Business

จากเน็ตไอดอล สู่ ‘ยุคอินฟลูเอนเซอร์’ เครื่องมือการตลาด ‘ทรงพลัง’ ถ้าเลือกใช้ถูกคน

นีลเส็น เปิดเทรนด์อินฟลูเอนเซอร์ในไทย พัฒนาจากเน็ตไอดอล สู่ยุคอินฟลูเอนเซอร์ จนกลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ทรงพลัง ผู้บริโภค 75% ไว้วางใจ

นีลเส็น ประเทศไทย เผยข้อมูลจากงานซีรีย์สัมมนาออนไลน์ หัวข้อ Winning in the influencer era เผยอินไซต์สำคัญของเทรนด์ตลาดอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ในประเทศไทย

ยุคอินฟลูเอนเซอร์

วงการอินฟลูเอนเซอร์ในไทย เริ่มเห็นเด่นชัดมาตั้งแต่ปี 2543 อินฟลูเอนเซอร์ ในยุคนั้น อยู่ในรูปแบบของ เน็ตไอดอล โดยยุคบุกเบิกที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นได้แก่ เบเบ้ ธันย์ชนก หรือ บอลลูน พินทุ์สุดา

ต่อมาในยุคที่โซเชียลมีเดียแพร่หลาย ได้มีการใช้อินฟลูเอนเซอร์ ในการโฆษณาและเชิงพาณิชย์มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มความงาม เป็นอุตสาหกรรมแรกที่มีการใช้อินฟลูเอนเซอร์ ในการทำการตลาด ซึ่งในปี 2557 มีบิวตี้บล็อกเกอร์ที่เป็นที่รู้จักและโด่งดังเป็นจำนวนมาก เช่น เมอา และ โมเมพาเพลิน

จะเห็นได้ว่าในอดีตเน็ตไอดอลหรือ อินฟลูเอนเซอร์ จะมาจากกลุ่มที่หน้าตาดี แต่ในปัจจุบัน ยุคสมัยเปลี่ยนไป คนไทยยอมรับความหลากหลายมากขึ้น ทำให้ตั้งแต่ช่วงปี 2551 ได้เห็นอินฟลูเอนเซอร์ รูปแบบใหม่ ๆ จากหลากหลายอาชีพ และวัย ใครก็สามารถเป็น ได้ เพียงแค่มีความสามารถและเป็นตัวของตัวเอง จนกระทั่งปัจจุบันพัฒนาไปจนถึง เวอร์ชวล อินฟลูเอนเซอร์ ในยุคเมตาเวิร์สแล้ว

จากการศึกษาของ Nielsen Trust in Advertising พบว่า คนไทย 75% ให้ความไว้วางใจโฆษณา ความคิดเห็น และการรีวิวผลิตภัณฑ์จากอินฟลูเอนเซอร์  โดยมองว่า เป็นช่องทางที่เอาไว้ติดตาม อัพเดตเทรนด์และข่าวใหม่ๆ (22%) และยังมองว่าเป็นช่องทางที่ให้ความบันเทิงสูงอีกด้วย (20%)

นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มความงาม ใช้เม็ดเงินสูงสุดในการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ ทั้งในไทยและในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยสัดส่วนที่มากถึง 42% รองลงมาได้แก่ สินค้าแฟชั่น, อาหารและเครื่องดื่ม, เทคโนโลยี, ฟิตเนส, สินค้าลักชัวรี

shutterstock 1339059998

เลือกอินฟลูเอนเซอร์ ถูกคน ผลลัพธ์สุดคุ้ม

จากข้อมูลของ Nielsen InfluenceScope พบว่า ประเทศไทยมี แอคทีฟ อินฟลูเอนเซอร์ มากกว่า 2 ล้านคน เป็นอันดับสองในกลุ่มอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย ซึ่งการเติบโตและเพิ่มขึ้นของยุคอินฟลูเอนเซอร์ ทำให้มีวิธีการเลือกอินฟลูเอนเซอร์ ที่เหมาะสมกับแบรนด์และแคมเปญมีความซับซ้อนขึ้น

แนวทางและวิธีการเลือก สามารถพิจารณาได้จาก 4R โมเดล ได้แก่

1. Reach หรือการเข้าถึง จำนวนคนที่เข้าถึงอินฟลูเอนเซอร์ ดูได้จากยอดการติดตาม ว่ามีมากน้อยแค่ไหน ยิ่งมีผู้ติดตามจำนวนมาก โอกาสในการเพิ่มการเข้าถึงก็มีมากขึ้น

2. Relevance ความเกี่ยวข้องของอินฟลูเอนเซอร์ และแบรนด์ ผ่านข้อมูลโปรไฟล์ของอินฟลูเอนเซอร์ ว่ามีความสนใจ ไลฟ์สไตล์ และทัศนคติ เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรือแคมเปญหรือไม่

3. Resonance การมีส่วนร่วม สามารถวัดจากเอนเกจเมนต์ของอินฟลูเอนเซอร์ ว่าผู้ติดตามมีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหน จากจำนวนยอดการดู ไลค์ แชร์ คอมเม้นท์ และรวมถึง ความรู้สึก ด้วย ถ้าเราจ้างSentiment ที่ได้รับความรู้สึกแง่ลบสูง ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อแบรนด์หรือแคมเปญได้เช่นกัน

4. Return ผลตอบกลับจากการใช้อินฟลูเอนเซอร์ เป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้คุณวัดความคุ้มทุนหรือขาดทุนจากการโฆษณาผ่านช่องทางนั้นๆ ว่าเมื่อใช้อินฟลูเอนเซอร์คนนี้แล้ว เราได้ยอดซื้อกลับมาเท่าไหร่ หรือคนคลิกร่วมแคมเปญมากน้อยแค่ไหน

ข้อมูลจาก นีลเส็น ประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo