Business

ม. 33 , 39 และ 40 ติดโควิด ได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้เท่าไหร่ ดูรายละเอียดที่นี่

ผู้ประกันตน ม. 33 , 39 และ 40 ติดโควิด ได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้เท่าไหร่ ภายในเวลาเท่าไหร่ จากประกันสังคม

สำนักงานประกันสังคม ระบุว่า ผู้ประกันตน มาตรา 40 มาตรา 39 และมาตรา 33 ติดโควิด 19 ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหน สำนักงานประกันสังคม จ่ายชดเชยให้ทุกมาตรา

เงินชดเชยการขาดรายได้

ทั้งนี้ผู้ประกันตนรักษาตัวหายจากโควิดแล้ว สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินชดเชยการขาดรายได้จากประกันสังคม โดยยื่นรับประโยชน์ทดแทนได้ภายใน 2 ปี

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยื่นคำร้องที่สำนักงานประกันสังคม โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มของรับประโยชน์ทดแทนที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม ที่นี่ 

จากนั้นส่งทางไปรษณีย์มาที่สำนักงานประกันสังคม พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีออมทรัพย์ ซึ่สำนักงานประกันสังคมจะตรวจสอบสิทธิและเอกสาร หากถูกต้องจะโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพลย์

เงินชดเชยการขาดรายได้

ผู้ประกันตนแต่ละมาตราติดโควิด ประกันสังคมจ่ายชดเชยเท่าไหร่

มาตรา 33 

กรณีลาป่วย รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง

หยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยโดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับ  ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน(สปส. 2-01)

 มาตรา 39

รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50

โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท)  ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน(สปส. 2-01)

ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

เงินชดเชยการขาดรายได้

มาตรา 40 

รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3

พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน(สปส. 2-01/,ม.40)

ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

 

Avatar photo