป็นพันธมิตร ผู้ก่อสร้างงานโยธาและติดตั้งระบบรถไฟฟ้า ซึ่งบมจ.ช.การช่างมีความเชี่ยวชาญในงานก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นอย่างมาก

โดยบริษัทฯ มั่นใจว่าจะเปิดให้บริการส่วนตะวันออกได้ภายใน 3 ปีครึ่ง และส่วนตะวันตกได้ภายใน 6 ปี ตามแผนงานของ รฟม. ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจุดเด่นของบริษัทฯ ที่ทำงานทุกโครงการประสบความสาเร็จ เปิดบริการได้ตามสัญญา เป็นไปตามแผน หรือก่อนแผนเสมอด้วย เช่นโครงการทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้าเงิน ทุกโครงการเปิดได้ก่อนกำหนด โดยไม่เคยสร้างปัญหาให้รัฐ

หากมีปัญหาในระหว่างการดาเนินงาน เช่นการส่งมอบพื้นที่ ก็ช่วยกันแก้ไข โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก บริษัทฯ จึงอยากให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมั่นใจได้ว่า หากบริษัทฯได้เป็นผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม บริษัทฯ จะดำเนินการก่อสร้างและเปิดบริการแก่ประชนได้ตามแผนงานแน่นอน

ขั้นตอนต่อไปก็คือ รัฐจะต้องเรียก BEM ไปคุยและต่อรองราคา ซึ่งเป็นขั้นตอนปกติของทุกโครงการ ซึ่ง BEM พร้อมที่จะเข้าไปให้ข้อมูล โดยตามนโยบายของรัฐจะทำอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนเร็วที่สุด จึงไม่น่าจะช้า ส่วนที่ว่าจะมีการต่อรอง เพื่อเพิ่มข้อเสนอผลประโยชน์ตอบแทนภาครัฐเพิ่มขึ้น ก็คงมีบ้างแต่คงขยับไม่ได้มาก

ภาพรวมราคาค่าก่อสร้างทั้งโครงการอยุ่ที่ 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งBEM มีพันธมิตรทางการเงินส่วนนี้อยู่แล้ว ในขั้นตอนการก่อสร้าง BEM จะต้องจ่ายไปก่อน และรัฐจะจ่ายกลับคืนมา

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

ผ่านเกณฑ์การประเมิน ภายใต้กติกาของรฟม.

ดร.สมบัติกล่าวเสริมว่า สาหรับกรณีที่มีเอกชนบางรายซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการคัดเลือก เปิดเผยว่ามีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์แก่ รฟม. มากกว่าที่บริษัทฯ เสนอ ก็เป็นสิทธิของเอกชนรายนั้นจะทำ แต่เนื่องจากการให้ข้อมูลมีการพาดพิงถึงข้อเสนอของบริษัท ซึ่งอาจทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดว่าข้อเสนอของบริษัทฯ ทำให้รัฐเสียประโยชน์

บริษัทฯ จำเป็นต้องชี้แจงว่า บริษัทฯ ได้จัดทำข้อเสนอที่เป็นประโยชน์แก่รัฐ เข้าร่วมการคัดเลือกภายในเงื่อนไข และกติกาที่รัฐกำหนด ได้รับการประเมินด้านเทคนิคผ่านตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนดแล้ว ก่อนที่จะมาพิจารณาด้านการเงิน การนำข้อเสนอด้านการเงินอื่นซึ่งไม่ทราบว่าอยู่บนเงื่อนไข สมมติฐานใด ผ่านเกณฑ์การประเมินของ รฟม.หรือไม่ มาเปรียบเทียบกับข้อเสนอด้านการเงินของบริษัทฯ คงไม่สามารถนามาเปรียบเทียบกันได้

“เรื่องนี้ผมไม่ขอพาดพิงถึงคนอื่น เราโฟกัสเฉพาะงานของเรา บริษัทฯ ก็ยื่นข้อเสนอตามขั้นตอนกระบวนการ ซึ่งข้อเสนอทุกอย่างเรามั่นใจว่าดีที่สุด และมั่นใจว่าทำได้ ซึ่งผ่านทั้งขั้นตอนด้านเทคนิค และด้านผลตอนแทนให้ภาครัฐ ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ภาครัฐจะเป็นผู้พิจารณา”

บริษัทฯ ยังคงมั่นใจว่าข้อเสนอรถไฟฟ้าสายสีส้มของบริษัทฯ เป็นประโยชน์ต่อรัฐ การก่อสร้างและการเปิดบริการ จะต้องประสบผลสำเร็จตามแผน ไม่มีการล่าช้า และต้องมีคุณภาพการบริการแก่ประชาชนที่ดี ตอบแทนคืนกลับสู่สังคมอย่างเต็มที่

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

รถไฟฟ้าทุกโครงการ รัฐต้องช่วยสนับสนุน

ดร.สมบัติ ให้ข้อสังเกตว่าที่ผ่านมาทั้งรัฐ เอกชน พูดกันตลอดว่า โครงการรถไฟฟ้าเป็น Infrastructure ขนาดใหญ่ที่ต้องลงทุนสูง หากรัฐไม่ สนับสนุน (Subsidy) ค่างานโยธา เอกชนลงทุนเองทั้งหมดคงไปไม่รอด เห็นได้จาก เริ่มตั้งแต่สายสีเขียว เอกชนที่รับสัมปทานต้องลงทุนทั้งงานโยธาและเดินรถทั้งหมด สุดท้ายก็ไม่ไหว ต้องปรับโครงสร้างหนี้ Hair cut

สายสีน้าเงิน รัฐสนับสนุนงานโยธา เอกชนลงทุนเดินรถทั้งหมดและแบ่งรายได้ให้รัฐ แต่ก็ไม่พอค่างานโยธาที่รัฐลงทุนไป สายสีม่วง ชัดเจนรัฐต้องลงทุนหมด และต้องจ้างเอกชนวิ่งรถอย่างเดียวด้วยเพราะผลตอบแทนไม่พอ ส่วนสายสีชมพู และสายสีเหลือง เอกชนลงทุนหมด แต่รัฐสนับสนุนจ่ายคืนประมาณเท่ากับงานโยธารวมสองสายเกือบ 50,000 ล้านบาท

หากมีเอกชนบอกว่า สามารถรับดำเนินการสายสีส้ม ซึ่งต้องลงทุนสูงมาก เพราะเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน ผลตอบแทนการลงทุนก็ต่ำกว่าสายสีเขียว สายสีน้าเงิน ใกล้ๆ กับสายสีชมพู สีเหลือง โดยแทบไม่ต้องขอรัฐสนับสนุนเลย คงเป็นเรื่องที่แปลกมากว่าทำได้อย่างไร ทำได้จริงหรือ และถ้าเป็นอย่างนั้น ก็คงต้องมีคำถามว่า สายสีชมพู และสายสีเหลือง ที่ทำกันอยู่ ทาไมต้องขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐประมาณค่างานโยธา และสายสีเขียวที่รัฐกำลังแก้ปัญหากันอยู่ ซึ่งมีผลตอบแทนสูงมาก ผู้โดยสารเยอะมาก แล้วทำไมรัฐยังต้องรับภาระการลงทุนงานโยธา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight