Business

‘นวัตกรรม-แพ็คเกจจิ้ง’ทางรอด FMCG ยุคกำลังซื้อฝืด

ภาพรวมของตลาดอุปโภคบริโภค (FMCG) ปีที่ผ่านมา มีมูลค่า 4.42 แสนล้านบาท  เติบโตติดลบ 0.4%  ถือเป็นอัตราต่ำสุด ในรอบ 10%  โดยปกติตลาดเอฟเอ็มซีจี จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 3%

ffff

ตลาดเอ็มเอฟซีจี อยู่ในภาวะเติบโตถดถอยมานับตั้งแต่ ปี 2557 ที่เติบโต  2.6%,  ปี 2558 เติบโต  2.2%  ปี 2559  เติบโต  1.7%  และในปี  2560 ติดลบ 0.4%

อิษณาติ วุฒิธนากุล ผู้อำนวยการด้านพัฒนาธรุกิจ บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจด้านการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึกในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีอัตราการหมนุเวียนสูง หรือ FMCG  (Fast  Moving Consumer Goods)  กล่าวว่าแนวโน้มกำลังซื้อผู้บริโภคปีนี้ ยังอยู่ในภาวะทรงตัว  แม้ตัวเลขจีดีพี ปี 2561 คาดการณ์การเติบโตสูงกว่าปีก่อน หรือที่ระดับ 4% แต่เศรษฐกิจที่ผลักดัน จีดีพี เติบโต มาจากการลงทุนเมกะ โปรเจค ภาครัฐ ,การส่งออก และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจดังกล่าว ยังไม่สะท้อนมาที่เงินในกระเป๋าผู้บริโภคให้เพิ่มขึ้นมากนัก ทำให้แนวโน้มปี 2561 และปี 2562 ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคยังอยู่ในภาวะ “ลำบาก” ตัวเลขการเติบโต น่าจะอยู่ระหว่างติดลบ 1%  หรือ เติบโต 2%

หนึ่งในปัจจัยที่สะท้อนภาวะตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคถดถอย มาจากตัวเลขการจัดโปรโมชั่นใน ไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ต ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปี 2555 อยู่ที่ 25%  ปี 2556  เพิ่มเป็น 30%  ปี 2557 อยู่ที่ 31%  ปี 2558 เพิ่มเป็น 34%  ปี 2559 ขยับเป็น 35%  และปี 2560  เพิ่มเป็น 36%

แม้จะมีการรายการสินค้าอุปโภคบริโภค จัดโปรโมชั่นลดราคามากขึ้น แต่พบว่า มูลค่าการซื้อสินค้าต่อครั้งมีแนวโน้มลดลง จากปี 2558 มูลค่าอยู่ที่ 210 บาทต่อครั้ง ปี 2560 อยู่ที่ 200 บาทต่อครั้ง

ตัวเลขกล่าวมองว่าได้ว่า แม้ช่องทางค้าปลีกจะจัดโปรโมชั่น ลดราคาสินค้า เพื่อจูงใจผู้บริโภคแล้วก็ตาม  แต่ยังไม่สามารถกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคได้  และอาจสร้างพฤติกรรมให้ผู้ซื้อรอโปรโมชั่นทุกครั้งไป  ขณะที่ผู้ผลิตสินค้าเองไม่สามารถสร้างยอดขายและกำไรจากสินค้าโปรโมชั่นได้ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามท่ามกลางกำลังซื้อถดถอยในปีที่ผ่านมา ยังมีกลุ่มสินค้าที่สามารถฝ่าวิกฤติตลาดติดลบ ด้วย “นวัตกรรม” ที่แตกต่าง  ตัวอย่าง “มาม่า”  เปิดตัวสินค้าใหม่ “ข้าวต้ม” บรรจุภัณฑ์ถ้วย ที่รับประทานได้สะดวก เป็นการสร้างความต้องการใหม่ในสินค้าที่ไม่เคยมีมาก่อน

สินค้านมข้นหวาน Teapot  ที่มาในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หลอดบีบ ที่สะดวกต่อการใช้งาน เหมาะกับครอบครัวขนาดเล็กปัจจุบัน  ,สินค้า ไมโล 3 อิน 1 รูปแบบกระป๋อง พร้อมดื่ม   เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์  mMilk  ที่ปราศจากน้ำตาลแลคโตส ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่มีอาการแพ้น้ำตาลแลคโตส

mMilk

นอกจากนี้แบรนด์สินค้าที่มีการพัฒนาแพ็คเกจจิ้ง ที่มีขนาดเล็ก หรือ รูปแบบซอง ที่เหมาะสมกับกำลังซื้อผู้บริโภคที่มีกำลังจับจ่ายลดลง ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น   เช่นแบรนด์ การ์นิเย่ รูปแบบซอง  ที่ยังมียอดขายเติบโต

Garnier

“การพัฒนานวัตกรรมที่แตกต่าง เพื่อสร้างความต้องการใหม่ให้ผู้บริโภค และทางเลือกสินค้าที่มีขนาดเหมาะกับกำลังซื้อ ถือเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคยังสร้างการเติบโตได้ในปีนี้”

ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคโตต่ำสุดรอบ 10 ปี

Avatar photo