Business

ไชโย! ‘แรงงานนอกระบบ’ 19.6 ล้านคน เตรียมเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน หลัง ร่าง พ.ร.บ. คืบหน้า

กระทรวงแรงงาน เผย ‘แรงงานนอกระบบ’ 19.6 ล้านคน เตรียมเข้าถึงสิทธิพื้นฐานทางสังคม หลัง ร่าง พ.ร.บ. คืบหน้า

นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษก กระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  ได้ขานรับนโยบายการดูแลคุณภาพชัวิตแรงงานนอกsะบบ จากพลเอกประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม จึงได้เร่งผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแsงงานนอกระบบ พ.ศ. ….เข้า ครม  ซึ่งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ได้อนุมัติหลักการเรียบร้อยแล้ว

แรงงานนอกระบบ

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานนอกระบบคืบ

ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย จากนั้นจะส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

แรงงานนอกระบบ

19.6 ล้านคน เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน

 สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะทำให้แsงงานนอกระบบกว่า 19.6 ล้านคน สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ มีความปลอดภัยในการทำงาน มีหลักประกันทางสังคม มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นองค์กร ได้รับการส่งเสริมคุ้มครองและพัฒนาสู่คุณภาพชีวิตที่ดี มีสัญญาการทำงานที่เป็นธรรม

เช่น ไม่กำหนดเงื่อนไขทำให้ต้องเร่งรีบทำงานอย่างมีความเสี่ยง หรือต้องทำงานหนักเกินปกติจนเสียสุขภาพ ผลตอบแทนที่เป็นธรรม การจ่ายค่าตอบแทนตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนด สวัสดิการและหลักประกันขั้นพื้นฐาน การจัดตั้งกองทุนเพื่อแรงงานนอกsะบบ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินผู้ได้อย่างเหมาะสม สิทธิในการอุทธรณ์ การสอบสวน การพักงาน

รวมทั้งสิทธิในการรวมกลุ่มเจรจาต่อรองของผู้ใช้แรงงานแพลตฟอร์ม โดยต้องขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อบังคับต่อหน่วยงานรับผิดชอบ

แรงงานนอกระบบ

มีหลักประกันทางสังคมที่มั่นคง

โดยแsงงานนอกระบบ สามารถเข้าถึงความคุ้มครองและสิทธิประกันสังคม เพื่อดูแลในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับทางเลือกที่พี่น้องแรงงานเลือกเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40

การขยายขอบเขตวัตถุประสงค์ให้ครอบคลุมแsงงานนอกระบบทุกกลุ่มอาชีพ จะช่วยให้แรงงานนอกsะบบ ที่มีอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งทุนของภาคเอกชน มีทุนกู้ยืมสำหรับประกอบอาชีพ โดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการจ่ายค่าสมาชิก เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ของกลุ่มแรงงานนอกsะบบด้วยกันเอง

รวมทั้งมีงบประมาณในการดำเนินการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกsะบบ ในการประกอบอาชีพ การพัฒนาทักษะฝีมือ การคุ้มครองสภาพการทำงานที่เหมาะสม และการสร้างหลักประกันทางสังคมที่มั่นคงอีกด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo