Business

เช็คด่วน!! สถานประกอบการประเภทไหน ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำ

เตรียมตัวให้พร้อม ครม. ผ่านร่างกฎกระทรวงแรงงาน กำหนดให้สถานประกอบการบางประเภท ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำในการทำงาน กิจการไหนบ้าง เช็คเลย

วันนี้ (1 กุมภาพันธ์ 2565) ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ

สถานประกอบการ

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประจำ ในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ

สำหรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะเป็นกลไกในการกำกับดูแลและบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีสาระสำคัญ อาทิ

1. กำหนดสถานประกอบกิจการที่ต้องดำเนินการตามร่างกฎกระทรวงนี้ในบัญชีท้าย โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • สถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 เช่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น
  • สถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 เช่น อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น
  • สถานประกอบกิจการตามบัญชี 3 เช่น โรงรับจำนำ โรงถ่ายทำภาพยนตร์ สนามกีฬา เป็นต้น

2. กำหนดประเภทและระดับของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้

  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง มี 2 ระดับ ได้แก่ ระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ มี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคชั้นสูง และระดับวิชาชีพ

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่แต่ละประเภทและระดับ ต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

รัชดา

3. นายจ้างของสถานประกอบกิจการ ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น

  • สถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 ที่มีลูกจ้าง 2 คนขึ้นไป ต้องจัดเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพอย่างน้อย 1 คน
  • สถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 ที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 100 คน ต้องจัดเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคชั้นสูงอย่างน้อย 1 คน
  • สถานประกอบกิจการตามบัญชี 3 ที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้างระดับหัวหน้างานทุกคนได้รับการฝึกอบรม เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

4. นายจ้างของสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างจำนวน 50 คนขึ้นไปต้องจัดให้มี คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ โดยมีอำนาจหน้าที่ เช่น จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย จัดทำแนวทางป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน เป็นต้น

5. นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และสถานประกอบการตามบัญชี 2 ที่มีลูกจ้างจานวน 200 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีหน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

6. นายจ้างต้องนำรายชื่อเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยในการทำงาน และผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ไปขึ้นทะเบียนต่อ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

นอกจากนี้ ที่ประชุมให้ กระทรวงแรงงาน รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการ จากนั้น วย โดยในลำดับต่อไป จะส่งร่างกฎกระทรวงให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีตรวจพิจารณาอีกครั้ง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo