Business

คนไทยเสนอใช้ ‘Soft Power’ สไตล์ไทย 3 เรื่อง ดึงรายได้เข้าประเทศ

ซีเอ็มเอ็มยู เผยผลสำรวจพบคนไทยเสนอใช้ “Soft Power” 3 เรื่อง ดึงรายได้เข้าประเทศ แนะกลยุทธ์ธุรกิจสร้างแบรนด์-ยอดขาย 

ผศ. ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เปิดเผยว่า จากการข้อมูลของ Brand Finance บริษัทด้านกลยุทธ์การประเมินมูลค่าแบรนด์ชั้นนำระดับโลก ได้แบ่ง Soft Power ออกเป็น 7 หมวดหมู่ย่อย ประกอบไปด้วย

Soft Power

1. การบริหารและการปกครอง (Governance)

2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations)

3. คุณภาพความเป็นอยู่ของประชากร (People & Values)

4. การส่งต่อด้านมรดกและความมั่งคั่งทางวัฒนธรรม (Culture & Heritage)

5. การศึกษาและวิทยาศาสตร์ (Education & Science)

6. ด้านธุรกิจและการค้า (Business & Trade)

7. สื่อและการสื่อสาร (Media & Communication)

5

ปัจจุบัน Soft Power ได้นำมาใช้อย่างเด่นชัด ผ่านภาพลักษณ์และการสื่อสารโดยทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจของประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดว่า สื่อและการสื่อสาร จะมีอิทธิพลกับผู้บริโภคที่เด่นชัดที่สุด ผ่าน ภาพยนตร์ ซีรีส์ ดนตรี โฆษณา และการสตรีมมิง เป็นต้น

จากผลสำรวจของ CMMU ต่อมุมมองคนไทย ในการใช้ Soft Power พบว่า คนไทยอยากใช้กลยุทธ์ Soft Power เช่นกัน เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ เพื่อสร้างพลังของประเทศ ดังนี้

ผศ. ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร
ผศ. ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร
  • 73.2% บอกว่าควรนำเสนออาหารและเครื่องดื่ม
  • 59.1% เห็นว่าควรนำเสนอบริการที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
  • 56.8% คือการเผยแพร่ศิลปะและวรรณกรรม

ด้าน นายกีรติ ศิริมงคล นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า ซีเอ็มเอ็มยู ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างประชาชนและวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย เรื่อง Soft Power ละมุนยังไงให้สุดปัง เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดแบบ Soft Power ถ่ายทอดผ่านสื่ออย่างไรให้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย ในแต่ละช่วงวัย

กลยุทธ์ซอฟต์ฃ

ทั้งนี้ สามารถสรุปออกมาเป็น กลยุทธ์ซอฟต์ (SOFT Strategies) ที่จะทำให้แบรนด์สินค้าแทรกซึมเข้าไปอย่างแนบเนียนในกลุ่มผู้บริโภค ผ่าน 4 กลยุทธ์ ดังนี้

  • Absorb

แบรนด์จะต้องแทรกซึมเข้าไปอยู่ใกล้ตัวผู้บริโภคแบบเนียน ๆ ให้เชื่อมโยงกับไลฟ์สไตล์และความชื่นชอบของผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความรู้สึกยึดโยงกับแบรนด์

ดังเช่นตัวอย่างของ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ที่ใช้บุคคลิกการเป็นคนทำงาน ทำงาน ทำงาน ค่อย ๆ แทรกซึม และสร้างความน่าเชื่อถือ จนทำให้คนกรุงเทพ เชื่อมั่นและเลือกให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่

หรือการนำเสนอคาแรคเตอร์ผู้ว่าที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี ซึ่งต่อยอดมาจากภาพจำที่ผู้คนต่างใช้พูดถึง โดยใช้การวิ่งมาบวกกับการทำงาน เผยให้เห็นถึงความกระฉับกระเฉง กระตือรือร้น จนใคร ๆ ต่างก็อยากวิ่งตาม

  • Extraordinary

ทำความธรรมดาให้พิเศษ แบรนด์ต้องสร้างจุดขายของตนเองได้จากสิ่งที่เรียบง่าย โดยจับลักษณะทั่วไปของแบรนด์มาสร้างสรรค์ ผ่านสื่อและเนื้อหาให้น่าสนใจ จนเกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ประทับใจกลุ่มเป้าหมาย

อย่างแบรนด์น้ำพริกแม่ประนอม ดึงจุดแข็งของแบรนด์ที่อยู่มายาวนานกว่า 63 ปี เปรียบอายุของแบรนด์เป็นคุณแม่ของชาว Gen Z ที่เชื่อถือได้ พร้อมใช้คอนเทนต์เป็นเอกลักษณ์ ใช้ภาษาหวือหวา สนุกสนานสร้างการจดจำ แถมยังโดนใจผู้บริโภค

กีรติ ศิริมงคล นักศึกษาปริญญาโท CMMU และหัวหน้าทีม
กีรติ ศิริมงคล
  • Fast

การตลาดของแบรนด์ จะต้องทันกระแสและสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับการรับรู้ของผู้บริโภค รวมถึงต้องพร้อมปรับตัวให้เท่าทันพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

ยกตัวอย่างกรณี ฟู้ดแลนด์ เมื่อ แจ็กสัน หวัง (Jackson Wang) ออกมาพูดในรายการวิทยุว่าไปทานข้าวผัดอเมริกัน และซุปข้าวโพด ภายในวันนั้น ฟู้ดแลนด์โพสต์โปรโมทเมนู แจ็กสัน หวัง (Jackson Wang) และจัดโปรโมชันแฮปปี้ เซ็ต 99 บาท ตอบรับกระแสอย่างทันท่วงที

  • Consistency

การสื่อสารของแบรนด์ต้องทำอย่างต่อเนื่องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทุกๆ ช่องทาง เพื่อให้เกิดความกลมกลืน ซึมซับจนนำไปสู่การสร้างภาพจำของแบรนด์ต่อไป

ตัวอย่างเช่น ตัน ภาสกรนที หลังจากผันตัวมาทำแบรนด์อิชิตัน ใช้เวลาเพียง 1 ปี สามารถก้าวมาสู่ตำแหน่งเบอร์ 2 แทนเจ้าเดิมได้จากการทำการตลาดที่เชื่อมโยงผ่านภาพลักษณ์คุณตันใส่หมวกกัปตันในทุกช่องทางการโปรโมท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo