Business

กพช.เคาะซื้อไฟจากขยะชุมชน 34 โครงการ – เน้นซื้อไฟจากพลังงานสะอาด ลดปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์

กพช.ไฟเขียวซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชน 34 โครงการ จากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก  เดินหน้าซื้อไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด มุ่งลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ เห็นชอบสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) โครงการปากแบง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประธาน ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เข้าร่วม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565

IMG 20220506142850000000.jpg777777777777

 

 

นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุม กพช. เพื่อเร่งขับเคลื่อนประเทศไทยให้สามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โดยการจัดหาพลังงานสะอาดตามแผน BCG ซึ่งครอบคลุมการผลิตไฟฟ้าจากขยะด้วยเพื่อเพิ่มมูลค่า รวมไปถึงการใช้พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ก๊าซชีวภาพ ตลอดจนพลังงานน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งครอบคลุมทุกมิติ โดยย้ำให้ทุกหน่วยงานร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินการ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อเร่งเดินหน้าไปสู่เป้าหมาย Net-Zero Carbon Emission ของประเทศไทยให้ได้ 40% ภายในปี ค.ศ. 2030 หรือปี 2573 ตามที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้แล้วต่อการประชุม COP26

279963669 393751099432565 9193758749100205126 n

สถานการณ์พลังงานขณะนี้ที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ว่ายังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง จึงขอให้ทุกคนร่วมมือกันประหยัดพลังงาน ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้มากขึ้น โดยหน่วยงานรัฐต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการประหยัดพลังงานของประเทศ  ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้เสนอมาตรการการลดใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว โดยให้มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและมีการประเมินผล โดยต้องลดใช้พลังงานให้ได้ 20% จึงขอให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม แล้วรายงานผลผ่านช่องทางตามที่กำหนดภายในห้วงเวลาที่กำหนดไว้ด้วย

ด้านนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าที่ประชุม กพช. ยังมีมติเห็นชอบ อัตรารับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565 ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) รวม 34 โครงการ ปริมาณรับซื้อไฟฟ้ารวม 282.98 เมกะวัตต์ ระยะเวลาสนับสนุน 20 ปี และกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ในปี 2568 – 2569  ที่ประชุมได้ให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ดำเนินการการออกระเบียบและประกาศรับซื้อไฟฟ้าต่อไป

IMG 20220506142851000000

ที่ประชุม กพช. ยังรับทราบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ในช่วงปี 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) โดยมีกำลังผลิตตามสัญญาจากพลังงานสะอาดรวมทั้งสิ้น 9,996 เมกะวัตต์ และเห็นชอบหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และข้อเสนออัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff สำหรับปี 2565 – 2573

สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง กำลังผลิตตามสัญญาไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Ground-mounted) พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar+BESS) พลังงานลม และก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) ซึ่งจะดำเนินการเปิดรับซื้อไฟฟ้าด้วยวิธีการใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกที่พิจารณาถึงความพร้อมด้านราคา คุณสมบัติ และเทคนิคร่วมกัน เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นว่าโครงการที่ได้รับการคัดเลือกมีความเป็นไปได้สูงในการพัฒนาให้สำเร็จ สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ตามแผนที่กำหนด

การจัดหาไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนครั้งนี้ เป็นการเริ่มต้นครั้งสำคัญในการจัดหาพลังงานสะอาดทุกรูปแบบอย่างจริงจัง เพื่อให้ได้ราคาค่าไฟฟ้าที่ไม่สร้างภาระต้นทุนในระยะยาวให้กับประเทศ เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานสะอาดในการผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่มากขึ้น สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในการมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy) และสร้างเสถียรภาพทางด้านราคาค่าไฟฟ้าจากการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในระยะยาว ด้วยการกำหนดราคารับซื้อในระดับที่แข่งขันได้กับอัตราค่าไฟฟ้าขายส่งเฉลี่ย (Grid Parity) ด้วยการกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Ground-mounted) พลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar+BESS) พลังงานลม และก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) โดยมีระยะเวลาสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าเป็นเวลา 20 – 25 ปี ในรูปแบบสัญญา Non-Firm

IMG 20220506142732000000

สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Ground-mounted) พลังงานลม และก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) และรูปแบบสัญญา Partial-Firm

สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar+BESS) อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศจากการส่งเสริมให้มีการดำเนินธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ตลอดจนสร้างแรงจูงใจให้เกิดการไหลเวียนเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศในการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย  ที่ประชุมได้มอบหมายให้ กกพ.  ออกระเบียบ ประกาศการรับซื้อไฟฟ้าและกำกับดูแลการคัดเลือกตามขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ ให้มีการกำหนดเงื่อนไขให้กรรมสิทธิ์ในหน่วย Renewable Energy Certificate (REC) ที่เกิดขึ้นจากการผลิตไฟฟ้าเป็นกรรมสิทธิ์ของภาครัฐด้วยการระบุไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

​นายกุลิศ กล่าวว่า ที่ประชุม ได้เห็นชอบหลักการร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) โครงการปากแบง และได้มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามในสัญญาโครงการปากแบง ที่ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว โดยโครงการปากแบงเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำประเภท Run of River มีอายุสัญญา 29 ปี ปริมาณเสนอขายไฟฟ้า 897 เมกะวัตต์ และมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2576

IMG 20220506142843000000

กพช. เห็นชอบหลักการร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) โครงการปากแบง และเห็นชอบอัตราค่าไฟฟ้าของโครงการเซกอง 4A และ 4B

นอกจากนี้ ยังได้มีมติเห็นชอบอัตราค่าไฟฟ้าของโครงการเซกอง 4A และ 4B และมอบหมายให้ กฟผ. ลงนามในบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้า (Tariff MOU) โครงการเซกอง 4A และ 4B ที่ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว ทั้งนี้ โครงการเซกอง 4A และ 4B เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำประเภท Reservoir มีอายุสัญญา 27 ปี ปริมาณเสนอขายไฟฟ้า 347.30 เมกะวัตต์ มีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2576

ที่ประชุม กพช. มีมติเห็นชอบกำหนดให้อัตราค่าไฟฟ้าที่รับซื้อ จากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ที่ดำเนินการโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และ กฟผ. รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ พพ. โดยดำเนินการตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) จำนวน 26 แห่ง กำลังผลิตรวม 94.447 เมกะวัตต์  เป็นโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าที่รวมเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามชนิดของเชื้อเพลิง ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าไว้ด้วยแล้ว อีกทั้งที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบให้กรรมสิทธิ์ Renewable Energy Certificate (REC) ที่เกิดขึ้นจากการผลิตไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ดำเนินการโดย พพ. เป็นกรรมสิทธิ์ของภาครัฐ

​นายกุลิศ กล่าวว่าที่ประชุมกพช.  เห็นชอบทบทวนมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2550​ (ครั้งที่ 116) เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2550​ ในส่วนของกลไกการกำกับดูแลและเงื่อนไข เรื่องการลงทุนและการร่วมทุนโครงการของ บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในข้อที่ 2 โดยขยายกรอบการพิจารณาการลงทุนและร่วมทุน

IMG 20220506142850000000

ดังนี้ ในการลงทุนและร่วมทุนในต่างประเทศของบริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ต้องให้กฟผ. ขอความเห็นชอบจากกระทรวงพลังงานก่อนเป็นรายโครงการ โดยให้หมายรวมถึง การลงทุนในพันบัตร หุ้นกู้ หลักทรัพย์อื่นของบริษัทใดๆ และกองทุนประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวกับ กลุ่มธุรกิจนวัตกรรมทางด้านพลังงานไฟฟ้า หรือธุรกิจนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าที่เกี่ยวเนื่อง หรือต่อเนื่องกับกิจการของกฟผ. ในต่างประเทศ และโครงการที่มีประเด็นนโยบายพิเศษให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติให้ความเห็นชอบ”

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight