Business

ด่วน!! ครม. เคาะร่างภาษีสรรพสามิต รถยนต์-มอเตอร์ไซค์ 27 ประเภท เท่าไร เริ่มเมื่อไรเช็คที่นี่

ครม. ไฟเขียวร่างกฎกระทรวง ปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต รถยนต์ รถจักรยานยนต์ 27 ประเภท หนุนรถอีวี ดันไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนในอาเซียน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ มีมติอนุมัติหลักการ ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่ง การปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์ประเภทต่าง ๆ รวม 27 ประเภท ตามที่ กรมสรรพสามิต เสนอ

ภาษีสรรพสามิต รถ

ทั้งนี้ จะมีรถยนต์ 6 ประเภท ต้องจัดเก็บภาษีตามอัตราในร่างกฎกระทรวงนี้เมื่อกฎกระทรวง มีผลใช้บังคับ (วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา) ดังนี้

ผ่านร่างภาษีสรรพสามิต รถยนต์-มอเตอร์ไซค์

1. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle: PPV) แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้าที่สามารถเสียบปลั๊ก ประจุไฟฟ้าได้ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 10%

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2578 กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขจัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 50%

2. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท ประหยัดพลังงาน แบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle) จัดเก็บ ภาษีในอัตราตามมูลค่า 2%

กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข แบ่งเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวง มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 8 – 10%

3. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท ประหยัดพลังงานแบบมาตรฐานสากล (Eco car) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 14% ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568

การพิจารณาจากความจุกระบอกสูบ อัตราการปล่อย CO2 และการติดตั้งมาตรฐานความปลอดภัย ให้จัดเก็บภาษีในอัตรา ตามมูลค่า 10-12% ถ้าไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ฯ อัตราภาษีจะเป็นไปตามอัตราของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน

4. รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) แบบผสมที่ใช้ พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้าที่สามารถเสียบปลั๊กประจุไฟฟ้าได้ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 5% ตั้งแต่กฏกระทรวงมีผลบังคับใช้

EV

5. รถยนต์กระบะแบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle) แบ่งเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ

  • ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2568 ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่า 0%
  • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569-31 ธันวาคม 2578 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า %2 กรณีไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ มีการจัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 10% ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2568 และ 1 มกราคม 2569-31 ธันวาคม 2578

6. รถยนต์กระบะแบบเซลล์เชื้อเพลิง [Fuel Cell Powered Vehicle ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 0% กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แบ่งเป็น 2 ช่วง ตั้งแต่วันที่ กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569-31 ธันวาคม 2578 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 5%

ภาษีสรรพสามิต รถยนต์ 21 ประเภท

1. รถยนต์นั่ง ความจุกระบอกสูบ ไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 13-38% แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ

  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569-31 ธันวาคม 2570
  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2571-31 ธันวาคม 2572
  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป

กรณี ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์แบ่งเป็น 2 ช่วงคือ

  • วันที่ 1 มกราคม 2569-31 ธันวาคม 2572
  • วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป

ให้จัดเก็บภาษีตามมูลค่า 25-40% สำหรับรถยนต์นั่งความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 50%

2. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle: PPV) ความจุกระบอกสูบ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 18-50% ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทไบโอดีเซล (B20) 16-50% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม  2569-31 ธันวาคม 2578

3. รถยนต์นั่งที่ผลิตจากรถยนต์กระบะหรือแชสซีส์และกระจก บังลมหน้า (Chassis With Windshield) ของรถยนต์กระบะ หรือดัดแปลงจากรถยนต์กระบะ ที่ผลิตหรือดัดแปลงโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรม ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 2.5-40% ที่ดัดแปลงโดยผู้ดัดแปลง จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่ 25% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป

IMG 51053 20220130084231000000
ธนกร วังบุญคงชนะ

4. รถยนต์สามล้อชนิดรถสกายแลป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 0% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป

5. รถยนต์อื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ 135 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 50% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป

6. รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 13-38% แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ

  • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569-31 ธันวาคม 2570
  • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2571-31 ธันวาคม 2572
  • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป

กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แบ่งเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ

  • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569- 31 ธันวาคม 2572
  • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป

ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 25-40% สำหรับรถที่มีความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 50% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป

7. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่ใช้ เป็นรถพยาบาล และรถยนต์ต้นแบบที่ผลิตหรือนำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะที่ไม่เคยมีการจำหน่าย ในท้องตลาดเป็นการทั่วไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป

8. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงานแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (Hybrid Electric Vehicle) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 6-28% แบ่งเป็น 3 ช่วงระยะเวลา คือ

  • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569-31 ธันวาคม 2570
  • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2571- 31 ธันวาคม 2572
  • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป

กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

  • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569-31 ธันวาคม 2572
  • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป

จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 15-30% กรณีที่มีความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 40% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป

9. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงานแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ที่สามารถเสียบปลั๊กประจุไฟฟ้าได้ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 5-10% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป

กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569-31 ธันวาคม 2572

ตั้งแต่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป

ให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิต รถ ในอัตราตามมูลค่า 15-20% สำหรับความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 30% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป

10. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงาน แบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Powered Vehicle) ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่า 1% กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่า 5% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป

11. รถยนต์นั่งสามล้อ และรถยนต์นั่งที่ผลิตขึ้นโดยใช้เครื่องยนต์ ของรถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร รถยนต์สามล้อ ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 2-4% รถยนต์นั่งที่ผลิตขึ้นโดยใช้เครื่องยนต์ของ รถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 4% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป

12. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (No Cab) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 3-5% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569-31 ธันวาคม 2578

13. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (No Cab) ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทไบโอดีเซล (B20) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 2-4% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 – 31 ธันวาคม 2578

14. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (Space Cab) ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทไบโอดีเซล (B20) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 3-7% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 – 31 ธันวาคม 2578

15. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (Space Cab) ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่า 5-8% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 – 31 ธันวาคม 2578

16. รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตาม มูลค่า 8-13% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 – 31 ธันวาคม 2578

17. รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) ที่ใช้เชื้อเพลิง ประเภทไบโอดีเซล (B20) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 6-12% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 – 31 ธันวาคม 2578

18. รถยนต์กระบะแบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle) ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่า 0-2% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 – 31 ธันวาคม 2578

19. รถยนต์กระบะแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Powered Vehicle) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 0-1% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 – 31 ธันวาคม 2578

20. รถยนต์ต้นแบบที่ผลิตหรือนำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะที่ไม่เคยมีการจำหน่าย ในท้องตลาด จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569

21. รถยนต์ประเภทอื่น ๆ นอกจากข้อ 15-ข้อ 26 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 15-50% ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป โดยจะพิจารณาจากความจุกระบอกสูบ อัตรา การปล่อย CO2

การปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้า รถจักรยานยนต์รวม 4 ประเภท ได้แก่

1. แบบพลังงานไฟฟ้า โดยจะพิจารณาจากแรงดันไฟฟ้า ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 0-10% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป

2. แบบที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง หรือแบบผสมที่ใช้พลังงาน เชื้อเพลิงและไฟฟ้า ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 4-25%

3. รถจักรยานยนต์ต้นแบบที่ผลิตหรือนำเข้ามาโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อนำไปวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะ ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 0% ตั้งแต่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป

4. รถจักรยานยนต์อื่น ๆ นอกจากข้อ 1-ข้อ 3 แบ่งเป็น 2 ช่วงระยะเวลาคือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569-31 ธันวาคม 2572 และตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า 25-30%

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo