Business

จับตา การ ‘ซอยโฉนดที่ดิน’ เทคนิค ‘บริหารภาษี’ ของคนรวย หลังรัฐฯ เลิกลดหย่อน ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

จับตา การ ‘ซอยโฉนดที่ดิน’ เทคนิค ‘บริหารภาษี’ ของบรรดาแลนด์ลอร์ด หลังรัฐบาล ประกาศเลิกลดหย่อน ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถือเป็นรายได้หลักของท้องถิ่น เพื่อนำไปใช้เป็นงบพัฒนาขีดความสามารถด้านต่างๆ ให้ทัดเทียมกับท้องถิ่นอื่นๆ

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่มีการแพร่ระบาดโควิด 19 รัฐบาลได้ประกาศลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% เพื่อลดภาระให้กับประชาชน ทำให้ท้องถิ่นขาดรายได้ไปเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ กระทรวงการคลัง ได้ประกาศให้กลับไปเก็บภาษีในอัตรา 100% หลังจากภาคธุรกิจเริ่มฟื้นตัว จากการผ่อนคลายทางเศรษฐกิจของภาครัฐ

ซอยโฉนดที่ดิน

การกลับมาเก็บภาษีแบบเต็มสูบ ส่งผลให้นายทุนใหญ่ด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่สะสมที่ดินอยู่ในมือจำนวนมากเริ่มขยับตัว พลิกเกม ‘บริหารภาษี’ รับมือกับเงินที่ต้องส่งเข้ารัฐแบบไร้การลดหย่อน

และนั่นทำให้ แนวคิดการ ‘ซอยโฉนดที่ดินเพื่อเสี่ยงภาษี’ ถูกหยิบยกมาพูดถึง และถูกจับตามองอีกครั้ง หลังจากเคยมีการพูดถึง การบริหารภาษีของบรรดาแลนด์ลอร์ด ด้วยการแบ่งที่ดินย่อยไม่ให้เกิน 50 ล้านบาท เพื่อเลี่ยงการจัดเก็บภาษี เมื่อหลายปีก่อน

ซอยโฉนดที่ดิน

ซอยที่ดินเป็นแปลงเล็ก ราคาประเมินต่ำ เสียภาษีถูก

ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตที่ดินแลนด์ลอร์ดติดถนนใหญ่หลายแปลงในเขตกรุงเทพ อย่างเกษตร-นวมินทร์ , สุขุมวิท , ดินแดง , หนองจอก, เพชรบุรี, พระรามเก้า, รัชดา หรือพื้นที่ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียง ทำเลทอง อย่างชลบุรี และ อยุธยา ถูกซอยโฉนดให้กลายเป็นที่ดินขนาดเล็ก หน้าแคบแต่ยาว แม้จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราเดียวกัน คือ 0.2%

แต่การซoยโฉนดที่ดิน ส่งผลให้ราคาประเมินที่ดินถูกลง เพราะไม่ได้นับเป็นแปลงใหญ่ ทำให้ภาษีที่จะต้องเสียถูกลงด้วย

อย่างที่บอกแล้วว่า แม้จะเสียภาษีในอัตราเดียวกัน คือ 0.2% แต่หากราคาประเมินที่ดินถูกกว่ากันครึ่งหนึ่ง ภาษีที่จะต้องเสีย ก็จะลดลงครึ่งหนึ่งเช่นกัน

นี่ยังรวมไปถึง การโอนที่ดิน หากต้องการเปลี่ยนมือ หรือรวมโฉนด เมื่อทุนใหญ่ถึงเวลาพัฒนาที่ดิน ซึ่งต้องเสียภาษี 2% แม้จะเสียภาษีอัตราเดียวกัน แต่เงินภาษีที่ต้องจ่ายก็ต่างกันมากเป็นเท่าตัว

ซอยโฉนดที่ดิน

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลัง ได้เคยออกมาให้ข้อมูลในเรื่องนี้ โดยระบุว่า พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีบทบัญญัติมาตราหนึ่งกำหนดว่า หากเจ้าของที่ดินใดมีเจตนาแบ่งซอยที่ดินเป็นหลายแปลง เพื่อวัตถุประสงค์หลีกเลี่ยงภาษี ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นที่มีหน้าที่ประเมินภาษี ต้องนำที่ดินทั้งหมดมารวมกันและประเมินมูลค่าที่ดินเพื่อเสียภาษี

พูดให้ฟังง่ายๆ ก็คือ หากใครใช้วิธีนี้ เช่น มีชื่อคนเพียงคนเดียวถือโฉนด 10 แปลงติดต่อกัน เป็นการแบ่งซอยมาจากแปลงใหญ่ ท้องถิ่นและต้องนำที่ดินทั้ง 10 แปลงมารวมกันเพื่อประเมินภาษี

แต่กฏหมาย ไม่ได้มีข้อห้ามเรื่องการซอยโฉนดที่ดิน และให้ผู้อื่นถือสิทธิแทน  นั่นคือ ทำได้ ไม่ผิด

ว่ากันว่า วิธีการนี้ ทำให้แลนด์ลอร์ด เสียภาษีน้อยลง ตั้งแต่หลัก 10 จนถึงหลัก 100 ล้าน ส่วนชาวบ้านอย่างเรา ก็ก้มหน้า เสียภาษีแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยต่อไป!!

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo