Business

3 การไฟฟ้าฯ จับมือ GWM ร่วมขับเคลื่อน นโยบายยานยนต์ไฟฟ้า ในไทย

3 การไฟฟ้าฯ จับมือ GWM ร่วมขับเคลื่อน ‘นโยบายยานยนต์ไฟฟ้า’ ในไทย ขานรับนโยบายรัฐ มุ่งสู่เป้าหมาย ZEV 

3 การไฟฟ้าฯ และ GWM ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในการส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า และพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพลังงาน เป็นประธานพิธี พร้อมด้วย มร. ไมเคิล ฉง รองประธาน เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) และนายศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)

นโยบายยานยนต์ไฟฟ้า

สอดรับแนวนโยบายยานยนต์ไฟฟ้า ก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

นายวิลาศ กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้นำการขับเคลื่อนส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด 10 ปี MEA EV เพื่อสอดคล้องกับวิสัยทัศน์พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร มีความยินดีที่ได้

การร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสสำคัญ ในการเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนผ่าน การใช้ยานยนต์พลังไฟฟ้า ทดแทนรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป ทั้งนี้ MEA ได้นำประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญด้านรถยนต์ไฟฟ้าตลอด 10 ปี ร่วมกับ PEA และ EGAT สนับสนุนและผลักดันตามมาตรการการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ โดยกระทรวงพลังงาน

และสอดรับแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศตามนโยบาย 30@30 ที่มีการกำหนดเป้าหมายการผลิต ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ.2030 หรือ พ.ศ.2573 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)

และเตรียมความพร้อมการเป็น Carbon Nutrality ของประเทศไทย ตามถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรีในงาน COP 26 เมืองกาสโกว์ รวมถึงการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub) ตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ

นโยบายยานยนต์ไฟฟ้า

จับมือ ผู้ประกอบการ สร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า 

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ MEA ได้จับมือกับผู้ประกอบการรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) รองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลยานยนต์ไฟฟ้าผ่านแพลตฟอร์ม การเชื่อมโยงข้อมูลของสถานีอัดประจุไฟฟ้าบนแอปพลิเคชัน การติดตั้งเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า

รวมถึงส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านยานยนต์ไฟฟ้า และการศึกษาวิจัยแนวโน้มของแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า ในการนำแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้ากลับมาใช้งานซ้ำ (reuse) และการรีไซเคิล ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ลดมลพิษทางอากาศ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ร่วมกันผลักดัน สนับสนุนให้ประเทศไทย มุ่งสู่เป้าหมายให้มีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle (EV) ร่วมขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย มุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)

นายวิลาศ กล่าวว่า ปัจจุบัน MEA ได้วางแผนปรับปรุงโครงข่ายระบบไฟฟ้า ในพื้นที่จำหน่ายให้เป็นโครงข่ายอัจฉริยะ หรือ Smart Metro Grid ยกระดับคุณภาพงานบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอาทิ การขอใช้ไฟฟ้าใหม่ หรือการเปลี่ยนแปลงขนาดการใช้ไฟฟ้า การขอใช้ไฟฟ้าในอัตรา Low Priority สำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้า การให้บริการตรวจสอบปรับปรุงระบบไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัยและสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานการติดตั้ง ให้เกิดความปลอดภัยเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนทั่วไป และผู้ใช้ไฟฟ้ายานยนต์ไฟฟ้า

รวมถึงมีแผนขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้า ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ พร้อมอำนวยความสะดวกการให้บริการหัวชาร์จ MEA EV ที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าผ่าน MEA EV Application ที่ได้มีพัฒนาการใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้งานมากขึ้น เชื่อมต่อบน Platform ระบบบริหารจัดการเครื่องอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติที่เกี่ยวข้องกับการชาร์จ

นโยบายยานยนต์ไฟฟ้า

ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด MEA EV Application ได้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ได้ที่ https://onelink.to/meaev

สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่สนใจใช้บริการ ออกแบบและติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้า ได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130 รวมถึงแจ้งผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้แก่ Facebook : การไฟฟ้านครหลวง MEA, Line : MEA Connect, Twitter: @mea_news ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo