Business

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ ประเมิน ‘ส่งออก’ โต 5-8% แม้เจอหลายปัจจัยเสี่ยง

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ ประเมิน ส่งออก’ ปี 65 ยังขยายตัว 5-8% แม้เจอหลายปัจจัยเสี่ยง พร้อมแนะ 3 ข้อ ลดต้นทุนผู้ประกอบการ

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธาน สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า คาดการณ์การส่งออกไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 เติบโต 3-5% โดยทั้งปี คาดว่าจะเติบโต 5-8%

ส่งออก

สงคราม – ราคาน้ำมัน ปัจจัยเสี่ยง เงินเฟื้อ ต้นทุนสูง

ทั้งนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ ราคาพลังงานทรงตัวในระดับสูง จากสถานการณ์ระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ยังคงยืดเยื้อ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้า และต้นทุนการขนส่งปรับตัวสูงขึ้น ตามกลไกราคาพลังงานในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก

สถานการณ์อัตราเงินเฟ้อโลกที่เพิ่มขึ้นเป็น 9.2% ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพเพิ่มขึ้น กำลังซื้อผู้บริโภคทั่วโลกหดตัวลง สถานการณ์ระวางเรือยังคงตึงตัวในหลายเส้นทาง และค่าระวางขนส่งสินค้าทางทะเล ยังทรงตัวในระดับสูง เนื่องจากเรือแม่ยังไม่สามารถเข้าเทียบท่าในไทยได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

และแม้ค่าระวางเริ่มปรับลดลงในหลายเส้นทาง แต่ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมัน ยังปรับขึ้นและผันผวนตามราคาน้ำมันในตลาดโลก ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ เหล็ก ธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน แป้งสาลี อาหารสัตว์ ปุ๋ย ส่งผลให้หลายประเทศ เริ่มออกมาตรการจำกัดการส่งอoกสินค้าเกษตรและอาหาร

ส่งออก

3 ข้อเสนอแนะ ลดต้นทุนผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ประกอบด้วย

  1. ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกินกว่า 33-34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อไม่เป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการ ที่ต้องแบกรับต้นทุนในส่วนอื่นที่ผันผวนสูง และขอให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.5 เพื่อประคองให้การฟื้นตัวภาคธุรกิจยังดำเนินการได้
  2. รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันในประเทศ ให้อยู่ระดับที่เหมาะสม ผ่านเครื่องมือด้านการลดภาษีสรรพาสามิต และเงินกองทุนน้ำมันฯ หรือกลไกในการควบคุมต้นทุนการนำเข้า ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากจนเกินไป
  3. การควบคุมราคาสินค้าในประเทศ จำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับต้นทุนผู้ประกอบการ เพื่อมิให้เป็นภาระต้นทุนของผู้ประกอบการมากเกินไป ขอให้พิจารณาลดต้นทุนสินค้าขาเข้า ลดเงื่อนไขและขั้นตอนในกลุ่มสินค้าที่ขาดแคลนและจำเป็น

ส่งออก

สำหรับภาพรวมการค้าระหว่างประเทศ เดือนมกราคม-เมษายน 2565 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่า ไทยส่งอoกรวมมูลค่า 97,122.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 13.7% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 3,183,591 ล้านบาท ขยายตัว  24.3%

เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่า การส่งอoกในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ขยายตัว 8.2% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 99,975.1ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 19.2% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 3,322,907 ล้านบาท ขยายตัว 30.3%

ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม-เมษายน 2565 ขาดดุล 2,852.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 139,316 ล้านบาท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo